Show simple item record

การศึกษาประสิทธิภาพและต้นทุนของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

dc.contributor.authorดิเรก ปัทมสิริวัฒน์en_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-01-23T04:02:57Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:00Z
dc.date.available2009-01-23T04:02:57Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:00Z
dc.date.issued2551-08en_US
dc.identifier.otherhs1435en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2243en_US
dc.description.abstractรายงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยเพื่อติดตามประเมินผลระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อการคลังของสถานพยาบาลที่สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ก) พัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการว่าด้วยการวัดประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนของสถานพยาบาล โดยนำทฤษฎีและแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ควบคู่กับการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์ เพื่อค้นหาหน่วยงานชั้นแนวหน้าด้านการบริหารต้นทุนจากหน่วยชั้นนำ ข) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเงินการคลังของสถานพยาบาลอย่างต่อเนื่องในอนาคต นำข้อมูลดังกล่าวร่วมกับข้อมูลการรักษาพยาบาลมาวิเคราะห์ฟังก์ชันต้นทุน ต้นทุนต่อหน่วย ซึ่งสามารถจะใช้เป็นเครื่องชี้วัดของประสิทธิภาพและการประหยัดจากขนาดข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการวางแผนการลงทุนของสถานพยาบาลในอนาคตและการจัดงบประมาณให้สถานพยาบาลอย่างเหมาะสมในโอกาสต่อไป ค) จัดทำข้อเสนอแนวทางการนำผลการวิจัยไปปรับปรุงการทำงานของสถานพยาบาล (ด้านบริหารงบประมาณและต้นทุน) สนับสนุนการเปรียบเทียบข้ามสถานพยาบาลเพื่อความเชื่อมั่นว่าโรงพยาบาลของรัฐมีประสิทธิภาพในระดับที่ยอมรับได้ หรือชี้แนวทางเร่งรัดประสิทธิภาพในหน่วยงานที่ยังด้อยประสิทธิภาพ ในกระบวนการวิจัยครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์จากสถานพยาบาล และประยุกต์ทฤษฎีและแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์เส้นต้นทุน (cost curve) ของกลุ่มโรงพยาบาล 3 กลุ่ม ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน พร้อมกับการแสดงผลเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) และการประหยัดจากขนาด (economies-of-scale) เนื้อหาสำคัญอีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการวัดประสิทธิภาพ ซึ่งในบริบทนี้เน้นด้านการบริหารต้นทุนและรายจ่าย แบบจำลองหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ Data Envelopment Analysis (DEA) ซึ่งเป็นวิธีการแบบนันพาราเมตริซ์ที่แพร่หลายทั่วโลก และถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบข้ามหน่วยงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเทคนิค DEA นั้นอาศัยหลักการเปรียบเทียบระหว่าง “หน่วยงานชั้นนำ” หรืออยู่ในระดับแนวหน้า กับหน่วยงานอื่นๆ ที่จำแนกอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า input-orientation (cost minimization) และใช้ข้อสมมติสองแบบเพื่อการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันกล่าวคือข้อสมมติ VRS (variable returns to scale) และข้อสมมติCRS (constant returns to scale) ฐานข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้จากสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำแนกออกเป็น สามกลุ่ม ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ (23 แห่ง) โรงพยาบาลทั่วไป (58 แห่ง) และโรงพยาบาลชุมชน (629 แห่ง ) รวมหน่วยวิเคราะห์ทั้งสิ้น 710 แห่ง ข้อมูลด้านการเงินได้จากรายงานทางการเงินของสถานพยาบาลในปี 2549 นอกจากนี้รวบรวมข้อมูลด้านการรักษาพยาบาล และข้อมูลพื้นฐานของสถานพยาบาล (ตัวอย่างเช่น จำนวนเตียง จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และฝ่ายสนับสนุนของสถานพยาบาล DRG-relative weight เป็นต้น) นำมาวิเคราะห์เปรีบเทียบเป็นกลุ่ม สำหรับ ในกลุ่มโรงพยาบาลขชุมชนนั้นได้จำแนกเป็นกลุ่มย่อย ตามขนาดเล็ก ขนาดกลางขนาดใหญ่ นอกจากนี้ได้ทดลองเปรีบบเทียบระหว่างโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่กับโรงพยาบาลทั่วไป เปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลศูนย์กับโรงพยาบาลทั่วไป ผลการวัดประสิทธิภาพ รายงานนี้ได้แสดงผลเปรียบเทียบการใช้ข้อสมมติที่แตกต่างกันกล่าวคือ Variable return to scale กับ constant return to scale ผลสรุปเป็นภาพรวมสะท้อนว่า ก) ระดับประสิทธิภาพของโรงพยาบาลศูนย์ค่อนข้าสูง 94-97% ข) โรงพยาบาลทั่วไปดัชนีประสิทธิภาพระหว่าง 86-89% ค) สำหรับโรงพยาบาลชุมชนนั้นพบว่ามีความหลากหลายค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่กระจุกตัวระหว่าง 75-81% ผลการศึกษาสะท้อนว่ายังมีโอกาสที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงพยาบาลของภาครัฐ ซึ่งหากทำให้หน่วยที่ด้อยประสิทธิภาพยกระดับเท่ากับชั้นแนวหน้า จะลดค่าใช้จ่าย/งบประมาณร่างจ่ายลงได้ ประมาณ 3-7% ในกรณีโรงพยาบาลระดับศูนย์ ลดค่าใช้จ่ายลงได้11-14% ในกรณีโรงพยาบาลทั่วไปและ19-25% ในกรณีโรงพยาบาลชุมชน ผลการศึกษาอีกลักษณะหนึ่งโดยใช้แบบจำลองรีเกรสชั่น เพื่อวัดลักษณะเส้นต้นทุน พร้อมกับทดสอบคุณสมบัติ constant cost พบว่า โรงพยาบาลระดับศูนย์มีการดำเนินการสอดคล้องกับลักษณะ constant cost ซึ่งสะท้อนว่าการดำเนินการมีลักษณะ “การใช้ทรัพยากร (ทุน) เต็มที่ ” (full capacity) และ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดแล้ว แต่สำหรับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนนั้นสะท้อนว่าการดำเนินการยังอยู่ในช่วง decreasing cost อีกหนึ่ง มีช่องทางที่จะเพิ่มผลผลิต (output) ได้ และถ้าหากดำเนินการแล้วจะมีผลทำให้ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ลดลงได้ ผลลัพธ์เช่นนี้ยังมีนัยที่บ่งชี้ว่า การใช้ทรัพยากร (ทุน)ของสถานพยาบาลยังไม่เต็มที่ (less-than full capacity) การอภิปรายผล ผลลัพธ์จากแบบจำลองรีเกรสชั่นแสดงต้นทุน และผลการวัดประสิทธิภาพโดยแบบจำลอง DEA มีส่วนสนับสนุนซึ่งกันลัน กล่าวคือ พบว่าดรงพยาบาลศูนย์มีการใช้ทรัพยากรค่อนข้างเต็มที่และมีคะแนนประสิทธิภาพค่อนข้างสูง (ค่าefficiency score เกินกว่า 90%) ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวัง --เนื่องจากโรงพยาบาลระดับศูนย์นั้นเป็นแหล่งที่ใช้ทรัพยากรและงบประมาณจำนวนมาก (หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยของงบประมาณรายจ่ายของโรงพยาบศูนย์เท่ากับ 1,330 ล้านบาทต่อปี เปรียบเทียบกับ 499 ล้านบาทต่อปีในกรณีโรงพยาบาลทั่วไป และ 65 ล้านบาทต่อปีในกรณีโรงพยาบาลชุมชม) โดยนัยนี้ความด้อยประสิทธิภาพ 1% ของโรงพยาบาลศูนย์--ย่อมจะมีมูลค่าสูงตามไปด้วย ในมุมมองของผู้บริหารสถานพยาบาลและเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ เป็นธรรมดาที่จะต้องให้น้ำหนักความสำคัญของการเร่งรัดประสิทธิภาพในส่วนของโรงพยาบาลระดับศูนย์ นอกจากนี้อาจจะเป็นไปได้ที่มีปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆ (ตัวอย่างเช่น ทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาลศูนย์ในบริวณใจกลางเมือง และความเชื่อถือของประชาชนที่มีความมั่นใจต่อโรงพยาบาลขนาดใหญ่และมีบริการที่ครบถ้วน ทำให้รพ.ศูนย์สามารถประกอบกิจการ ณ จุดที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่เกือบตลอดเวลา) การที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า ประสิทธิภาพการบริหารในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนไม่มีความสำคัญ--ในทางตรงข้ามต้องการสนับสนุนให้ผู้บริหารสถานพยาบาลเร่งรัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร โรงพยาบาลของรัฐ อนึ่งการที่ผลลัพธ์ประสิทธิภาพของโรงพยาบาลชุมชนต่ำกว่านั้น อาจจะเป็นเพราะสภาวะแวดล้อมของโรงพยาบาลชุมชนนั้นแตกต่างไปจากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป กล่าวคือ รพ.ชุมชนส่วนหนึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือสภาพกันดาร จำนวนประชากรไม่หนาแน่น --แต่เมื่อคำนึงถึงความจำเป็นของการบริการประชาชน--ยังมีความจำเป็นต้องเปิดโรงพยาบาลสำหรับคอยบริการประชาชนเมื่อเกิดเจ็บป่วย อนึ่งการเจ็บป่วยของประชาชนนั้นมีลักษณะผันผวน ไม่แน่นอน แตกต่างกันวันต่อวันหรือฤดูกาลที่แตกต่างกัน ในการบริหารโรงพยาบาลนั้นจำเป็นต้องเตรียมการ (ด้านอุปทาน) พร้อมที่จะรับมือกับความต้องการ(อุปสงค์) ในลักษณะ Contingent demand ผู้วิจัยตระหนักว่า การวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้ในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นต้นหรือขั้นนำร่อง และมีโอกาสที่จะปรับปรุงแบบจำลองให้ครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณและได้น้อมรับคำแนะนำจากคณะกรรมการกำกับการวิจัย (ศาสตราจารย์ ดร. อัมมาร สยามวาลาเป็นประธาน) จากการร่วมประชุมหลายครั้ง และได้ให้คำแนะนำต่อคณะวิจัยค้นคว้าข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติม โดยการเยี่ยมชมกิจการของสถานพยาบาลบางแห่ง และการจัดประชุมในภูมิภาค (3 ครั้ง) เพื่อระดมข้อคิดเห็นจากบุคากรหลายฝ่ายของสถานพยาบาล กล่าวคือ ผู้บริหารโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านการเงินการคลังและงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้รวบรวมข้อสังเกตต่างๆ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ หรือชี้แนะการเพิ่มตัวแปรที่จะนำไปใช้ในแบบจำลอง จากผลการศึกษาเบื้องต้นนี้ นำไปสู่ข้อเสนอแนะและแนวทางที่จะปรับปรุงงานวิจัย เพื่อวัดประสิทธิภาพของการบริหารงบประมาณของสถานพยาบาล (และเป็นส่วนหนึ่งของระบบติดตามประเมินผล) โดยที่สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพและคณะ) ได้ให้ความสนใจนำแนวทางการวิเคราะห์และแบบจำลองนี้ไปศึกษาเพิ่มเติมพร้อมกับสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลรอบใหม่ (ปี 2550) เพื่อจะทดสอบแบบจำลองให้มีความแม่นยำและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่ายินดี และเป็นที่คาดหวังว่าแบบจำลองและการวิเคราะห์วัดประสิทธิภาพที่จะพัฒนาขึ้นในรอบใหม่ จะมีความแม่นตรงเพิ่มขึ้น สามารนำไปติดตามประเมินผล หรือชี้แนะการปรับปรุงเป็นอย่างดี หรือสามารถบ่งชี้ตัวอย่างสถานพยาบาลชั้นแนวหน้าซึ่งมีการบริหารจัดการที่ดี ต้นทุนต่ำ และอัตราการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เพื่อให้รางวัลหรือเป็นแหล่งการศึกษาเรียนรู้ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานเพื่อการวิจัยพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1393585 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยen_US
dc.relation.ispartofseriesโครงการวิจัยระบบการเงินการคลังสุขภาพ : การประเมินผลกระทบของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อการคลังของสถานพยาบาลen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลen_US
dc.subjectสถานบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectโรงพยาบาล--ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพและต้นทุนของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThis research report is part of the research program entitled “financing study to support the public health security in Thailand” with the primary focus on public hospitals under supervision of the Ministry of Public Health. The objectives of this research are: a) to deepen understanding about cost efficiency of public hospitals in Thailand and to search for those hospitals that are operating at cost frontier, b) to lend support to the database development that would adequately cover the financial aspect of hospital management; c) to apply econometric tools to measure cost and technical efficiency of public hospitals and to perform comparative analyses of efficiency across public hospitals. This research compiled data and information from public hospitals that are broadly grouped into 3 types, namely, regional-, provincial- and community hospitals and adopts economic theories and models to estimate cost functions, unit cost, economies-of scale, and capacity utilization. With respect to relative efficiency of public hospitals, the present study employs Data Envelopment Analysis (DEA) as tool to measure technical efficiency scores of each hospitals; the model has some desirable features in that it is nonparametric approach and does not requires rather strict assumption regarding distributive functions of the parameter. Our DEA method follows the input-orientation (cost minimization) and two alternative assumptions are adopted for sake of comparison, VRS (Variable returns to scale and CRS (constant returns to scale) The case studies under the coverage of this research include 710 hospital units under supervision of the Ministry of Public Health that are classified under 3 groups, namely, regional hospitals (23 units), provincial hospitals (58 units), and community hospitals (62 units). Three sources of information are pooled into our database, namely, a) the financial data based of the yearly accrual accounting report of individual hospitals with details of spendings by categories such as personnel expenses, drug and medication cost, utilities and others—all figures refer to fiscal year of 2006; b) the provision of health cares by individual hospitals that are broadly grouped into 2 categories, viz., in-patient day and out-patient cases and the relative weight of DRG (diseases related grouping to reflect degree of severity of illness; c)the basic information of public hospitals that are inclusive of the number of bed, numbers of medical staffs and support staffs, where the hospitals are located, and others. Findings: The average efficiency scores in case of regional hospitals ranged from 94-97%, in comparison to the provincial hospitals whose averages ranged from 86-89% and the community hospitals whose average values ranged from 75-81%. These estimates imply that there are room for further improvement and , if so, -would reduce hospital costs by 3-7% in the case of regional hospitals, 11-14% in the provincial hospitals, and 19-25% for community hospitals. Another topic of study is to investigate whether the public hospitals are operating under constant-cost, or decreasing-cost, or increasing-cost situation. Based on economic theory, the decreasing cost situation implies there is a possibility to reduce the unit cost by expanding the scale of operation, and this suggests that the particular hospitals are that those hospitals may have operated beyond the full capacity. The research team performed regression analysis of cost function by different types of public hospitals-the results indicate that: a) the regional hospitals tended to operate at constant-cost that implies a full capacity utilization; b) in the cases of provincial- and community-hospitals, our regression estimates indicate that they were operating at decreasing cost and that implies a less-than full capacity situation. Discussion: The results from the DEA efficiency and the regression estimate of cost function reinforce each other and confirm to our prior expectation that the regional hospitals were almost always operated at full capacity and their efficiency score ranked highly. Remind that the efficiency score reflects the excessive input, for instance, the cost efficiency score of 90% implies there is a scope for cost reduction of approximately 10%. The total cost of regional hospitals were, on average, 1,330 million baht, in comparison to 499 million baht and 65 million baht for provincial- and community-hospitals respectively. Taken into account the magnitude of the cost of production, the scope for cost reduction in the case of regional hospitals is high and there might have motivated hospital managers to either reduce the excess inputs or to increase the scale of production whenever the utilization rate fell below the standard norms—in addition, there might be other qualitative factors such as location at the city-centered and the completeness of hospital care services provided by regional hospitals that raised confidence of patients, compared with the provincial-and community-hospitals. These do not mean to belittle the management of the provincial-and community hospitals, but they might have operated in different situations from the regional hospitals. To our understanding, some of community hospitals are located far from the town-centered, in island, in the rural and the remoted area with sparse density population-these situations made it difficult for those hospitals to operate at full capacity, And taken into consideration that demand for health cares are subjected to daily and seasonal fluctuations in illness—despite of these limitation and the nature of contingent demand, those community hospital are still necessary from the public management perspective, and accordingly, they tended to operate at below full capacity and, thus, higher unit cost and they fared lower in terms of efficiency scores. Similarly to other researches, there are limitations to the present study which is considered to be at a “pilot” stage, we are of opinion that there are scope for much further improvement in our model and database. We would like to express our gratitude to the Research Steering Committee (chaired by Professor Ammar Siamwalla) and the financial support of the Health Insurance System Research Office for valuable comments and advices over the past year that have led to a marked improvement in our model. Following their advices the research team had conducted the hospital visit and held 3 focus group meetings in the north, central and southern provinces from which the medical doctors, the financial analysts and support staffs of hospitals were invited to comment and to suggest ideas for improvement in the next stages.en_US
dc.identifier.callnoWY157 ด554ก 2551en_US
dc.identifier.contactno50-010-16en_US
dc.subject.keywordประสิทธิภาพen_US
dc.subject.keywordต้นทุนen_US
dc.subject.keywordสถานพยาบาลen_US
.custom.citationดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. "การศึกษาประสิทธิภาพและต้นทุนของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2243">http://hdl.handle.net/11228/2243</a>.
.custom.total_download423
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs1435.pdf
Size: 1.436Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record