แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

วิธีการพัฒนาสมุนไพรไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล

dc.contributor.authorจีรเดช มโนสร้อยth_TH
dc.contributor.authorJiradej Manosroien_US
dc.contributor.authorอรัญญา มโนสร้อยth_TH
dc.contributor.authorAranya Manosroien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:34Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:03Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:34Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:03Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1273en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2095en_US
dc.description.abstractประเทศไทยมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในทางยา เครื่องสำอางและเสริมอาหารมาเป็นเวลาช้านาน อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยแม้แต่ผลิตภัณฑ์เดียวที่สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ โดยความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในความหลากหลายทางชีวภาพสูงและมีสมุนไพรไทยหลายตัวที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร จากการศึกษาเบื้องต้นของคณะผู้วิจัยพบว่าตลาดโลกมีความสนใจในสมุนไพรไทย อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกในตลาดโลกได้ทำให้การพัฒนาสมุนไพรไทยในรูปแบบเครื่องสำอางเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกมีโอกาสสูงกว่าในรูปแบบยาและเสริมอาหาร ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีมูลค่าการนำเข้าสมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพรสูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกเกือบ 4 เท่า ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำวิธีการพัฒนาสมุนไพรไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล เพื่อลดการนำเข้าทั้งสารสกัดและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร รวมทั้งการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ จากการศึกษาวิจัย การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พบว่าแนวโน้มของฤทธิ์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่นิยมในปัจจุบันและอนาคตในตลาดโลกคือฤทธิ์ชะลอความแก่ ให้ผิวขาว ให้ผมงอก และลดความอ้วน โดยเน้นให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเวชสำอาง ได้เสนอสมุนไพรไทย 10 ตัวที่น่าจะมีศักยภาพสูงในการนำมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบในรูปสารสกัดหรือเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งได้แก่ ว่านหางจรเข้ ขมิ้นชัน กวาวเครือขาว หม่อน ชุมเห็ดเทศ มะขามป้อม บัวบก พริกไทยดำ ไพลและฟ้าทะลายโจร คณะผู้วิจัยได้นําเสนอกระบวนการที่ครบวงจรและแนวโน้มของเทคโนโลยีซึ่งได้แก่ การปลูกสมุนไพรแบบ plantation และ organic รวมทั้งเทคโนโลยีนาโนและเทคโนโลยีชีวภาพที่ควรจะนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก กระบวนการที่ครบวงจรได้รวมถึงยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ปัญหา ข้อควรคำนึงถึงและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอแผนที่หรือ road map ของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพรไทย เพื่อการแข่งขันในตลาดโลกในระยะเวลา 5 ปีระหว่างปี พ.ศ. 2550-2554 ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ 2 มิติ โดยมิติหนึ่งเป็นแนวตั้งที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนที่สำคัญซึ่งได้แก่ ความร่วมมือและเงินทุนที่จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตร และรายได้ของประเทศ ส่วนอีกมิติหนึ่ง คือมิติแนวนอน ซึ่งได้แก่ ปัจจัยต่างๆ ที่มีการเชื่อมโยงกัน ประกอบด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีการทำงานเป็นเครือข่าย การสร้างระบบรับรองคุณภาพมาตรฐาน การปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมาย การคัดเลือกสมุนไพร กระบวนการผลิต การตลาด/ประชาสัมพันธ์ และการจัดระบบติดตามผลที่มีประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์หลังจำหน่าย คณะผู้วิจัยได้เสนอโครงการวิจัยที่ควรจะทำต่อเพิ่มเติมจากโครงการนี้ ซึ่งได้แก่ การทำวิจัยที่ยังขาดอยู่ของสมุนไพรไทยที่คัดเลือกมา 10 ตัว การทำวิจัยเพื่อหาข้อมูลของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศที่ต้องการส่งออกและการทำวิจัยเกี่ยวกับแผนธุรกิจของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดสากลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHerbs--Researchen_US
dc.subjectHerbsen_US
dc.subjectCosmeticsen_US
dc.subjectHerbs--Thaien_US
dc.subjectAlternative Medicineen_US
dc.subjectสมุนไพรen_US
dc.subjectสมุนไพร--การวิจัยและพัฒนาen_US
dc.subjectเครื่องสำอางen_US
dc.subjectสมุนไพร--ไทยen_US
dc.subjectสุขภาพทางเลือกen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectเครื่องสำอางth_TH
dc.titleวิธีการพัฒนาสมุนไพรไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากลth_TH
dc.title.alternativeThe process for the development of Thai medicinal plant products for worldwide market competitionen_US
dc.description.abstractalternativeAs known, Thai folklore wisdom of medicinal plants in pharmaceutical , cosmetics and food supplements has been used for a long time. Up till now , there is no single Thai medicinal plant product in worldwide competition market. Infact, Thailand has advantages of high biodiversity. There are several Thai medicinal plants which can be developed to medicinal plant cosmetic products. Our preliminary study has indicated that the worldwide market is very interested in Thai medicinal plants. However, because of the restriction of the trade regulations in many countries, the development of Thai medicinal plants in the form of cosmetics is more possible than the form of medicines and food supplements. In 2005, Thailand has higher import value of medicinal plants and their extracts than the export value of about 4 times. Therefore, the objective of this research project is to propose the process for the development of Thai medicinal plant cosmetic products for worldwide market competition , by evaluating from the searching and collecting of the information from various sources. The result from this study will decrease the import values of the extract and cosmetic products containing Thai medicinal plants from abroad and increase the national incomes. The popular trends of cosmetic activities in worldwide market at present and in the future are antiaging , whitening, hair growth promotion and body slimming, by emphasizing on high performance and safety which are cosmeceutical products. We have proposed ten Thai medicinal plants which have high potential to develop as raw materials in the form of extract or as the cosmetic products containing the extract for worldwide competition which are , Aloe barbadensis, Mill, Curcuma longa L. , Pueraria mirifica, Morus alba, Linn, Senecio alata (L.) Roxb. , Phyllanthus emblica L. , Centella asiatica (L.) , Piper nigrum, Linn, Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. and Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. Ex Nees. The technologies in trends, which are the plantation and organic approach for the cultivation of the plants, nanotechnology and biotechnology for the cosmetic products, are proposed to develop the Thai medicinal plant cosmetic products. The proposed complete process for the development of Thai medicinal plant cosmetic products for worldwide competition, includes the strategies , goals , problems, concerned topics and the related factors. The proposed road map for the development of the Thai medicinal plant cosmetic products for the 5 - year project (2007-2011) is the two dimensional model, the vertical and the horizontal dimension. The vertical dimension is composed of the important drives or input of the collaboration and funding which will be directed to the output of the product, patents and national incomes. The horizontal dimension is composed of factors which are linked closely including collaboration between private and government sectors working as clusters, quality assurance system, revision of the regulations, selection of Thai medicinal plants, production process, marketing / advertisement and the efficient follow up system. For the proposed further study continuing from this project, there are more research on the ten selected Thai medicinal plants , information of the consumers in the worldwide market for importing and the business plan for the Thai medicinal plant cosmetic products for worldwide competition.en_EN
dc.identifier.callnoQV767 จ493ว 2549en_US
dc.identifier.contactno48ค013en_US
.custom.citationจีรเดช มโนสร้อย, Jiradej Manosroi, อรัญญา มโนสร้อย and Aranya Manosroi. "วิธีการพัฒนาสมุนไพรไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2095">http://hdl.handle.net/11228/2095</a>.
.custom.total_download416
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1273.pdf
ขนาด: 2.396Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย