Show simple item record

A study of managing the mechanism of providing the information of health insurance system that is suitable for consumers

dc.contributor.authorปิยะฉัตร ชื่นตระกูลen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-01-23T04:14:06Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:51:04Z
dc.date.available2009-01-23T04:14:06Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:51:04Z
dc.date.issued2551-09en_US
dc.identifier.otherhs1436en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2244en_US
dc.description.abstractผลการศึกษาเรื่องการจัดกลไกการให้ข้อมูลของระบบหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกและกระบวนการให้ข้อมูลขององค์กรในระบบหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของกลไกและกระบวนการการให้ข้อมูลในระบบหลักประกันสุขภาพและแนวทางการจัดการการให้ข้อมูลในระบบหลักประกันสุขภาพที่เหมาสม ระเบียบวิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณใช้การสำรวจขนาดตัวอย่าง 3,015 ราย พื้นที่การศึกษาคือ กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล 4 ภาครวม11 จังหวัด การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกจำนวน 59 คน รวมถึงการจัดเวทีสาธารณะและกรณีศึกษา 5 กรณี ผลการศึกษาโดยสรุปมีดังนี้ กลไกการให้ข้อมูลของระบบหลักประกันสุขภาพพบว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบประกันสังคม มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบชัดเจน แต่ระบบสวัสดิการข้าราชการเป็นงานฝากให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่มีกลไกโครงสร้างการดูแลเชิงระบบที่ชัดเจน กระบวนการการให้ข้อมูลก่อนการรักษาพยาบาล (ต้นน้ำ) เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามสิทธิหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยเฉพาะสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเพื่อไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในมีการรับรู้มากกว่า 2 ระบบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการการให้ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนระหว่างการรักษาพยาบาล (กลางน้ำ) ของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการให้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้รับบริการโดยเฉพาะกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล รวมถึงการให้ข้อมูลเมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาล (ปลายน้ำ) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังเห็นด้วยในระดับมากในประเด็นของการให้ข้อมูลที่ชัดเจนโดยเฉพาะกรณีส่งต่อไปรับการรักษาต่อที่อื่น ประสิทธิภาพของกลไกและกระบวนการการบริหารจัดการการให้ข้อมูลในระบบหลักประกันสุขภาพพบว่า 2 ระบบแรกมีมากกว่า ส่วนระบบสวัสดิการข้าราชการฯ มีประสิทธิภาพต่ำ ขาดกลไกการบริหารจัดการเชิงระบบ ในด้านประสิทธิผล ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แต่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจเพียงระดับหนึ่งและเห็นว่าจำเป็นต้องพัฒนาทั้ง 3 ระบบอย่างต่อเนื่องและสร้างความยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะของการศึกษา ในระดับนโยบายควรพัฒนาทั้ง 3 ระบบให้เกิดความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ในรูปของสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานร่วมกันของ 3 ระบบ กรณีเกินสิทธิฯ ให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย รวมทั้งควรสร้างการมีส่วนร่วมของการให้ข้อมูลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควรพัฒนาการเสริมพลังอำนาจของกระบวนการการให้ข้อมูล (Empowerment Information Process: EIP ) การให้ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการให้ข้อมูล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ยังควรกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการการให้ข้อมูลที่ประกอบด้วย การเฝ้าระวังการติดตาม การรายงานผลและการเรียนรู้จาก best practice ควรมีองค์กรที่รับเรื่องร้องเรียนที่เป็นหน่วยงานอิสระ ควรสร้างวัฒนธรรมการรายงานผลข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบ ควรกำหนดการให้ข้อมูลระบบประกันสุขภาพเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของการประเมินคุณภาพขององค์กร (HA) และควรมีการวิเคราะห์ลักษณะ/รูปแบบ/ช่องทาง/เนื้อหาสาระของข้อมูลของระบบหลักประกันสุขภาพต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1669650 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectประกันสุขภาพen_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectHealth Service Systemsen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดกลไกการให้ข้อมูลของระบบหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคen_US
dc.title.alternativeA study of managing the mechanism of providing the information of health insurance system that is suitable for consumersen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThis report presents a study of managing the mechanism of providing the information of health insurance system that is suitable for consumers. The purpose of the study is about the organization’s mechanism and process in providing information regarding the health insurance system by considering efficiency, effectiveness of its mechanisms and management guidelines in providing the suitable information of health insurance system. The methods of the study includes both the quantitative and qualitative researches. The quantitative researches are conducted for 3,015 cases; the area of research is Bangkok and 11 provinces in 4 peripheral regions. While the qualitative researches are conducted the exclusively interviewing 59 persons. It also includes the public hearing and doing research of 5 case studies. The results of study are as follows. Regarding the mechanism of providing information of health insurance system, it is found out that there obviously exists the agencies who are responsible for universal coverage health insurance and social insurance system. But the welfare system for civil servants, which is additionally attached to Comptroller General’s Department, Ministry of Finance who will be in charge, does not have a clear structural mechanism to handle the system. The process of providing information before the medical treatment (upstream) about the rights that one can receive according to rights of all three health insurance system is evaluated as fair, especially the rights of civil servants/state enterprise staff about their registration in order not to pay the medical bills in advance. For both in-patients and out patients, they are aware of more than two health insurance systems. From the opinions about the process of providing information of health insurance system in each stage of undergoing medical treatment (midstream) of health insurance system, It’s also found out that the simple groups agree at a high rate, especially the cases of receiving the medical treatment at medical centers, about the data of service users’ illness. And form information providing when finishing the medical treatment (downstream), regarding giving the clear information the sample groups also agree at a high rare, especially the case of being transferred to receive treatment at other places. Regarding the efficiency of mechanism and process of management of providing information of health insurance system, it is found out that the first two health insurance systems are not more efficient than the civil servants’ welfare system, is less efficient and lacks mechanism for systematic management. In terms of the effectiveness, the service users are quite satisfied, However, from the qualitative study it is found out that the study groups are satisfied to some extent and think that it needs to improve three systems continuously for their sustainment. It is advised in the study that all three systems are to be improved to guarantee fairness and equality for the basic common rights of the three systems. In case of over the eligible rights, the service users should bear the expenses as well. It should be created the participation in sharing information earnestly and continuously. It should be developed the empowerment information process (EIP) to enable everyone to realize the importance of providing information and regard that it is the beginning of building the good relations between the parties concerned. It should be regulated the structure of management of providing information, that will comprise watching, following up, monitoring and learning from the best practice. There should be the organization, that will receive and deal with complaints, and be independent. It should be built the culture of reporting the mistakes occurring in the system. It should be fixed that providing information of health insurance system will be the index of evaluating the quality of organization (HA). It should be analysed about the nature / formats / channels / contents of information of health insurance system.en_US
dc.identifier.callnoW225.JT3 ร245ก 2551en_US
dc.identifier.contactno50-010-17en_US
dc.subject.keywordระบบหลักประกันสุขภาพen_US
dc.subject.keywordผู้บริโภคen_US
dc.subject.keywordการให้ข้อมูลen_US
.custom.citationปิยะฉัตร ชื่นตระกูล. "การจัดกลไกการให้ข้อมูลของระบบหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภค." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2244">http://hdl.handle.net/11228/2244</a>.
.custom.total_download72
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1436.pdf
Size: 1.807Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record