แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

โครงการศึกษาและสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : สถานีอนามัยบางนมโค เทศบาลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

dc.contributor.authorศิริณา จิตต์จรัสen_US
dc.coverage.spatialพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.date.accessioned2009-05-14T04:14:05Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:15:28Z
dc.date.available2009-05-14T04:14:05Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:15:28Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1509en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2477en_US
dc.description.abstractการศึกษาและสรุปบทเรียนกรณีการทดลองการถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถานีอนามัยสู่เทศบาลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดตั้ง กลไก และการดำเนินงานถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับหลักการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญที่มีการกำหนดไว้ 2) เพื่อติดตามผลผลิต ผลที่ได้และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ 3) เพื่อวิเคราะห์และสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการถ่ายโอนโดยเปรียบเทียบความคาดหวังกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและ 4) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลไก โครงสร้าง เงื่อนไขและองค์ประกอบการถ่ายโอนฯ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งประกอบด้วย ท้องถิ่นจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย อสม. ผู้แทนภาคประชาชนและผู้ใช้บริการจากสถานีอนามัย ในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ในส่วนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนของสาธารณสุข ภาคประชาชนในชุมชน 3 หมู่บ้าน จำนวน 377 คน ช่วง 3 ระยะเวลากล่าวคือ ระยะก่อนการถ่ายโอน ระหว่างถ่ายโอนและหลังการถ่ายโอนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง เทคนิค AAR (After Action Review) และแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง ผลการวิจัยมีสาระสำคัญดังนี้การถ่ายโอนภารกิจด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ตามมติของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยหลัก คือ กฎหมายจำเป็นต้องไป ดัวยเหตุผลคือ 1) ความพร้อมของอบต.บางนมโค ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นด้านการบริหารจัดการเมื่อปี 2549 2) ถูกกำหนดให้เป็นอบต.นำร่องในการถ่ายโอนภารกิจและ 3) จากการประเมินชุมชน มีความพร้อมและผ่านมติเห็นชอบจากสภาอบต. ส่วนปัจจัยรองคือการสมัครใจไปเองของจ้าหน้าที่สถานีอนามัย กระบวนการดำเนินการถ่ายโอนฯ ก่อนถ่ายโอนคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ได้ร่วมกันศึกษาการถ่ายโอนตามภารกิจเพื่อสร้างความความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการถ่ายโอน หลังการถ่ายโอน เทศบาลตำบลบางนมโคได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนในเรื่องของสุขภาพของคนในชุมชนด้วย การจัดสรรงบประมาณในส่วนงานด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและให้การสนับสนุนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่และสิ่งอื่นๆ รวมทั้งปฏิบัติตามแผนงานโครงการที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาตำบล ในการจัดเวทีเพื่อทำการวิเคราะห์และสรุปบทเรียน(AAR)พบว่า ความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง บทบาทและมีส่วนร่วมในการถ่ายโอนสถานีอนามัยระดับจังหวัดมั่นใจว่าบางนมโคมีจุดแข็ง จุดอ่อนและสามารถดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศได้ ระดับอำเภอเชื่อว่าวิถีชีวิตของบุคลากรจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อสถานีอนามัยถ่ายโอนแล้วน่าจะมีโอกาสที่จะดูแลสุขภาพประชาชนดีกว่าเดิม เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย มีความมั่นใจว่าไปแล้วต้องดีขึ้น ผู้รับบริการจากสถานีอนามัย คาดหวังว่าในการบริการค้านต่างๆ ต้องดีขึ้นกว่าเดิม ผลการเปลี่ยนแปลงในการให้บริการดูแลสุขภาพก่อนและหลังการถ่ายโอนกระบวนการดำเนินงานในการถ่ายโอนส่วนใหญ่แล้วประชาชนให้ความสนใจและติดตามข่าวการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปอยู่ในความดูแลของเทศบาลและทราบผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยบางนมโค ระดับการมีส่วนร่วมจากกรณีการถ่ายโอนฯ ทั้งก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในทุกรายด้าน ผลที่เกิดขึ้นในการให้บริการดูแลสุขภาพของประชาชน เปรียบเทียบก่อนและหลังการถ่ายโอนฯ ในภาพรวมทุกประเด็นและรายด้านมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากที่มีการถ่ายโอนแล้วระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ ดีขึ้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในการถ่ายโอนสาธารณสุขอำเภอระดับนโยบายส่วนกลาง คือ 1) ผู้ที่มีอำนาจในระดับสูงควรมีการประชุม ปรึกษาหารือและกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการถ่ายโอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในส่วนของระยะเวลา ข้อกำหนดตามกฎหมาย มาตรการ สู่แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงและ 2) สาธารณสุขจังหวัดและท้องถิ่นจังหวัดควรมีการประชาสัมพันธ์ในระยะแรกให้กับผู้เกี่ยวข้องในการถ่ายโอนทุกภาคส่วนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย แนวทางการปฏิบัติอย่างถ้วนทั่ว พร้อมให้ข้อมูลคำปรึกษาด้านการบริหาร บุคลากรหรืองบประมาณ 3) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการการบริการสุขภาพในพื้นที่เทศบาลควรศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นปัญหา มีแผนยุทธศาสตร์รองรับในการสร้างบุคลากร การพัฒนาบุคลากร ส่งเสริม สนับสนุนด้านความรู้ พฤติกรรม ทัศนคติ เพื่อป้องกันการเกิดโรค การดูแลตนเอง มากกว่าการรักษา 4) ผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นในการให้บริการดูแลสุขภาพของประชาชน เปรียบเทียบก่อนและหลังการถ่ายโอนในภาพรวมทุกด้านพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแม้จะมีระดับไม่มากนักด้วยระยะเวลาของการศึกษาก่อนและหลังการถ่ายโอนเพียง 5 เดือนและ5) ข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมิใช่เพียงขั้นการรับรู้หรือการรับบริการเท่านั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการถ่ายโอนควรมีส่วนร่วมในระดับของการวางแผน การสนับสนุนเชิงปฏิบัติการให้มากขึ้นจึงจะเป็นการพึ่งตนเองในด้านสุขภาพของชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1608082 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectสาธารณสุ--นโยบายของรัฐen_US
dc.subjectHealth Decentralizeen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleโครงการศึกษาและสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : สถานีอนามัยบางนมโค เทศบาลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.title.alternativeA case study of an experiment to transfer a health center to local administration organization, from a health center to Bangnomkho Municipality, Sena district, Phranakhon Si Ayutthayaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe study and summary of a case study of an experiment to transfer a health center to local administration organization, from a health center to Bangnomkho Municipality, Sena district, Phranakhon Si Ayutthaya. The objectives of the study are: 1) to study the process of establishment, techniques, and the actual transfer compared with determined principles, criteria, and important conditions; 2) to follow up product, result, and impact occurring from the transfer; 3) to analyze and summarize a lesson which has been transferred by comparing the expectation and actual events, and 4) to create policy suggestion, techniques, structure, conditions, and components of the transfer. A purposive sampling was used and consisting of provincial locals, experts, public health officers of the province, public health officers of the district, health center officers, public health volunteers, people’s representatives, and health center’s service users from the levels of province, district, and locals, from local administration organization, public health, people from 3 villages with a total of 377 people. The study covers 3 phases: before the transfer, during the transfer, and after the transfer. Research tools were unstructured interview, After Reaction Review (AAR), and structured interview. The result reveals that the transfer which relates to quality of life promotion follows the Royal Act which determines plans and procedures of power decentralization to local administration organizations 1998. According to a resolution of the committee of power decentralization to local administration organizations, the main factor is law. The reasons are: 1) the readiness of Bangnomkho Sub-district Administration Organization, which received an outstanding award in management in 2006; 2) the Organization has been appointed as a pioneered Sub-District Administration Organization in transferring missions, and 3) from the evaluation, the community is ready and has received the approval from the committee of Sub-District Administration Organization Council. The second factor is the volunteering wills of health center officials. The process of transferring includes the meeting of the province’s sub-committee before the transfer. They helped each other to study the transfer according to the mission in order to build up confidence of the officers who received the transfer. After the transfer, the Bangnomkho Sub-District Municipality gave the importance to health of people in the community by allocating the budgets to be used to promote quality of life, to support the purchase of materials, buildings, and others as well as following the plan which was set in the sub-district development plan. Concerning the arrangement of a stage to analyze and summarize the lesson using AAR, the expectation from people concerned, their roles, and participation in the transfer of health center in the provincial level showed that Bangnomkho had a strength and also a weakness which could obviously be improved in a national level. At a district level, it is believed that people’s ways of life did not change. After the health center was transferred, there would be more chance to take care of people’s health. The health center officials were confident that it would be improved. The health center’s service users hoped that the services would be better. Regarding the change of services in health care before and after the transfer and its processes, people were interested in following the news of the transfer the health center to be under the supervision of the municipality. They were aware of the result of the transfer of Bangnomkho Health Center. As for the level of people’s participation in the transfer both before and after, it was found that they did not participate in any aspect. Concerning the effect of health services, comparing before and after the transfer, both overall and in each aspect were found better. After the transfer, the level of change was positively higher. The suggestions from the research in transferring public health in a district level based on the central policy are: 1) high ranking authorities should have a meeting, consultation, and discussion and work together to set up cooperative policy both from the Ministry of Public Health and Local Administration Organizations to make the transfer clearer in terms of length, clauses in law, measures which can lead to real situations; 2) the public health offices in the province and local area should initially promote the transfer to related people so that they can understand the policy and guidelines as well as providing information and consultation about administration, personnel, and budgets; 3) operational suggestions pertaining to health services in the municipality area, study of public health knowledge, lack of medical personnel, strategic plans to produce personnel, develop, promote, and support personnel in terms of knowledge, behavior, attitude in order to prevent diseases, self-caring rather than depending on medical treatment; 4) the analysis of the effect of health care services comparing before and after the transfer, the overall change indicated better condition, though it was not much because the study period was only 5 months, and 5) the participation of people in the transfer should not be only for awareness or receiving services, they should take part in the process of planning, providing more operational support so as to create more self-dependence in community health careen_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ศ459ค บางนมโค 2551en_US
dc.identifier.contactno50ข055en_US
dc.subject.keywordการถ่ายโอนสถานีอนามัยen_US
dc.subject.keywordองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subject.keywordสถานีอนามัยบางนมโคen_US
dc.subject.keywordเทศบาลบางนมโคen_US
.custom.citationศิริณา จิตต์จรัส. "โครงการศึกษาและสรุปบทเรียนและติดตามผลการพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : สถานีอนามัยบางนมโค เทศบาลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2477">http://hdl.handle.net/11228/2477</a>.
.custom.total_download57
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1509.pdf
ขนาด: 1.892Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย