• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การมียาสามัญจำหน่ายในประเทศกับค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล: กรณีศึกษายาที่ขึ้นทะเบียนภายใต้หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส; สุกัญญา เจียระพงษ์; อัญชลี จิตรักนที; สุวิมล ฉกาจนโรดม;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการมียาสามัญ(generic products) จำหน่วยในประเทศไทยต่อค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล เฉพาะกรณียาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาภายใต้หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ พ.ศ.2533 จำนวน 10 รายการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ 3 ตัว คือ ฟลูโคนาโซล โคลซาปีน และออนแดนซีตรอน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ได้จัดส่งแบบสอบถามไปยังโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 292 แห่ง เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและมูลค่าการจัดซื้อยาต้นแบบ (generic products(original products) และยาสามัญได้รับแบบสอบถามกลับจากโรงพยาบาล 166 แห่ง (ร้อยละ 56.9) พบว่า ในช่วงเวลา 2 ปีแรกที่มียาสามัญของยาเหล่านี้จำหน่ายในประเทศ (พ.ศ.2542 ถึง พ.ศ.2543) ราคาต่อหน่วยของยาสามัญที่โรงพยาบาลจัดซื้อต่ำกว่าราคาต่อหน่วยของยาต้นแบบรายการเดียวกันดัชนีความแตกต่างของราคายาต้นแบบมีค่าตั้งแต่ 1.6 ถึง 9.9 และ 2.1 ถึง 10.9 ในปี พ.ศ.2542 และ พ.ศ.2543 ตามลำดับ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาสามัญมีราคาต่ำกว่ายาต้นแบบประกอบกับโรงพยาบาลได้นำยาสามัญไปใช้แทนยาต้นแบบเป็นบางส่วน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลลดลงรวม 216.6 ล้านบาท(71.5 ล้านบาทในปี พ.ศ.2542 และ 145.1 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2543) หากโรงพยาบาลใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบทั้งหมด คาดว่าค่าใช้จ่ายด้านยาที่ประหยัดได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะมีมูลค่ารวม 251.9 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการจัดซื้อยาบางชนิดที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้มากขึ้น การที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล และเพิ่มการเข้าถึงยาของผู้ป่วยให้มากกว่าที่เป็นอยู่นั้นจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการแข่งขันด้านราคาระหว่างผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบและยาสามัญ รวมทั้งกระตุ้นให้โรงพยาบาลใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบมากขึ้น
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2002_DMJ20_การมีย ...
ขนาด: 618.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 4
ปีงบประมาณนี้: 131
ปีพุทธศักราชนี้: 79
รวมทั้งหมด: 1,015
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV