Show simple item record

โครงการศึกษาสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบลกรณีศึกษา สถานีอนามัยวังหวายและองค์การบริหารส่วนตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

dc.contributor.authorวรภพ วงค์รอดen_US
dc.coverage.spatialตากen_US
dc.date.accessioned2009-05-13T03:17:44Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:14:33Z
dc.date.available2009-05-13T03:17:44Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:14:33Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1500en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2454en_US
dc.description.abstractการศึกษาสรุปบทเรียน ติดตามผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ กระบวนการการจัดตั้งกลไก และการดำเนินงานถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับหลักการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำคัญที่มีการกำหนดไว้ รวมทั้งติดตามผลผลิต ผลที่ได้และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ เพื่อวิเคราะห์และสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการถ่ายโอนโดยเปรียบเทียบความคาดหวังกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลไก โครงสร้าง เงื่อนไข และองค์ประกอบการถ่ายโอนฯ พื้นที่ตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องที่ทำการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาอยู่ในการดูแล การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการที่หลากหลาย (Multi-instrumental Methods) ด้วยการผสมผสานการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative Study) เพื่อใช้เป็นกระบวนการในการตอบคำถามให้ครอบคลุมทุกประเด็นและถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้ คือ การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจงานด้านสาธารณสุขให้มาอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปตาม พรบ. กำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้กับ อบต. ปี 2542 บัญญัติขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งมีการกำหนดให้ท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนในการจัดการด้านสาธารณสุขของชุมชน ซึ่งก่อนที่จะมีการถ่ายโอนสถานีอนามัย ก่อนที่จะมีการถ่ายโอนภารกิจมาให้ อบต.ดูแลได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบถึงต้องการที่จะให้ทาง อบต.เป็นผู้ที่จะดูแลงานในส่วนของสถานีอนามัยหรือไม่ ซึ่งจากการออกแบบสำรวจความคิดเห็น ผลปรากฏว่าประชาชนในพื้นที่จากการสุ่มตัวอย่าง 150 ชุด ร้อยละ 82.66 อยากที่จะให้ทางสถานีอนามัยมาอยู่ในการดูแลของ อบต. จากการศึกษา พบว่า การทำงานร่วมกันระหว่าง อบต. และสถานีอนามัยมีแนวโน้มไปในทางที่ดี เพราะต่างฝ่ายก็ต่างมีการเรียนรู้งานซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนและนำเสนอผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในที่ประชุมสภาของ อบต. ทุกเดือน ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานในระดับพื้นที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นสามารถแก้ปัญหาการเสริมสร้างสุขภาพได้ตรงจุด สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จากการติดตามศึกษาและถอดบทเรียนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย ทางคณะผู้ศึกษาเห็นสมควรว่าควรมีการถ่ายโอนงานด้านสาธารณสุขมาให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นดูแล เพราะท้องถิ่นมีความพร้อมในหลายๆด้าน ทั้ง งบประมาณ โครงสร้าง และการวางแผนงานเพื่อรองรับการบริการประชาชนในพื้นที่ทางด้านสาธารณสุข แต่ต้องมีการประเมินผลและติดตามเป็นระยะและควรที่จะสร้างเกณฑ์ในการประเมินให้เป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาคุณภาพในการให้บริการประชาชน และเป็นการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของท้องถิ่นที่รับการถ่ายโอน สำหรับพื้นที่ อบต. วังหมัน ที่รับการถ่ายโอนสถานีอนามัยวังหวายนั้น พบว่า ผู้บริหารมีความตั้งใจจริงในการที่จะรับภารกิจ งานด้านสาธารณสุขไปดูแล มีการศึกษาข้อมูลและเตรียมการรองรับ ทั้งในส่วนของโครงสร้าง งบประมาณ และแผนการดำเนินงานที่จะดำเนินการในอนาคตจุดด้อยของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เห็นว่ามีความไม่ชัดเจนในช่วงแรก โดยเฉพาะการต่อเชื่อม การประสานงานระหว่างส่วนกลางลงมาในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความลังเลไม่กล้าที่จะถ่ายโอนมาอยู่กับท้องถิ่น ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้งในระดับกระทรวง และในหน่วยงานระดับพื้นที่ และในระดับบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุภารกิจงานของการกระจายอำนาจ คงจะใช้เวลาสักประมาณ 1 - 2 ปีข้างหน้าคงจะเข้าระบบมากขึ้น ทั้งนี้สังคมไทยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนระบบการทำงานโดยเฉพาะงานสาธารณสุข ที่ต้องดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจะให้ส่วนกลางดูแลคงไม่ทั่วถึง และไม่ทันสถานการณ์จำเป็นต้องกระจายให้กับหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติในการถ่ายโอน สอ.ไป อบต. ข้อเสนอแนะในการถ่ายโอนต่อส่วนกลาง 1. ทาง อบต.วังหมัน โดยนายก อบต. และปลัด อบต. ได้เสนอการให้กระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปรับปรุงเกณฑ์การพิจารณาความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะมีการรับโอนงานด้านสาธารณสุขมาดูแลว่าควรที่จะมีการเปิดกรอบเพื่อกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาให้กว้างกว่าเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ อปท.ได้เข้ามารับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข 2. ทาง อบต.วังหมัน โดยนายก อบต.และปลัด อบต. เสนอให้ทางกระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางในการดำเนินงานการให้บริการด้านสาธารณสุขของสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนมา อปท. เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานในการให้บริการประชาชนที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานเดิม 3. ทาง อบต.วังหมัน โดยปลัด อบต. เสนอให้ว่าให้ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดคุณสมบัติ และเกณฑ์การคัดเลือกบุคลากรที่มีความพร้อมสมัครใจที่จะรับการถ่ายโอน ด้านตำแหน่ง อายุราชการที่เหลือ นอกเหนือจากเกณฑ์กำหนดในปัจจุบัน 4. ทางสถานีอนามัย โดยเจ้าหน้าที่ สอ.เสนอว่า กระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยหน่วยงานนโยบายต้องกำหนดระยะเวลาในการถ่ายโอนให้มีความแน่นอนว่าภารกิจในการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาสู่ อปท.จะต้องแล้วเสร็จในอีกกี่ปีข้างหน้า เพื่อเป็นการวางเป้าหมายที่ชัดเจน หลังจากมีการถ่ายโอนในพื้นที่นำร่องแล้ว เช่น ปีแรกถ่ายโอนเพิ่ม30% ปีที่สอง 50% และปีที่สาม 20% 5. ทางสถานีอนามัย โดยเจ้าหน้าที่ สอ.เสนอให้ทางกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นควรที่มีการกระตุ้นให้ อปท. เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขให้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ เพื่อให้ภารกิจในการดำเนินการถ่ายโอนนั้นประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 6. ทาง อบต. และสถานีอนามัย ได้เสนอในการถ่ายโอนฯ ทางกระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้ทั้งบุคลากร ทางสถานีอนามัย และทาง อบต. ให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน ข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการถ่ายโอน ฯ ต่อหน่วยงานระดับจังหวัดและอำเภอ 1. ทาง สสจ. สสอ. และ อบต. เห็นร่วมกันว่าควรมีแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อติดตามประเมินผลการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ถ่ายโอนไปอยู่กับท้องถิ่นในข้อที่ควรปรับปรุงหรือต้องพัฒนา และทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ให้ความรู้กับบุคลากรของ สอ. และ อบต. 2. ทาง สสจ. สสอ. และอบต. เห็นร่วมกันว่าควรมีการกำหนดมาตรฐานการให้บริการด้านสาธารณสุขที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ร่วมกัน ไม่ควรยึดนโยบายที่มาจากส่วนกลางทั้งหมด แต่ยึดเป็นแนวทางในการที่จะไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ ๆ ไป ข้อเสนอแนะในการบริการสุขภาพในพื้นที่ของ อบต. และ สอ. 1. เจ้าหน้าที่ สอ. เสนอ ให้ อบต.ที่รับการถ่ายโอนสถานีอนามัย กำหนดยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ พร้อมทั้งมีตัวชี้วัดในการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับ สอ. และ อบต.ในพื้นที่ หรือ จังหวัดที่เตรียมการจะดำเนินการถ่ายโอนฯเห็นเชิงรูปธรรม 2. เจ้าหน้าที่ สอ. เสนอให้ อบต.ให้การสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ในส่วนที่มีความจำเป็นต่อการให้บริการประชาชนในพื้นที่ เช่น รถจัดส่งผู้ป่วย เครื่องมือด้านทันตกรรม รถจัดเก็บขยะ เตาเผาขยะ และจัดหาบุคลากรให้เต็มตามกรอบที่ตั้งไว้ เพื่อการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของชุมชนจะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 1. ผู้นำชุมชน และ อสม. ในพื้นที่เสนอว่า การดำเนินงานของ สอ.ควรเปิดโอกาสให้ประชาชน มีส่วนร่วมตั้งแต่การร่วมคิดวางแผนในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของชุมชนร่วมกับสถานีอนามัย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานทั้งในส่วนของ อบต. และการประเมินผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่ทำการโอนย้ายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ อบต. 2. ผู้นำชุมชน และ อสม. ในพื้นที่เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการตรวจสอบการดำเนินงานของ สอ.ในระดับตำบล ที่ประกอบด้วยคนที่มีความหลากหลาย เช่น อสม. ตัวแทนผู้สูงอายุ ตัวแทนเยาวชน ครู/อาจารย์ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พระภิกษุ ปลัด อบต. ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ไม่ควรเอาแต่ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนฝ่ายเดียว ควรเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ไม่ห็นด้วยเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบด้วยเพราะจะทำให้เห็นจุดที่ควรปรับปรุง เพื่อพัฒนางานในส่วนของการให้บริการให้เกิดความพอใจกับผู้มาใช้บริการมากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1312496 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectสาธารณสุข--นโยบายของรัฐen_US
dc.subjectHealth Decentralizeen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleโครงการศึกษาสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบลกรณีศึกษา สถานีอนามัยวังหวายและองค์การบริหารส่วนตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตากen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ว232ค วังหวาย 2551en_US
dc.identifier.contactno50ข055en_US
dc.subject.keywordการถ่ายโอนสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subject.keywordสถานีอนามัยวังหวายen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนตำบลวังหมันen_US
.custom.citationวรภพ วงค์รอด. "โครงการศึกษาสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตำบลกรณีศึกษา สถานีอนามัยวังหวายและองค์การบริหารส่วนตำบลวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2454">http://hdl.handle.net/11228/2454</a>.
.custom.total_download74
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1500.pdf
Size: 1.311Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record