แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorภิรมย์ กมลรัตนกุลth_TH
dc.contributor.authorPrirom kamolratanakulen_EN
dc.contributor.authorเกื้อ วงศ์บุญสินth_TH
dc.contributor.authorKua Wongboonsinen_EN
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:32Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:45Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:32Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:45Z
dc.date.issued2538en_US
dc.identifier.otherhs0012en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2093en_US
dc.description.abstractปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครคนงานก่อสร้างเป็นกลุ่มที่มีอัตราการบาดเจ็บและตายจากการทำงานสูงที่สุด รวมทั้งต้องเผชิญกับปัญหาทางสังคมและสาธารณสุขต่าง ๆ แต่กลับเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางสังคมในทุก ๆ ด้าน อย่างไรก็ตามในเมืองไทยยังขาดข้อมูลในส่วนนี้อยู่ ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านสังคมและสาธารณสุขของคนงาน ก่อสร้างในเขตกทม. โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดตัดขวาง ณ จุดหนึ่งของเวลา จำแนกสถานก่อสร้างในกทม.ออกเป็นรอบในและรอบนอก แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สุ่มได้เขตคลองเตยเป็นตัวแทนของเขตกทม.รอบใน และเขตลาดกระบังเป็นตัวแทนของเขตกทม.รอบนอก เมื่อสำรวจได้ sampling frame แล้วจึงใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างง่าย เพื่อสุ่ม กลุ่มสถานก่อสร้างขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากลุ่มละ 10 แห่ง ส่วนการคัดเลือกคนงานในแต่ละแห่งนั้นใช้วิธี systematic random sampling ผลการศึกษาผลว่า ร้อยละ 67 ของคนงานก่อสร้างในเขตกทม. อยู่ในวัยทำงานเป็นชายมากกว่าหญิงเล็กน้อย (ในอัตราส่วน 1.4:1) ร้อยละ 88 มีภูมิลำเนามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 84 สมรสแล้ว และร้อยละ 87 จบชั้นประถมศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 64 เป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวันโดยไม่มีสัญญาว่าจ้างที่แน่นอน เฉลี่ยแล้วคนงานมีบุตร 2 คน ร้อยละ 4 เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 27 เป็นบุตรอายุ 1-5 ปี ร้อยละ 16 เป็นบุตรอายุ 6-8 และร้อยละ 33 เป็นบุตรอายุ 9-15 ปี โดยมีเพียงร้อยละ 13 ของบุตรอายุ 6-15 ปี ที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ข้อมูลพื้นฐานด้านประชากรไม่ค่อยมีความแตกต่างกันระหว่างคนงานในเขตคลองเตยและเขตลาดกระบังและระหว่างสถานก่อสร้างขนาดใหญ่และเล็ก แต่สภาพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่าง ๆ สถานก่อสร้างขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะดีกว่าสถานก่อสร้างขนาดเล็กและคนงานในเขตคลองเตยมีแนวโน้มจะมีสภาพต่าง ๆ เหล่านี้ดีกว่าคนงานในเขตลาดกระบัง อัตราการเจ็บป่วยหนัก เนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงานพบ 58.7/คนงาน 1,000 คน ส่วนการบาดเจ็บระหว่างการทำงานเท่ากับ 208 ต่อคนงาน 1,000 คนในเขตคลองเตย และ 180/คนงาน 1,000 คนในเขตลาดกระบังในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา การบาดเจ็บที่พบบ่อยที่ สุดคือ ชนกับเครื่องมือและตะปูตำ ทั้งนี้คงเนื่องมาจากนายจ้างไม่ได้จัดเตรียมเครื่องป้องกันส่วนบุคคลอย่าง เพียงพอ รวมทั้งคนงานเองก็ไม่สนใจในการใช้เครื่องมือป้องกันเหล่านั้นด้วย สภาพแวดล้อมในการทำงานและสถานที่อยู่อาศัยรวมถึงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี คนงานส่วนมาก (โดยเฉพาะคนงานชาย) มีพฤติกรรมเสี่ยงส่วนบุคคล เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การใช้ยาและสารเสพติด มีปัญหาเรื่อง ความเครียด ร้อยละ 53 โรคปริทันต์และโรคฟันผุเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าคนงานก่อสร้างส่วนมากขาดความรู้เกี่ยวกับกฏหมายแรงงาน สิทธิต่าง ๆ รวมทั้งสวัสดิการอันพึงได้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectSocial Problemsen_US
dc.subjectLaboren_US
dc.subjectQuality of lifeen_US
dc.subjectแรงงาน--แง่อนามัยth_TH
dc.subjectแรงงาน--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.titleปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe Social and Health Problems of Construction Workers in Bangkoken_US
dc.description.abstractalternativeThe social and health problems of construction workers in BangkokThe objective of the study was to acquire social and health-related information of workers in Bangkok construction areas. The cross-sectional descriptive research was carried out, and the construction areas used in the study were divided into internal and external areas of Bangkok. A simple random sampling was used to identify the sampling frame, the representative of the internal and external areas, which Klongtoey and Ladkrabang districts were chosen respectively. The same technique was then used to randomize 10 each of large and small construction sites. A systematic random sampling was used for the selection of the workers of each site.The study showed that 67% of workers in Bangkok were in working age. The ratio of male to female workers was 1.4:1. The study also found that 88% of them were from the northeastern and northern region, that 84% were married, and that 87% completed primary level of education. Additionally, 64% were daily employee with no definite contract. On average the workers had 2 children. Of which, 4% aged under one year, 27% aged between 1 to 5 years, 16% aged between 6 to 8 years, and 33% aged between 9 to 15 years. Only 13% of the children aged 6 – 15 years lived with their parents. There were no differences on basic information of the population between those working in Klongtoey District and Ladkrabang District. Nor were those working in a large construction area and a small construction area. However, for other aspects, such as environment, safety, wages, and other benefits, those working in a large construction area tended to be in better condition than those in a small area. So did the Klongtoey workers as compared to Ladkrabang workers. Serious morbidity rate due to accident while working was 58.7/1,000 workers. For the past 12 months, injury while working was 208/1,000 workers in Klongtoey and 180/1,000 workers in Ladkrabang. This was probably due to the fact that the employer did not adequately provide equipment for personal protection, and the workers themselves did not pay attention to the use of such equipment as their own protection either.Working environment and residential area, including sanitation, were not in a good condition. Most of the workers (53%), especially male, had personal risk behavior, such as drinking, smoking, using drugs and narcotics, and having stress problem. Periodontal disease and dental caries were major problem in dental public health. Moreover, the study showed that most of the workers lack knowledge of labor law, workers’ right and benefits.en_US
dc.identifier.callnoWA20.5 ก237ป 2538en_US
dc.subject.keywordคนงานก่อสร้าง--สุขภาพและอนามัยen_US
dc.subject.keywordปัญหาสังคมen_US
dc.subject.keywordคุณภาพชีวิตแรงงานen_US
.custom.citationภิรมย์ กมลรัตนกุล, Prirom kamolratanakul, เกื้อ วงศ์บุญสิน and Kua Wongboonsin. "ปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร." 2538. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2093">http://hdl.handle.net/11228/2093</a>.
.custom.total_download75
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0012.pdf
ขนาด: 12.02Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย