Show simple item record

The pesticide sale promotion in local area

dc.contributor.authorพิเชษฐ์ หนองช้างth_TH
dc.contributor.authorPhichet Nongchangen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:02Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:02Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1155en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2097en_US
dc.description.abstractรายงานวิจัย การตลาดสารพิษ : การส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ ศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนข้อมูลหลักฐานทางวิชาการ (Evidence based information) สำหรับใช้ในกระบวนการติดตามและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ น่าน กำแพงเพชร สุพรรณบุรี และขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ ศึกษากลไกการควบคุม กำกับ ดูแล การขายและการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการควบคุม กำกับ ดูแล การขาย และการโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลพื้นที่ในเชิงคุณภาพ ใช้ระยะเวลาในการศึกษา จำนวน 4 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน 2547 การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ยังมีปริมาณมาก การกระจายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ จะมีพนักงานขายของบริษัท และผู้จำหน่าย เช่น ร้านค้าสารเคมี สหกรณ์การเกษตรอำเภอ สหกรณ์เกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. พ่อค้าคนกลาง ร้านค้าชุมชน เป็นต้น เป็นแหล่งในการกระจายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสู่เกษตรกร รูปแบบการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ มีรูปแบบหลากหลาย จำแนกตามลักษณะการซื้อและแหล่งซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ร้านค้าของ สหกรณ์การเกษตร ร้านค้าวัสดุการเกษตร ร้านค้าชุมชุน/ร้านชำ การเร่ขาย การขายตรง และการขายแบบพันธะสัญญา เป็นต้น วิธีการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นวิธีการเป็นที่บริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้จำหน่าย หรือพนักงานขายของบริษัท ทำการส่งเสริมการขายกับกลุ่มผู้จัดจำหน่ายและเกษตรกรในพื้นที่ ได้แก่ การลดราคา การจัดแสดงสินค้า การใช้แปลงสาธิต การแถม การแจก การส่งชิ้นส่วนชิงโชค เงินค่าตอบแทน ของรางวัล รางวัลการเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ โบนัส การจัดเลี้ยงสัมมนาหรือโต๊ะจีน การกำหนดยอดสะสมเงิน การให้เครดิตหรือเงินเชื่อ การขายสินค้าพ่วงกับเมล็ดพันธุ์ การจัดแนะนำสินค้าในชุมชน การอบรมให้ความรู้ และการให้สิ่งของตอบแทน เป็นต้น รูปแบบการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่ ใช้รูปแบบที่ผสมผสานกัน แต่บริษัทจะมุ่งเน้นการส่งเสริมการขายกับกลุ่มผู้จัดจำหน่ายหรือร้านค้าเป็นหลัก นอกจากนี้บริษัทจะจัดการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสนับสนุนผ่านการโฆษณาทางสื่อมวลชน ปัจจัยหรือเงื่อนไขในการกำหนดการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีลักษณะเงื่อนไขหรือปัจจัยจากภาครัฐต่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายและผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายต่อเกษตรกร ได้แก่ 1) ภาครัฐขาดมาตรการควบคุม กำกับการส่งเสริมการขายของภาครัฐที่จริงจัง 2) เกษตรกร มีพฤติกรรมชอบการเสี่ยงโชค ชอบของถูก ของแถม รางวัลต่างๆ การจัดเลี้ยงฟรี และมีการเลียนแบบวิธีการทำการเกษตรกรรมหรือ ดูตัวอย่างจากเพื่อนเกษตรกร อยากลองของใหม่ๆ ต้องการเห็นผลทันทีทันใด ต้องการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและเชื่อโฆษณา เกษตรกรส่วนใหญ่เชื่อคำแนะนำจากร้านค้าสารเคมี เกษตรกรมีฐานะยากจน และได้รับความรู้เรื่องสารเคมีที่ถูกต้องน้อย 3) สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีชื่อสามัญที่จำยากและชื่อการค้าจำนวนมากในชื่อสามัญเดียวกัน 4) ผู้จำหน่ายต้องการรายได้หรือกำไรที่เพิ่มขึ้น 5) กฎระระเบียบหรือนโยบายของสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่ม ในเชิงการบังคับให้ซื้อสารเคมีในรูปการกู้ยืม 6) การแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทผู้ผลิต ข้อเสนอแนะในเชิงยุทธศาสตร์หรือมาตรการในการควบคุม กำกับ ดูแล การขายและการส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์และการโฆษณา โดยจัดมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และพัฒนาและควบคุมสื่อบุคคลในการโฆษณาให้มีเรื่องความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีมาตรฐานและมีใบอนุญาตรองรับ 2) พัฒนากลไกภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการบังคับใช้กฎหมาย โดยให้บทบาทของภาครัฐผู้ถือกฎหมายเข้มงวดมากขึ้น และการเพิ่มข้อความเตือนผลกระทบต่อสุขภาพในฉลากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3) พัฒนาศักยภาพของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยพัฒนาให้เป็นนโยบายสาธารณะ จัดทำเป็นข้อบังคับของท้องถิ่น และสร้างระบบการเฝ้าระวัง การควบคุม กำกับ ดูแลการขาย และการใช้สารเคมีศัตรูพืชในระดับพื้นที่โดยชุมชน 4) การจัดการความรู้เรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดย พัฒนาให้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารสารเคมีด้านการเกษตร จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ 5) พัฒนามาตรฐานการจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยการพัฒนาและควบคุมผู้จำหน่ายให้มีความรู้ที่มีมาตรฐานและมีใบอนุญาตรองรับ และพัฒนามาตรฐานร้านค้าจำหน่ายสารเคมี 6) สนับสนุนให้ใช้มาตรการทางภาษีของท้องถิ่นในการควบคุม กำกับการขายและการส่งเสริมการขายสารเคมีในพื้นที่ เช่น ร้านขายสารเคมี ป้ายโฆษณาสารเคมี เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Systemsen_US
dc.subjectPesticidesen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectสารกำจัดศัตรูพืชen_US
dc.subjectยากำจัดศัตรูพืชen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการตลาดสารพิษ : การส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่th_TH
dc.title.alternativeThe pesticide sale promotion in local areaen_US
dc.description.abstractalternativeThe pesticide sale promotion in local area According to the National Health Assembly held in 2003, pesticide advertising and sale promotion control were raised, among participants, as significant policy implications to relief pesticide problem in Thailand. These concerns emerged when it was found that pesticide advertising and sale promotion with various techniques have influenced the attitude, belief and practice on the pesticide use among farmers. In addition, the monitoring and control mechanism related to these two issues by public agencies at local scale was weak in terms of vague regulation and shortage of capital, qualified staff and essential information. Under this situation, the study on the pesticide sale promotion in the local area became an urgent task. This study would provide evidence based information which strengthened the movement of National Health Assembly in monitoring and urging local government to take better action in controlling the pesticide advertising and sale promotion control in their responsible areas. This study was conducted, during June until September 2004, in four provinces Nan, Kampaengphet, Suphanburi and Khonkaen, with aims to investigate the pattern and techniques of pesticide advertising and sale promotion in the sample sites as well as mechanisms in controlling and monitoring these two issues. The policy implications were the expected outcomes. Various techniques in the quality research were applied during the step of data collection such as documentary and field survey, observation, focus group, group interview and in-depth interview of key informants (pesticide vendors, farmers, communal leader and relevant public officials). Based on both primary and secondary data, the knowledge found in 4 provinces was synthesized and then presented through the seminar held for receiving the feedback and comments from experts and relevant organizations. With regard to the results, it was found that the farmers in all four provinces intensively used the pesticide for their agricultural practices. The agro-chemical shops were prevailing at all local administrative units (province, district, sub-district and village). The key actors in distributing the pesticide to the local farmers comprised of sale men, pesticide vendors, agro-chemical shop, agricultural cooperative, traders and retail shop. The popular techniques to increase the sale volume among pesticide producers, trading agencies, salesmen and vendors were price cut, road show, demonstration, premium, sweepstake, contest, commission, price rewards, tour reward in Thailand and international countries, bonus, party and seminar, score collection reward, credit, sale in packages and training. The model of sale promotion at local areas was a mix model. Although, the techniques to promote the pesticide use were variety, they were differentiated by the positions of pesticide supplier and the purchasing patterns. For example, salesmen and retail shop mainly focused on the direct sale while, contract farming could be observed as one of techniques by agricultural cooperative. In addition, the sale representatives and key vendors were recognized as the target groups of pesticide production companies. These companies would support their sale representatives by running sale promotion campaigns with specific farmers. However, the sale representatives in the local areas had to conduct sale promotion campaigns in parallel but they mostly dealt with small vendors and local farmers. Another interesting finding was that advertising through mass media was a key channel to serve the sale promotion campaigns. In conclusion, the model to promote the pesticide use in local areas were 1) Sale representative based promotion 2) Customer based promotion 3) Sale force based promotion The factors leading to the uncontrolled pesticide advertising and sale promotion in local areas consisted of 1) lack of stringent implementation and enforcement by relevant public agencies in controlling the pesticide advertising and sale promotion 2) high preference, among most of farmers, to get free rewards, cheap pesticide and quick returns from agricultural practices but low education about the danger of the pesticides 3) many trading names (grouping in the same general name) leading to the confusion among the farmers 4) high concern on economic profit rather than others observed among pesticide trading agencies 5) pro-pesticide policy or regulation of agricultural cooperative in forms of loan for pesticide 6) high competition for the market share among the production companiesen_US
dc.identifier.callnoWA754 พ654ก 2547en_US
dc.identifier.contactno47ข070en_US
dc.subject.keywordPesticide Saleen_US
dc.subject.keywordการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชen_US
dc.subject.keywordชุมชนen_US
.custom.citationพิเชษฐ์ หนองช้าง and Phichet Nongchang. "การตลาดสารพิษ : การส่งเสริมการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับพื้นที่." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2097">http://hdl.handle.net/11228/2097</a>.
.custom.total_download179
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1155.pdf
Size: 1.921Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record