Show simple item record

Evaluation of the criminal justice response to family violence

dc.contributor.authorวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุลth_TH
dc.contributor.authorWatcharin Patjekwinyusakulen_US
dc.contributor.authorอุทัยวรรณ แจ่มสุธีth_TH
dc.contributor.authorอำนาจ เนตยสุภาth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:51Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:39:52Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:51Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:39:52Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs0958en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2127en_US
dc.description.abstractการประเมินกระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว เป็นการศึกษาสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจากรายงานขององค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาบทความ รายงานวิจัย ทั้งนี้ เพื่อทราบความหมาย ลักษณะการกระทำความรุนแรง ผู้ก่อเหตุความรุนแรง สาเหตุและผลกระทบของความรุนแรงในครอบครัว ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจึงชี้ชัดได้ว่าการกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานจำต้องยุติไม่ว่ากรณีใดๆ โดยที่กระบวนการยุติธรรมได้ชื่อว่าเป็นกลไกหนึ่งของสังคมจำต้องมีส่วนร่วมในการยุติและให้การคุ้มครองช่วยเหลือผู้ประสบเหตุความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ปัญหาจึงมีว่าในสภาวะปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมไทยสามารถสนองตอบต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพหรือไม่ จึงจำต้องทำการศึกษาเพื่อประเมินกระบวนการยุติธรรมของไทยว่ามีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในระดับเป็นที่น่าพึงพอใจหรือไม่ แต่จากการศึกษาปรากฏเป็นที่น่าเสียดายว่ากระบวนการยุติธรรมไทยยังมีข้อจำกัดหลายกรณี แม้ข้อมูลในด้านการศึกษาวิจัยหรือรายงานสถิติคดีความรุนแรงในครอบครัวหรือรายงานเกี่ยวกับสภาพปัญหา ข้อจำกัดและอุปสรรคของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่อการสนองตอบอุบัติการณ์ความรุนแรงในครอบครัวยังจำกัดยากที่จะสืบค้นได้ จึงทำได้เพียงศึกษากฎหมายและวิธีปฏิบัติของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีความรุนแรงในครอบครัว เมื่อนำมาประมวลกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญจากเวทีสนทนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (focus group) ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์กรณีศึกษาพบว่า สถานภาพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม ด้อยทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพในเชิงบริการต่อการสนองตอบอุบัติการณ์ความรุนแรงในครอบครัว กล่าวโดยเฉพาะคือ (1) เน้นการใช้มาตรการทางอาญาลงโทษแก่ผู้ก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัวอย่างเคร่งครัด กล่าวคือ เมื่อมีการเริ่มต้นกระบวนการทางอาญาแล้วจะต้องดำเนินคดีไปจนถึงที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมาย จึงมีลักษณะเป็นมาตรการที่แข็งกร้าวไม่มีทางเลือกอื่นที่ยืดหยุ่นกว่า (2) มาตรการผ่อนปรนโดยให้พนักงานสอบสวนพยายามไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้คู่สมรสคืนดีกัน เพื่อเลี่ยงที่จะไม่เข้าสู่กระบวนการทางอาญา แต่ไม่มีกลไกหรือมาตรการติดตามคุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระทำรุนแรง (3) บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมส่วนใหญ่มีทัศนติในทางลบต่อคดีความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยเคยมีความสัมพันธ์ส่วนตัวมาก่อน (bias against relationship case) โอกาสที่คู่ความจะมีอิทธิพลซึ่งกันและกันสูงอาจทำให้คดีไม่สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ร้ายแรง เป็นปัญหาภายในครอบครัวสามารถตกลงกันได้ บางกรณีผู้ถูกกระทำรุนแรงกลับมาแจ้งเหตุหลายครั้งน่ารำคาญ จึงมีความพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำคดีความรุนแรงในครอบครัว เมื่อศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและบทเรียนเกี่ยวกับการสนองตอบต่ออุบัติการณ์ความรุนแรงในครอบครัวของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา (มลรัฐนิวยอร์ก) ออสเตรเลีย มาเลเซียและสิงคโปร์ เปรียบเทียบกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยประกอบกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลจากการสัมภาษณ์กรณีศึกษาเห็นว่า จุดแข็งของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้บัญญัติให้รัฐคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวไว้แล้ว เพียงแต่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีความเข้มแข็งเป็นสากลและสอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมของสังคมไทย เพื่อให้การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพในเชิงบริการ ทั้งนี้ เพื่อผดุงไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวอันเป็นแกนหลักของสังคมไทยสืบไป หากจะกล่าวโดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมไทยควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ควรให้ศาลนำมาตรการทางแพ่งมาใช้ในการออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ (protective order) เพื่อยุติความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ถูกกระทำรุนแรง(survivor) หรือสมาชิกในครอบครัว หากมีความจำเป็นอาจต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ก่อเหตุรุนแรง (perpetrator) เข้ารับการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมรุนแรงตามระยะเวลาที่เห็นสมควร อย่างไรก็ตามคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพต้องมีลักษณะยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้เสมอ (2) การเข้าถึงกระบวนการขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพต้องสะดวก ประหยัด รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากเกินไปและควรให้ผู้ถูกกระทำรุนแรงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหา เช่น การขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพหรือการดำเนินคดีอาญากับผู้ก่อเหตุรุนแรง เป็นต้น (3) ต้องมีกลไกบังคับให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างจริงจัง กล่าวคือ เมื่อมีการฝ่าฝืนคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพต้องมีบทลงโทษทางอาญา ถ้ามีการฝ่าฝืนคำสั่งซ้ำต้องมีบทเพิ่มโทษ (4) หน่วยงานและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่ปฏิบัติงานคุ้มครองช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวต้องมีบทบาทที่ชัดเจน ควรมีการฝึกอบรมทักษะเป็นการเฉพาะ ต้องมีกระบวนการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติในทางบวกต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีบุคลิกภาพดีสามารถทำงานร่วมกับผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและบริการที่มีคุณภาพ (5) กระบวนการคุ้มครองช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวต้องกระทำโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น ตำรวจ นักกฎหมาย แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ เน้นการให้คำปรึกษาแนะนำ การบำบัดแก้ไขฟื้นฟู การสังคมสงเคราะห์ โดยเชื่อมโยงกับชุมชนจะเป็นการดีและหากยุติปัญหาโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจะเป็นการดียิ่งth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2812602 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectJustice, Administration of -- Evaluationen_US
dc.subjectกระบวนการยุติธรรม--ประเมินen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการประเมินกระบวนยุติธรรมในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of the criminal justice response to family violenceen_US
dc.description.abstractalternativeEvaluation of the Criminal Justice Response to Family ViolenceIn order to reflect the importance and necessity of welfare protection of persons from domestic violence, this research firstly studies on the issue of domestic violence based on reports of international organizations and related agencies to define the meaning of domestic violence, behavior pattern, abuser and cause-effect of this phenomenon. The outcome of this research identifies that domestic violence has to be ended because it violates fundamental human rights. Criminal justice system is recognized as an important tool to end the domestic violence and to protect victims of this incident continuously and seriously. However, there is still a remaining problem that whether the current system can cope with this situation effectively or not. Therefore, the current Thai criminal justice system has to be evaluated.Unfortunately, there are many restraints on this study such as lacking of accurate statistics on domestic violence cases. This research, therefore, focus on current statutes and normal practices of agencies in the criminal justice system especially on domestic violence cases including opinions and recommendations from focus group and case studies. After analyzing, this outcome indicates that Thai criminal justice system insufficiently response to domestic violence as following:The system strictly punishes the perpetrator of domestic violence with criminal penalty. After initiating cases at police station, there is no way to end this criminal process because it is a public offense. The police officer always conciliate a couple in order to avoid criminal proceedings. However, there is no mechanism or monitoring system to protect victim from domestic violence. Personnel in criminal justice agencies have a negative attitude on domestic violence cases because victims and perpetrators used to have a relationship or live together. They perceive domestic violence cases as an ordinary misdemeanour case. After surveying the criminal justice system responsive to domestic violence situation in the UK., US. (New York), Australia, Malaysia and Singapore comparing to Thai criminal justice system, we found a strong point of Thai criminal justice system laying down in the constitution in section 53 subsection 1. However, the formulation of Thai criminal justice should be amended and improved as following: a. The court of justice should apply civil order (protective order) to protect victim or survivor from domestic violence. In addition, the perpetrator must be sent to rehabilitation programme. b. In order to access civil order, it must be easy and economical to let victims participating in any decision making process. c. Enforcement mechanisms following the protective order must be created. If there is a violation on protective order, criminal penalty must be applied immediately. d. The framework and role of the criminal justice agencies must be clear and their personnel must be specially trained to have positive attitudes and effective performance on domestic violence cases.e. The process of protection and restitution for victims against domestic violence must be closely done with multidisciplinary teams such as polices, lawyers, doctors, psychologists, social workers, etc.en_US
dc.identifier.callnoHV6001 ว386ร 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค002en_US
dc.subject.keywordViolence, Problemen_US
dc.subject.keywordความรุนแรง, ปัญหาen_US
.custom.citationวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล, Watcharin Patjekwinyusakul, อุทัยวรรณ แจ่มสุธี and อำนาจ เนตยสุภา. "การประเมินกระบวนยุติธรรมในการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัว." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2127">http://hdl.handle.net/11228/2127</a>.
.custom.total_download204
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs0958.pdf
Size: 1.986Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record