แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความคาดหวัง การใช้บริการด้านสุขภาพ และผลกระทบของการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : มุมมองของประชาชน : รายงานวิจัยเล่มที่3

dc.contributor.authorอัญชนา ณ ระนองen_US
dc.contributor.authorAnchana Na Ranongen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ณ ระนองen_US
dc.contributor.authorViroj Na Ranongen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:57Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:57Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1174en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2088en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบในระยะแรกของการจัดให้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (และโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค”) ที่มีต่อประชาชน จากมุมมองของประชาชนเอง โดยคำนึงถึงพฤติกรรมการเลือกวิธีรักษาพยาบาลและการเลือกใช้สถานพยาบาลของประชาชนและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรักษาพยาบาล รวมทั้งความต้องการ ความคาดหวัง และปัญหาที่ประชาชนประสบในการรักษาพยาบาล ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยเรื่องรายได้ สิทธิในการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สภาวะและอาการของโรค กลุ่มอายุของผู้ป่วย และข้อมูลที่ประชาชนมีล้วนแล้วแต่มีส่วนกำหนดทางเลือกในการรักษาพยาบาล และในหลายกรณี ปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันด้วย รายได้มีผลต่อการเลือกสถานพยาบาลทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม (เช่น การเลือกไปที่คลินิกเพราะเวลาที่ใช้ในการรอรับการบริการที่โรงพยาบาลมีผลกระทบต่อรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้) สิทธิในการรักษาพยาบาลที่แต่ละบุคคลมีผลในการเลือกสถานพยาบาลเช่นกัน ประชาชนมักจะทราบถึงความแตกต่างของสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่ในหลายกรณีจะไม่ทราบรายละเอียดในสิทธิประโยชน์ของสิทธิ์ที่ตนมี ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (รวมค่าที่พักและค่าอาหารของญาติที่ต้องไปดูแลผู้ป่วย) มักจะมีผลต่อการเลือกวิธีและสถานที่รักษาพยาบาล เช่น ประชาชนในชนบทมักจะซื้อยาแก้หวัดหรือยาลดไข้ที่ร้านขายของชำในท้องถิ่น ประชาชนบางกลุ่มเลือกไปคลินิกเพราะไม่ต้องรอนาน ประชาชนที่อยู่ใกล้สถานีอนามัยมักจะใช้บริการของสถานีอนามัย ในขณะที่ประชาชนที่อยู่ไกล จะซื้อยาที่ร้านขายยาหรือไปคลินิก ประชาชนที่มีพาหนะมักจะใช้บริการของสถานพยาบาลมากกว่าผู้ที่ไม่มีพาหนะเป็นของตัวเอง ในเรื่องสภาวะและอาการของโรคนั้น ประชาชนมักจะพยายามวินิจฉัยความเจ็บป่วยของตนอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะตัดสินใจว่าควรเลือกวิธีการรักษาอย่างไร ถ้าคาดว่าความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่จะหายเองได้ ก็อาจจะปล่อยให้หายเอง ถ้ามีอาการที่คิดว่าไม่หายเองก็จะเริ่มพึ่งยาจากร้านขายของชำหรือร้านขายยา แต่ถ้ายังรักษาไม่หายหรือมีอาการมากขึ้นก็จะไปพบแพทย์ การไปพบแพทย์จึงมักเป็นโรคที่รักษาเองแล้วไม่หายหรือไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคอะไร กลุ่มอายุของผู้ป่วย ในแทบทุกพื้นที่พบว่าเมื่อเด็กไม่สบาย ผู้ปกครองมักจะพาเด็กไปรับการรักษาในที่คาดว่าจะทำให้หายได้เร็ว เช่นที่คลินิก แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุก็มักไปที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลซึ่งมักจะใช้เวลาในการรอนาน โดยประชาชนมักให้ความเห็นว่าโรคของผู้สูงอายุมักเป็นอาการที่ค่อยเป็นค่อยไปและรอได้ ผู้สูงอายุเองก็มักจะไม่ต้องการเป็นภาระทางการเงินสำหรับลูกหลาน สำหรับข้อมูลที่ประชาชนมีนั้น การรับรู้สิทธิ์ของตนทำให้ประชาชนลดความกังวลเมื่อต้องไปติดต่อกับสถานพยาบาล ซึ่งโครงการ 30 บาทมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น สรุปผลการศึกษาได้ว่าแม้ว่าโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนบางส่วน แต่มีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ไปใช้บริการเนื่องจากเวลาที่ต้องใช้ในการรอรับบริการนานเกินไป และไม่เชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการ ผู้มีรายได้น้อยมักจะให้ความสำคัญกับการรักษาฟรีหรือเก็บเงินน้อยเช่นโครงการ 30 บาทมากที่สุด ประชาชนกลุ่มรายได้อื่นๆ จะให้ความสำคัญกับการมีหมอพยาบาล และโรงพยาบาลที่เพียงพอและการได้รับการปฏิบัติที่ดีจากหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ หรือสิทธิในการเลือกสถานพยาบาล มากกว่าการมีโครงการรักษาฟรีน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนมากต้องการให้มีโครงการนี้ต่อไป เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและเพื่อเป็นหลักประกันสำหรับตนเองในกรณีป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างจากทุกภาคสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของการให้บริการของสถานพยาบาลโดยเฉพาะในด้านการต้อนรับของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ไว้วางใจคุณภาพการรักษาพยาบาลของโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรายได้สูงและปานกลาง ซึ่งไม่ค่อยได้ไปใช้บริการของโครงการนี้ในปัจจุบันen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.format.extent518536 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectUniversal Health Coverageen_US
dc.subjectUniversal Health Coverageen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectประกันสุขภาพen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพ -- นโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.subjectนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.titleความคาดหวัง การใช้บริการด้านสุขภาพ และผลกระทบของการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : มุมมองของประชาชน : รายงานวิจัยเล่มที่3en_US
dc.title.alternativeExpectation, Health Seeking Behavior, and Impacts of Universal Health Coverage : People's Viewsen_US
dc.description.abstractalternativeTitle Expectation, health seeking behavior, and impacts of universal health coverage : people’s viewsAuthor Onchana Na RanongFund source Health Systems Research InstituteYear Print 2005 This paper examines the impact of the 30 Baht Health Care Scheme – a part of the Universal Health Coverage Program – on Thai people. The study is mainly qualitative, employing both focus group and in –depth interviews in order to obtain views from people in the ten provinces throughout all regions of Thailand (including the Bangkok Metropolitan Area). The study sites include both urban and rural communities. The study finds that health seeking behaviors are determined, often concurrently, by one or more of the following factors : income, health care coverage, transportation costs, health status/ sysmptoms, age group, and the information patients have. Although the 30 Baht Scheme reduces some people’s health care expenditure, other opt out of the service because of the lengthy queues and non-confidence in the quality of care, especially high or medium income families. Moreover, unequal treatment on patients with different schemes, especially moral hazards on the provider side, are also often mentioned in the focus groups. While the highest priority of the poor is to acquire low-cost or free health care services, respondents from other income groups place more emphasis on the adequacy of hospitals and personnel-especially doctors, or good treatment from health care personnel. However, most subject would like to have the scheme in place in order to help the poor, and to guard against their own catastrophic illnesses. In general, the 30 Baht Scheme-like other preceding schemes in the past three decades, has enhanced health security for many Thai people. Respondents from various regions noticed improvement in the services, especially that of the front ends of the hospitals. However, the quality of health care still remains an issue that clouds the scheme.en_US
dc.identifier.callnoW275.JT3 อ524ค 2548en_US
dc.identifier.contactno46ค047en_US
dc.subject.keywordหลักประกันสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการรักษาพยาบาลen_US
dc.subject.keywordโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคen_US
.custom.citationอัญชนา ณ ระนอง, Anchana Na Ranong, วิโรจน์ ณ ระนอง and Viroj Na Ranong. "ความคาดหวัง การใช้บริการด้านสุขภาพ และผลกระทบของการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : มุมมองของประชาชน : รายงานวิจัยเล่มที่3." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2088">http://hdl.handle.net/11228/2088</a>.
.custom.total_download335
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1174.pdf
ขนาด: 518Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย