แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการ : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา

dc.contributor.authorจุฑา สังขชาติth_TH
dc.contributor.authorChuta Sangkachaten_US
dc.contributor.authorเปรมรัตน์ อุไรรัตน์th_TH
dc.contributor.authorสายใจ ปริยวาทีth_TH
dc.contributor.authorสมชาย ละอองพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorPhramrat Urairaten_US
dc.contributor.authorSaichai Phariyawateeen_US
dc.contributor.authorSomchai Laongphanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:09Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:09Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifieren_US
dc.identifier.otherhs1222en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2089
dc.description.abstractการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาและปัจจัย บทบาทหน้าที่ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา โดยใช้การศึกษา 2 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา จำนวน 360 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การศึกษาจากเอกสารและการจัดเสวนากลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 32 ปี และส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เข้าใจคำว่า “บริโภค” ว่าหมายถึง การกินการใช้สินค้าและบริการ และเข้าใจว่าคนทุกคนคือผู้บริโภค และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในลำดับที่ใกล้เคียงกันเนื่องจากเห็นว่าทุกหน่วยงานควรร่วมกันมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภค สถานการณ์การบริโภคอาหารจากแหล่งต่างๆ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการบริโภคอาหารจากแหล่งต่างๆ และมีความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความเหมาะสมของราคาในระดับปานกลาง มีเพียงอาหารในห้างสรรพสินค้าที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและด้านความปลอดภัยในระดับมาก ส่วนแหล่งอาหารที่พบปัญหามากที่สุด คือ ร้านอาหารริมทางเท้า ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านความปลอดภัย ในขณะที่สถานการณ์ปัญหาของผลิตภัณฑ์อาหารจากการเฝ้าระวังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงที่สุดคือผลิตภัณฑ์น้ำดื่มในภาชนะปิดสนิท และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกร้องเรียนจากผู้บริโภคมากที่สุดเช่นกัน สถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาล ร้านขายยา และคลีนิค ส่วนยาจากร้านขายของชำและยาจากตลาดส่วนใหญ่ไม่เคยบริโภค และมีความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาลในด้านคุณภาพและราคาในระดับมาก ยาจากคลีนิคมีความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัยในระดับมาก ยาจากร้านขายยาและร้านขายของชำมีความเชื่อมั่นด้านต่างๆ ในระดับปานกลาง และยาจากตลาดมีความเชื่อมั่นในระดับน้อย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยพบปัญหาจากการบริโภคยาจากแหล่งต่างๆ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารและยาของผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากโทรทัศน์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก ส่วนวิธีการจัดการปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารและยา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จัดการโดยการทิ้งหรือไม่ดำเนินการใดๆ หน่วยงานที่จะร้องเรียน 3 ลำดับแรก คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนสิทธิผู้บริโภคผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รู้สิทธิของผู้บริโภค และสิทธิผู้บริโภคที่ถูกละเมิดมากที่สุด คือ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ การขาดนโยบายและแผนงานการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน การมีทัศนคติด้านลบต่อผู้ร้องเรียน ช่องทางและกระบวนการร้องเรียนยากแก่การเข้าถึง การขาดข้อมูลทักษะที่จำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภค และขาดการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลานั้น จำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินงาน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. เป็นการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด โดยการเพิ่มสัดส่วนของกรรมการในส่วนของภาคประชาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมกำหนดนโยบายและแผนงานการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับจังหวัด 2. จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานองค์กรเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระจากระบบราชการและการเมือง ดำเนินงานประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สร้างเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมวางแผนงานหรือนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับจังหวัด ซึ่งต้องเป็นนโยบายที่เกิดจากกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเป็นศูนย์ฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเสริมกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคที่ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectComsumer Empowermenten_US
dc.subjectConsumer Produect Safetyen_US
dc.subjectSongkhlaen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพen_US
dc.subjectความปลอดภัยของผู้บริโภคen_US
dc.subjectสงขลาen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการ : ผลิตภัณฑ์อาหารและยาth_TH
dc.title.alternativeThe research for consumers protection rights network in Songkhla case study : Food and medicine productsen_US
dc.identifier.callnoWA288 จ621ก 2548en_US
dc.identifier.contactno47ค050en_US
dc.subject.keywordconsumers protection rights networken_US
dc.subject.keywordระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.subject.keywordการคุ้มครองผู้บริโภคen_US
.custom.citationจุฑา สังขชาติ, Chuta Sangkachat, เปรมรัตน์ อุไรรัตน์, สายใจ ปริยวาที, สมชาย ละอองพันธุ์, Phramrat Urairat, Saichai Phariyawatee and Somchai Laongphan. "การวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการ : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2089">http://hdl.handle.net/11228/2089</a>.
.custom.total_download827
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year54
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1222.pdf
ขนาด: 1.548Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย