แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

บทสรุปสำหรับผู้บริหารและบทสังเคราะห์งานวิจัยจากการศึกษากระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2540-2549

dc.contributor.authorทักษพล ธรรมรังสีen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.coverage.temporal2540-2549en_US
dc.date.accessioned2009-01-15T07:47:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:33Z
dc.date.available2009-01-15T07:47:12Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:33Z
dc.date.issued2550-12en_US
dc.identifier.otherhs1417en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2227en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้วิเคราะห์กระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ในประเทศไทยในช่วงเวลาระหว่างปีพ.ศ.2540 ถึง 2549 เพื่อศึกษาทำความเข้าใจถึงความเป็นไปในกระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ และเพื่อสังเคราะห์ข้อแนะนำในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ในประเทศไทย การศึกษานี้อาศัยตัวแบบและทฤษฎีนโยบายสาธารณะหลายรูปแบบเพื่อสร้างเครื่องมือในการวิเคราะห์กระบวนการนโยบายในสองระดับในระดับองค์ประกอบหลักของกระบวนการนโยบาย การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์ 1)ขั้นตอนของพัฒนาการหรือระยะต่างๆ ของกระบวนการ 2) ลักษณะและพฤติกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ 3) อิทธิพลของบริบทของนโยบายแอลกอฮอล์ในระดับองค์ประกอบย่อยของกระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ขั้นตอนการตั้งวาระนโยบาย การสร้างนโยบายและการตัดสินใจ การนำนโยบายไปปฏิบัติ การติดตามและประเมินผล และกลไกในการแสดงบทบาทและการสร้างความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในสองลักษณะที่มา คือแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสารทางการ วรรณกรรม เอกสารวิชาการ และจากสื่อมวลชนและแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ของประเทศไทยในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษามีระดับความสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยคุณค่าทางสุขภาพหรือคุณค่าในการป้องกันปัญหาของนโยบายแอลกอฮอล์ได้รับความสำคัญมากขึ้น ในขณะที่คุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ลดทอนความสำคัญลงไป การศึกษาพบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายแอลกอฮอล์มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับกระบวนการนโยบายเพียงบางขั้นตอน โดยมักสนใจเพียงขั้นตอนการสร้างนโยบายและการตัดสินใจ ในขณะที่ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติและการติดตามและประเมินผลไม่ได้รับการเอาใจใส่ นอกจากนี้ข้อจำกัดทางทรัพยากรและการบริหารจัดการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรยังมีส่วนทำให้ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความอ่อนแอ แนวคิดการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นแนวคิดหลักของขั้นตอนการสร้างนโยบายและตัดสินใจ โดยพบว่าการใช้ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับนโยบายในกระบวนการเป็นไปอย่างจำกัด และเนื้อหานโยบายที่มีผลอยู่แล้วมีอิทธิพลสำคัญต่อการตัดสินใจ กระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ในประเทศไทยเป็นพื้นที่นโยบายที่มีลักษณะค่อนข้างเปิดสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในระยะเวลาที่ศึกษาพบว่ามีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรายใหม่ๆ หลายส่วนเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการนโยบาย และพบว่ากลไกในการแสดงอิทธิพลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น กลไกความรู้ทางวิชาการและการใช้สื่อมวลชนในการแสดงบทบาท การสร้างความเคลื่อนไหวของประชาสังคมและการสร้างภาคีเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามการบริหารระบบราชการแบบรวมศูนย์อำนาจ และความสนใจและความต้องการในระดับหน่วยงานและระดับบุคคลของผู้กำหนดนโยบายยังเป็นปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการนโยบาย ความสัมพันธ์ต่อเจ้าหน้าในภาครัฐและการมีตัวแทนในกลไกหลักของกระบวนการเป็นเงื่อนไขในการแสดงอิทธิพลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ไม่เป็นทางการ การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางวัฒนธรรมนอกจากจะมีอิทธิพลต่อกระบวนการนโยบายแล้ว ยังมีผลให้กระบวนการนโยบายของประเทศไทยมีความแตกต่างจากประสบการณ์ที่พบในประเทศทางตะวันตก รวมถึงในตัวแบบและทฤษฎีนโยบายสาธารณะ ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่สำคัญนี้ ได้แก่ ระบบความเป็นพวกพ้อง ระบบความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การเป็นตัวแทน ความมุ่งมั่น จริงจังและความยืดหยุ่นและการประนีประนอมth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectแอลกอฮอล์--นโยบายen_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleบทสรุปสำหรับผู้บริหารและบทสังเคราะห์งานวิจัยจากการศึกษากระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2540-2549en_US
dc.title.alternativeDescribes and analyses the Thai alcohol policy process in the period 1997- 2006en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe Report describes and analyses the Thai alcohol policy process in the period 1997- 2006, in order to investigate the characteristics and areas for potential improvement of the Thai alcohol policy process. The analysis used several extant public policy models. The models covered three aspects of the process at the macro level: stages of development, the characteristics and behaviors of major policy players, and the policy context. At the micro level, the analysis employs concepts of agenda setting, policy formulation, policy implementation, monitoring and evaluation, stakeholder relationships and policy context. Information on Thai alcohol policy was collected from two sources: secondary data included official documents, literature, technical publications and mass media; primary data was collected through stakeholder interviews. Thai alcohol policy, during this period became more comprehensive and more oriented to public health. Problem-reduction values gained momentum while economic values remained significant. Thai policy stakeholders focused on the formulation process, while implementation, monitoring and evaluation were neglected. Limited resources, human capacity and ineffective management exacerbated this situation. Incrementalism characterized Thai alcohol policy formulation; existing policy or the policy precursor was very important to the decisions made. Limitations in the availability, accuracy and utilization of knowledge about alcohol consumption, related problems and alcohol policy also affected the process. The Thai alcohol policy process became a more open public policy sphere for stakeholders. Many new players made major contributions to the process. The mechanisms stakeholders use to influence policy have become more complex and included: technical knowledge, the use of mass media and civil movements, and coordination among stakeholders. A centralized bureaucratic administration and personal and institutional interests are critical features for official stakeholders, while connection to high-ranking officials and representation in the process are significant for interest groups. The Thai cultural context had a crucial impact on the alcohol policy process; cultural features that are not explicitly covered in the Western policy models utilized include cronyism, relationships, representation, commitment, negligence, and compromise. These characteristics make the Thai alcohol policy process difficult to fully explain in terms of the available public policy theories.en_US
dc.identifier.callnoWM274.JT3 ท111บ 2550en_US
dc.identifier.contactno48ค018en_US
dc.subject.keywordสังเคราะห์งานวิจัยen_US
dc.subject.keywordนโยบายแอลกอฮอล์en_US
.custom.citationทักษพล ธรรมรังสี. "บทสรุปสำหรับผู้บริหารและบทสังเคราะห์งานวิจัยจากการศึกษากระบวนการนโยบายแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2540-2549." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2227">http://hdl.handle.net/11228/2227</a>.
.custom.total_download88
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1417.pdf
ขนาด: 2.905Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย