แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

พระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างพลังในการดำรงชีวิตและทัศนคติที่เหมาะสมของคนพิการกรณีคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

dc.contributor.authorปาริชาด สุวรรณบุบผาen_US
dc.contributor.authorจตุพร ไชยทองศรีen_US
dc.contributor.authorตรีนุช พลางกูรen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานครen_US
dc.date.accessioned2009-02-24T08:20:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:21Z
dc.date.available2009-02-24T08:20:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:21Z
dc.date.issued2549-07en_US
dc.identifier.otherhs1444en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2273en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำสอน วิธีคิด และท่าทีแบบพุทธที่สนับสนุนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และการพัฒนาตนเองของคนพิการ เพื่อใช้พลังทางศาสนาในการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อตนเอง รวมทั้งศึกษาทัศนคติและความต้องการของคนพิการที่ประสงค์ให้ชุมชนศาสนาตอบสนองชุมชนของตน วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาทั้งภาคเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้พิการ และผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน ได้ข้อสรุปดังนี้คือ คำสอนในพระพุทธศาสนาในระดับกฎเกณฑ์สูงสุด (Eternal Principle) มิได้มีข้อระบุว่าความพิการเป็นข้อจำกัด มิให้คนพิการสามารถพัฒนาทางจิตภาวนา เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดคือ นิพพานได้ ส่วนคำสอน และพระวินัยบางประการที่ไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม การมีพื้นที่ และการมีสิทธิในมิติทางศาสนา เช่น การบวชนั้น เป็นคำสอนที่อาจเกี่ยวเนื่องกับบริบททางด้านสังคม และวัฒนธรรม เป็นคำสอนในระดับ Cultural Expression ผู้พิการและสังคมควรรู้เท่าทันคำสอนทั้งสองระดับนี้ นอกจากนั้น ถ้าผู้พิการและสังคมเข้าใจคำสอนเรื่องกรรมและปฏิจจสมุปบาทอย่างบูรณาการแล้ว ก็จะเป็นเครื่องสนับสนุน ศักดิ์ศรีความมั่นคงแห่งการเป็นมนุษย์ของคนพิการ และเอื้อต่อการพัฒนาตนในระดับสูงยิ่งขึ้นได้ ผลการสัมภาษณ์ ผู้พิการส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง และสังคมยังมีท่าทีไม่เหมาะสมในการให้โอกาสต่อคนพิการ ชุมชนสงฆ์ยังไม่สามารถตอบสนองให้คนพิการได้พึ่งพิงในฐานะที่เป็นบ่อเกิดของธรรมบำบัด ธรรมชาติบำบัด และชุมชนบำบัดได้เท่าที่ควรจะเป็น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ได้แก่ บุคลากรและทรัพยากรของชุมชนศาสนาที่มีอยู่ควร “ทำความแตกต่าง และเปลี่ยนแปลง” ในการร่วมสร้างทัศนคติในทางบวก แนวคิดและความสามารถที่เหมาะสม ให้ผู้พิการและสังคมได้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อกัน นอกจากนั้น อาจสมควรมีการพิจารณาประเด็นการบวชร่วมกันเพื่อหาทางออก โดยไม่ขัดกับพระธรรมวินัย ข้อเสนออื่น เช่น การจัดเวที “สานเสวนา” ระหว่างผู้พิการและสังคมเครือข่าย โดยมีชุมชนศาสนาเป็นผู้ร่วม ตลอดจนการผลิตเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเข้าถึงธรรมะของผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการได้ใช้มิติทางศาสนาในการสร้างพลังให้เป็นคนที่สมบูรณ์ และมีการดำรงชีวิตที่มีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนทางการแพทย์แห่งชาติen_US
dc.format.extent1460294 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.relation.ispartofseriesศาสนากับคนพิการในประเทศไทย วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนา--ความเชื่อen_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectHealth Systemsen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleพระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างพลังในการดำรงชีวิตและทัศนคติที่เหมาะสมของคนพิการกรณีคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลen_US
dc.title.alternativeBuddhist empowerment for people with disabilities: Case studies in Bangkok and neighboring areasen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe study aims at analyzing Buddhist teachings, way of thinking and attitudes to supporting human dignity and self development in the disabled. The research also focuses on the disabled’s attitudes and expectations towards religious communities. The study methodology included documentary research and field work by participating, non participating observations and in depth interviews of 20 disabled persons and others living in Bangkok and suburbs. The results of this study are as follows. The “Etemal Principle” of Buddhist teaching never considers disability as a limitation for spiritual development in order to attain the highest goal, nirvana. However, some teaching and some monastic rules exclude religious participation, space and rights to the disabled e.g. ordination may be related to social and culture context. These problematic context may be the teachings in the level of cultural expression’. The disabled and society should be aware of there two levels of teachings. The disabled and society should also understand Buddhist teachings, such as the law of Kamma and Paticcisamuppade, holistically in order that a may empower human dignity and security of the disable and may support the both disable and society. It may also be good to reconsider the issues of ordinary in order to find a solution without offering monastic rules. Furthermore, dialogue between the disabled society and network should be held with the cooperation of the religious community. New technology for learning Buddhist teaching should also be produced it order to empower disabled to lead a perfect, happy and fruitful life. These factors may lead to higher level of self development. The result of the in-dept interviews indicated that the disabled negative perspectives towards themselves. Society does not offer good opportunity for them. The religious community (Sangha) is not yet able respond to the disabled as the source of Dhamman therapy, natural therapy and community therapy. The suggestions are: religious personnel and human resources in the religious community should change and develop positive attitudes, ways of thinking and the proper ability to empower.en_US
dc.identifier.callnoBQ158 ป554พ 2549en_US
dc.identifier.contactno48ข048en_US
dc.subject.keywordพระพุทธศาสนาen_US
dc.subject.keywordการเสริมสร้างพลังen_US
dc.subject.keywordการดำรงชีวิตen_US
.custom.citationปาริชาด สุวรรณบุบผา, จตุพร ไชยทองศรี and ตรีนุช พลางกูร. "พระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างพลังในการดำรงชีวิตและทัศนคติที่เหมาะสมของคนพิการกรณีคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2273">http://hdl.handle.net/11228/2273</a>.
.custom.total_download87
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1444.pdf
ขนาด: 1.508Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย