การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบสุขภาพ การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
dc.contributor.author | ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | อุบลวรรณ ขอพึ่ง | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-05-15T03:21:25Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:18:04Z | |
dc.date.available | 2009-05-15T03:21:25Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:18:04Z | |
dc.date.issued | 2551-12 | en_US |
dc.identifier.other | hs1510 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2481 | en_US |
dc.description.abstract | แม้ว่าคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550-2554 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการบริหารในการกำหนดทิศทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ซึ่งครอบคลุมทั้งการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก โดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานและองค์กรภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และชุมชน ได้จัดให้มีกระบวนการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง และมีกระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนและได้ร่วมกันผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ มาโดยตลอดก็ตาม แต่จากการประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่า หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมิได้มีการนำแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาหรือเป็นแนวทางในการกำกับ ติดตาม และผลักดันนโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกของประเทศมากเท่าที่ควร จากการทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารในหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ พบว่ายังมีปัญหาขาดความเป็นเอกภาพของการผลักดันการดำเนินงาน และความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ที่แตกต่างกันออกไป โดยมีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ชาติพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานที่เป็นตัวแทนหน่วยงาน ยังขาดการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมจากหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง 2. ยุทธศาสตร์ชาติฯ เป็นการกำหนดทิศทาง และองค์ประกอบมาตรการสำคัญ ตลอดจนแนวทางการดำเนินการไว้อย่างกว้างๆ มีการระบุวงเงินงบประมาณไว้โดยการนำแผนงาน โครงการที่มีอยู่เดิมของแต่ละหน่วยงานมามัดรวมกันอย่างหลวมๆ โดยมิได้มีกลไกในการบูรณาการแผนอย่างแท้จริง และขาดการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงดำเนินการไปตามแผนงานโครงการตามลำดับความสำคัญของแต่ละหน่วยงาน 3. ยังขาดกลไกหน่วยประสาน ขับเคลื่อน ผลักดันยุทธศาสตร์ชาติที่ชัดเจน บทบาทของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ และหน่วยงานอื่นๆ ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ไม่ชัดเจน เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ชาติฯ เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มีการนำไปใช้ปฏิบัติได้และเกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นจริง เป็นแผนที่มีชีวิตและมีความยั่งยืน ควรมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตร จึงมีข้อเสนอการดำเนินการที่สำคัญ สรุปได้ 4 ประการ คือ 1. จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและสร้างสรรค์ 2. กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลักและพัฒนาหน่วยประสานยุทธศาสตร์ 3. จัดทำฐานข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ 4. สนับสนุนงบประมาณแบบบูรณาการและบริหารจัดการแบบการบริหารโครงการ (Project Management) จากผลของการประชุมปรึกษาหารือ และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รวบรวมความคิดเห็นจัดทำเป็นแผนบูรณาการเพื่อพัฒนาระบบการบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ ควรมีการจัดทำแผนงานบูรณาการตามมาตรการ/ แนวทางการพัฒนาระบบการบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกที่กำหนดไว้ 4 มาตรการ คือ การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบสุขภาพภาคประชาชน การส่งเสริมการใช้การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในระบบสุขภาพของประเทศ และการพัฒนามาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีแผนงานที่เป็นลักษณะการบูรณาการ รวมจำนวน 10 โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี รวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,390 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมแผนงานโครงการปกติที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการเอง ซึ่งควรได้มีการรวบรวมเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ ประเมินความครอบคลุมครบถ้วน ความเหมาะสมสอดคล้องของแผนงาน รวมทั้งลดทอนความซ้ำซ้อนลงด้วย โดยมีผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง ภายใต้แผนงานบูรณาการเพื่อพัฒนาระบบการบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ พอสรุปได้ดังนี้ 1. จัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ จำนวนใน 4 ภูมิภาค และคลินิกแพทย์แผนไทยต้นแบบทั่วประเทศ ปีละ 50 แห่ง รวม 150 แห่ง 2. วิจัยและจัดทำชุดบัญชีรายการการบริการการแพทย์แผนไทยฯ มาตรฐาน 90 รายการ 3. ถ่ายทอดรูปแบบการบริการต้นแบบสู่หน่วยบริการในส่วนภูมิภาค สำหรับระดับโรงพยาบาล 120 แห่ง ระดับคลินิกแพทย์แผนไทย 720 แห่ง 4. พัฒนาเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 4 ภาค เพื่อรวบรวมภูมิปัญญา การเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้ การให้บริการในชุมชน 120 โครงการ 5. พัฒนาเครือข่าย อสม. เพื่อสุขภาพพอเพียงและแพทย์พื้นบ้าน 4 ภาค เพื่อรวบรวมภูมิปัญญา การเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้ การให้บริการในชุมชน 120 โครงการ 6 พัฒนาเครือข่ายส่งเสริมการใช้บริการ และการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านแพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เพื่อให้มีคัดเลือก กลั่นกรองและจัดทำบัญชีรายการการบริการและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ดำเนินการเผยแพร่ กำหนดมาตรการส่งเสริม และดำเนินการ รวม 172 รายการ 7. พัฒนาเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เพื่อจัดให้มีระบบบริหารเรื่องร้องเรียน ระบบติดตามเฝ้าระวัง รวมทั้งจัดทำรายการความรู้เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านทางสื่อช่องทางต่างๆ รวม 172 เรื่อง 8. พัฒนาการสื่อสารสาธารณะเพื่อเผยแพร่งานสุขภาพแพทย์พื้นบ้าน โดยจัดทำรายการเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านผ่านช่องทางสื่อที่หลากหลาย รวม 172 เรื่อง 9. วิจัยข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยการบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เพื่อใช้กำหนดเป็นราคาอ้างอิงในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและการบริการการแพทย์แผนไทยฯ 10. พัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากร ฐานข้อมูลการใช้บริการ และระบบการบริหารจัดการข้อมูล รวมทั้งจัดตั้งหน่วยบริหารข้อมูลยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก จำนวน 1 ระบบ อนึ่งการจัดทำข้อเสนอร่างแผนงานบูรณาการจำนวน 10 โครงการดังกล่าว ยังควรได้มีการนำไปเสนอต่อคณะกรรมการบริหารแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ เพื่อให้หน่วยงาน และเครือข่ายภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างแผนฯ ดังกล่าวอย่างกว้างขวาง และลึกซึ้งมากที่สุด หากได้มีการดำเนินงานตามข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ทั้ง 4 ประการ ทั้งการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ โดยใช้เครือข่ายภาคีต่างๆ ทั้งที่มีอยู่เดิม และที่อาจพัฒนาเพิ่มขึ้นใหม่ การกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลักและหน่วยประสานยุทธศาสตร์ การพัฒนาฐานข้อมูลและระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ และการจัดทำแผนงบประมาณแบบบูรณาการและใช้รูปแบบการบริหารจัดการโครงการ โดยมีงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่บูรณาการ ก็เชื่อมั่นได้ว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการนำแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปขับเคลื่อนอย่างมีชีวิต ทำให้มีการพัฒนาการบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในสังคมไทย มีการเติบโต เรียนรู้ ก้าวไปข้างหน้าร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และส่งผลดีต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | สุขภาพทางเลือก | en_US |
dc.subject | การแพทย์ทางเลือก | en_US |
dc.subject | แพทย์แผนไทย | en_US |
dc.subject | แพย์แผนโบราณ | en_US |
dc.subject | ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย-แง่อนามัย | en_US |
dc.subject | Alternative Medicine | en_US |
dc.subject | Alternative Medicine | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบสุขภาพ การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก | en_US |
dc.title.alternative | Policy recommendation for strategic execution of national strategic plan for development of Folklore, Thai Traditional, and alternative medicine specified for health system development strategy | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | The National Strategic Plan for Development of Folklore, Thai Traditional, and Alternative Medicine B.E. 2550-2554 has been approved from the cabinet since June 12th, 2550. It was expected to be utilized as a strategy execution tool to boost up the development of folklore, Thai traditional and alternative medicine in Thailand. However the performance evaluation by means of document review and in-dept interview of executives of agencies concerned reveals failure of the national plan as there are scarcely implementation of the plan as strategic direction of program, plan, project development and resource allocation. The drafting committee of the National Strategic Plan has tried its best to develop the plan through active participatory process. However most of the executives of the agencies concerned still perceived the image of the plan as developed by only some representatives of the agencies and did not reflect full commitment, consensus and support from the organization. The National Plan has just provided very broad guideline strategies without specific additional budget allocation and integration tool for the program-plan-project among the agencies concerned. So most of the agencies concerned implement their projects and activities according to their own priorities and neglected the National Strategic Plan. The strategy execution unit is identified as a very crucial missing part of the National Strategic Plan. To revitalize the National Strategic Plan to be executed as an effective and efficient management tool for development of the folklore, traditional and alternative medicine in Thailand, there are major policy interventions and a draft of integrated project proposal to request for additional budget details as follow: 1 Promote active participation of agencies concerned through actions and execution of the National Strategic Plan 2 Established Strategic Execution Unit and define strategy champion or major stakeholder for each project-program-strategy 3 Develop essential strategic execution databases and decision support system 4 Support additional budget for integrated approach project and apply project management system The draft integrated project proposals for additional budget request for health care and health system development to promote folklore, traditional and alternative medicine in Thailand could be developed according to the 4 major strategic issues as 1. Development of databases and strategic execution support system 2. Strengthening of popular and community health system 3. Integration of folklore, traditional and alternative medicine to national health system 4. Development of service standard There are 10 proposed integrated projects, implement within 3 years period (2552-2554 B.E.), and the total budget requested is 1,390 million baht. The main products and expected results of the proposed integrated projects are summarized as follow: 1 Establish 4 model Thai traditional medicine hospitals in each region and 150 model Thai traditional medicine clinics nationwide. 2 Research and development of 90 standardized Thai traditional medicine services. 3 Promote technology transfer and logistic development and support of 120 Thai traditional hospitals and 720 Thai traditional clinics. 4 Develop and strengthening folklore healer network in 4 regions nationwide through knowledge sharing and promote usage of 120 folklore services in community. 5 Develop and strengthening network of village health volunteer to support sufficiency health and folklore medicine in 4 regions nationwide through knowledge sharing and promote usage of 120 folklore services in community. 6 Develop and strengthening network of health professionals, providers, healers, entrepreneurs, patients, consumers and academia to review and promote usage of 172 selected items of folklore, traditional, and alternative medicine services and products. 7 Develop and strengthening network of social marketing professionals, health professionals, providers, healers, entrepreneurs, patients, consumers and academia to review and promote usage of 172 selected items of folklore, traditional, and alternative medicine services and products through medias. 8 Research on unit cost of folklore, traditional, and alternative medicine services and use to determine reference price for reimbursement. 9 Develop essential strategic execution databases and decision support system for development of folklore, traditional, and alternative medicine services. This proposed integrated project package need to be further scrutinized by the National Strategic Plan steering committee and the agencies concerned to get fully commitment and support through active participation. The National Strategic Plan could become an effective and efficient management tool for development of folklore, traditional and alternative medicine in Thailand and benefit to the health and quality of life of Thai population as an ultimate goal. | en_US |
dc.identifier.callno | WB890 ข262ก 2551 | en_US |
dc.identifier.contactno | 51-045 | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | ภูมิปัญญาไท | en_US |
dc.subject.keyword | การแพทย์แผนไทย | en_US |
dc.subject.keyword | การแพทย์พื้นบ้าน | en_US |
.custom.citation | ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ and อุบลวรรณ ขอพึ่ง. "การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ.2550-2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบสุขภาพ การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2481">http://hdl.handle.net/11228/2481</a>. | |
.custom.total_download | 99 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย