dc.contributor.author | กัญจนา ติษยาธิคม | th_TH |
dc.contributor.author | Kanjana Tisayaticom | en_US |
dc.contributor.author | วลัยพร พัชรนฤมล | th_TH |
dc.contributor.author | สุวรรณา มูเก็ม | th_TH |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:24:42Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:42:13Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:24:42Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:42:13Z | |
dc.date.issued | 2546 | en_US |
dc.identifier.other | hs1023 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2112 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน โครงสร้างต้นทุน ประสิทธิภาพของหน่วยบริการไตเทียมภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2544 โดยใช้วิธีการสำรวจ โดยเก็บข้อมูลต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเสื่อมราคา ปริมาณการบริการฟอกเลือด และจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังของหน่วยบริการไตทียมทั้งหมด 170 แห่ง โดยให้หัวหน้าหน่วยบริการไตเทียมเป็นผู้ตอบข้อมูลทางไปรษณีย์ ข้อมูลค่าแรงประกอบด้วยเงินเดือน สวัสดิการ และค่าล่วงเวลา ผู้วิจัยศึกษา Full time equivalent เพื่อคำนวณต้นทุนค่าแรงของบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้หน่วยบริการไตเทียมเท่านั้น ค่าวัสดุ ประกอบด้วยต้นทุนค่าวัสดุที่ใช้สำหรับการฟอกเลือดและวัสดุอื่นๆ ไม่รวมยาที่ใช้ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด และค่าสาธารณูปโภค ค่าลงทุนคิดลดทอนเป็นค่าเสื่อมรายปี โดยกำหนดให้อายุการใช้งานของครุภัณฑ์เท่ากับ 5 ปี และอายุการใช้งานของอาคารสิ่งก่อสร้างเท่ากับ 20 ปี วิธีการวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนสมการต้นทุนวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนของการให้บริการหน่วยบริการไตเทียมนั้นใช้สถิติวิเคราะห์แบบ สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regressions) ที่ P-value 0.05 ผลการศึกษาได้รับข้อมูลตอบกลับจากหน่วยบริการไตเทียม 117 แห่ง (69%) ใช้ข้อมูลสมบูรณ์ 108 แห่งเพื่อการวิเคราะห์ (64%) จำนวนเครื่องที่เปิดให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใกล้เรียงกันในปี 2542 และ 2543 ในปี 2544 มีเครื่องที่เปิดให้บริการจำนวน 730 เครื่อง โดยสัดส่วนของเครื่องไตเทียมอยู่ที่ภาครัฐ ร้อยละ 56 ภาคเอกชนร้อยละ 44 ผลงานการให้บริการ ภาคเอกชนมีจำนวนครั้งของการให้บริการเฉลี่ยต่อแห่งสูงกว่าภาครัฐ การให้บริการต่อเครื่องต่อวัน และการให้บริการเป็นจำนวนรายต่อเครื่อง พบว่า ภาคเอกชนมีผลงานบริการสูงกว่าภาครัฐเช่นเดียวกัน สัดส่วนต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนเท่ากับ 40:43:17 ภาครัฐมีต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 273.9 ล้านบาท ภาคเอกชนมีต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 259.7 ล้านบาท ภาครัฐมีสัดส่วนต้นทุนค่าลงทุนสูงกว่าภาคเอกชน ร้อยละ 9 ภาครัฐมีต้นทุนต่อครั้งของการให้บริการ สูงกว่าภาคเอกชนเล็กน้อย โดยต้นทุนต่อครั้งของภาครัฐเฉลี่ย เท่ากับ 1,927 บาท ภารเอกชนเท่ากับ 1,525 บาท การวิเคราะห์โดยใช้ Multiple regressions พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนในการฟอกเลือดทั้งภาครัฐและเอกชนคือ จำนวนครั้งที่ให้บริการ และจำนวนครั้งที่ให้บริการต่อเครื่องต่อวัน โดยมีประสิทธิภาพของตัวพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.865 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 565810 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Hemodialysis -- 2001 -- Thailand | en_US |
dc.subject | Kidney, Artificial | en_US |
dc.subject | Artificial Organs | en_US |
dc.subject | Cost and Cost Analysis | en_US |
dc.subject | Kidney Diseases | en_US |
dc.subject | ต้นทุนและประสิทธิผล | en_US |
dc.subject | ไตเทียม | en_US |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | ต้นทุน และประสิทธิภาพของหน่วยบริการไตเทียม ภาครัฐและเอกชนในปี 2544 | th_TH |
dc.title.alternative | Cost and efficiency of public and private hemodialysis centers in 2001 | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed to estimate cost profile, unit cost and performance of public and private hemodialysis (HD) centers throughout the country for the year 2001(2544BE). A self administered questionnaire survey was distributed to the whole 170 HD centers. This is to solicit information on labor cost (including salary, wages, fringe benefit and overtime payment) and time allocation for HD center only, direct material cost for providing HD services (excluding public utilities and related drugs for the treatment of complications). We use straight line depreciation cost for capital investment in HD machines (5 years useful life) and buildings (20 years useful life).A multiple regression was used to estimate cost function of HD centersWe got 117 questionnaire returned, 69% response rate, with 108 complete forms for analysis (64%). By 2001, there were 730 machines operating, 56% owned by publicand 44% by private. Private HD centers had higher productivity (number of sessionper HD per day) than public. On cost profile, the ratio of labor cost to material cost to capital cost was 40:43:17. Total costs of public and private HD center were 273.9 and 259.7 million Baht respectively. Capital cost of public HD center was 10% higher than the private HD centers. Unit cost per HD session was 1,927 Baht in public and 1,525 Baht in private HD centers. Multiple regression demonstrated that total sessions and session per HD per day determined total cost of public and private HD centers, with R2 of 0.865.We performed breakeven analysis, the current charge per session was high enough in both public and private to perform their productivity higher than the breakeven point.Reimbursement of 1,500 Baht for social security workers was too low and that hospital set charge higher than 1,500 Baht for them. Scatter-gram where X axis represented session per HD per day and Y axis represented unit cost, demonstrated that private HD centers were more efficient than public centers.This study should provide a strong ground for further policy analysis on expansion of renal replacement therapy for the Universal Coverage scheme. In the meantime, HD centers could improve its performance through reduction of unit cost and increase productivity. To improve the performance, there was a need to solve administrative problems at micro-level, such as staff incentives. | en_US |
dc.identifier.callno | WJ378 ก382ต 2546 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ข067 | en_US |
dc.subject.keyword | Hemodialysis Center | en_US |
dc.subject.keyword | Artificial Kidney | en_US |
dc.subject.keyword | หน่วยบริการไตเทียม | en_US |
dc.subject.keyword | โรคไต | en_US |
.custom.citation | กัญจนา ติษยาธิคม, Kanjana Tisayaticom, วลัยพร พัชรนฤมล, สุวรรณา มูเก็ม and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ต้นทุน และประสิทธิภาพของหน่วยบริการไตเทียม ภาครัฐและเอกชนในปี 2544." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2112">http://hdl.handle.net/11228/2112</a>. | |
.custom.total_download | 178 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |