dc.contributor.author | อนุสรณ์ ไชยพาน | en_US |
dc.contributor.author | เดช พุ่มคชา | en_US |
dc.coverage.spatial | สระแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-05-14T02:58:00Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:15:01Z | |
dc.date.available | 2009-05-14T02:58:00Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:15:01Z | |
dc.date.issued | 2551-08 | en_US |
dc.identifier.other | hs1506 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2471 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการศึกษา สรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : การถ่ายโอนสถานีอนามัยนาคันหัก ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นกรณีหนึ่งในโครงการศึกษาการถ่ายโอนสถานีอนามัย 22 แห่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ ใหญ่ ดังรายละเอียดของโครงการศึกษาฯ คณะผู้ศึกษาได้นำหลักการกระบวนการไปเป็นตัวกำกับในการลงพื้นที่มาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการเมื่อเดือนธันวาคม 2550 จนถึงกลางเดือนสิงหาคม 2551โดยใช้กระบวนการศึกษาทั้งแบบสอบถามเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ สรุปสาระสำคัญผลการศึกษาที่พบดังนี้ ผลการศึกษาที่พบจากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ที่สถานีอนามัยนาคันหักรับผิดชอบ ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลการถ่ายโอนสถานีอนามัยผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน แต่ในกระบวนการการดำเนินงานก่อนและหลังการถ่ายโอนนั้น ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและแสดงความเห็น ในด้านระบบการให้บริการอยู่ในระดับดีมาก ส่วนในด้านการมีส่วนร่วมการวางแผนสุขภาพของท้องถิ่นส่วนใหญ่เห็นว่าก่อนและหลังการถ่ายโอนยังอยู่ในระดับที่ยังไม่ดีมากนัก และผลที่เกิดขึ้นในการให้บริการดูแลสุขภาพของประชาชนเปรียบเทียบก่อนและหลังการถ่ายโอนในประเด็นต่างๆ พบว่าส่วนใหญ่หลังการถ่ายโอนอยู่ในระดับดีมาก ยกเว้นในประเด็นงานการมีส่วนร่วมการวางแผนด้านสุขภาพของท้องถิ่นยังอยู่ในระดับเกิดผลดีน้อย การถ่ายโอนครั้งนี้ได้ผ่านกระบวนการภายใต้หลักการ คณะกรรมการ และวิธีการตามนโยบายและมติร่วมของกระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ความรวดเร็วของการรับข้อมูลข่าวสาร ความเข้มข้นของการปรึกษาหารือ การประชุมมีความถี่ ความครบถ้วนต่างกัน นอกจากนี้ วัฒนธรรมของการทำงานแต่ละแห่งซึ่งเคยชินมา ตลอดจนทัศนคติและบุคลิกภาพของแต่ละหน่วยงาน แต่ละคน มีความต่างกัน (Working Culture And Individual Differences)ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของการรับรู้ กระบวนการและรายละเอียดในการบริหารจัดการต่างๆ ประชาชนและอสม. ที่คณะผู้ศึกษาได้พบปะพูดคุยทั้งที่พบระหว่างมาขอรับบริการ ร่วมประชุม พบว่าสถานีอนามัยได้รับความร่วมมือจากประชาชนดี ประชาชนเห็นว่า การมาขอรับบริการจากสถานีอนามัยภายในชุมชนสะดวกเพราะว่าใกล้ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเห็นความเต็มใจในการให้บริการของสถานีอนามัยอย่างไรก็ตาม การที่สถานีอนามัยสังกัดหน่วยงานใดนั้น อาจไม่สำคัญเท่ากับการมาใช้บริการ สะดวก รวดเร็ว ประหยัด มีบริการเพิ่มและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าหน้าที่ อนึ่งประชาชนยังไม่รับรู้และมีส่วนร่วมในหลักการ กระบวนการถ่ายโอนครั้งนี้อย่างเข้มข้นและทั่วถึง การกระจายข่าวสารเรื่องดังกล่าวในระดับชุมชนมีข้อจำกัด เช่นรู้กันในกลุ่มอสม.และผู้นำที่เกี่ยวข้องโดยตรงจากกระบวนการศึกษา พบปะ ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายบริหาร ปฏิบัติการ สมาชิกในที่ประชุม และการพูดคุย ได้ข้อสรุปว่า การถ่ายโอนเป็นเรื่องจำเป็นและถูกต้องที่จะตอบสนองประชาธิปไตยของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการมีส่วนร่วม หากแต่ส่วนกลางมีนโยบายที่ชัดเจน ไม่เร่งรัด และให้ความสำคัญต่อการสื่อสารอย่างรัดกุม (Communication Process) ทุกขั้นตอน สมควรที่จะใช้ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ (Formal - Informal Process) กระบวนการคิดด้านนโยบายและกระบวนการถ่ายโอนของประเทศในเรื่องนี้ จำเป็น เหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมโลกและสังคมประเทศปัจจุบัน ผ่านการทบทวน ศึกษา แบบแผนตัวอย่างมาเพียงพอที่จะริเริ่มต่อไป กรณีศึกษาครั้งนี้จึงสามารถเป็นบทเรียนให้การคิด ปฏิบัติการ การถ่ายโอนสำหรับงานสาธารณสุข หรืองานอื่นๆ ในทั้งระดับท้องถิ่น จังหวัด หรือประเทศ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1205635 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ชุมชน | en_US |
dc.subject | สาธารณสุข—นโยบายของรัฐ | en_US |
dc.subject | Health Decentralize | en_US |
dc.subject | Health Administration | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | โครงการศึกษา สรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา : การถ่ายโอนสถานีอนามัยนาคันหัก ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 อ231ค นาคันหัก 2551 | en_US |
dc.identifier.contactno | 50ข055-26 | en_US |
dc.subject.keyword | การถ่ายโอนสถานีอนามัย | en_US |
dc.subject.keyword | องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น | en_US |
dc.subject.keyword | สถานีอนามัยนาคันหัก | en_US |
.custom.citation | อนุสรณ์ ไชยพาน and เดช พุ่มคชา. "โครงการศึกษา สรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา : การถ่ายโอนสถานีอนามัยนาคันหัก ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2471">http://hdl.handle.net/11228/2471</a>. | |
.custom.total_download | 45 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |