การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทพ.ศ.2550-2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
dc.contributor.author | ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | อุบลวรรณ ขอพึ่ง | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-05-15T06:48:43Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:18:09Z | |
dc.date.available | 2009-05-15T06:48:43Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:18:09Z | |
dc.date.issued | 2551-12-18 | en_US |
dc.identifier.other | hs1510 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2483 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการบริหารในการกำหนดทิศทางการดำเนินการ เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ซึ่งครอบคลุมทั้งการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ทั้งนี้โดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานและองค์กรภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และชุมชน ได้จัดให้มีกระบวนการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง และมีกระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน และร่วมกันผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ มาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตามจากการประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่า มีการนำแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนา หรือเป็นแนวทางในการกำกับ ติดตาม และผลักดันนโยบายการพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกของประเทศโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จากการทบทวนเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารในหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการขับเคลื่อนผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ พบว่ายังมีปัญหาขาดความเป็นเอกภาพของการผลักดันการดำเนินงาน และความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ที่แตกต่างกันออกไป โดยมีข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญดังนี้ ระบบสุขภาพ ระบบบริการ และระบบกำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย ยังขาดการกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพ ระบบบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกที่พึงประสงค์อย่างชัดเจน ทำให้การวางแผนกำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ของประเทศขาดความชัดเจนตามไปด้วย การกำหนดแผนการผลิตของสถาบันการศึกษา จึงเป็นเพียงการตอบสนองต่อกระแสความนิยมทางด้านการแพทย์แผนไทยที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา และมีแนวโน้มว่าจะเป็นผลิตบุคลากรที่ล้นเกินความต้องการของตลาดแรงงาน สำหรับการจัดบริการของภาคเอกชน และการขาดอัตราตำแหน่งงานรองรับในภาครัฐ ทำให้ระบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกของประเทศ ประสบกับความล้มเหลว เกิดความอ่อนแอขึ้นได้ในระยะยาว เพื่อให้เกิดรูปธรรมของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ จึงได้เสนอร่างแผนงานโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาระบบกำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก โดยรวบรวมสังเคราะห์ขึ้นจากการประชุมปรึกษาหารือ และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นข้อเสนอร่างแผนงาน/ โครงการร่วมตามมาตรการ ทั้ง ๔ มาตรการที่เป็นลักษณะการบูรณาการ จำนวนรวม ๑๐ โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี จำนวนเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น ๕๒๓ ล้านบาท ทั้งนี้ยังมิได้รวมแผนงานโครงการปกติที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการเอง ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมอย่างเพียงพอและเหมาะสมเช่นกัน โดยมีผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ภายใต้แผนงานโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาระบบกำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ พอสรุปได้ดังนี้ 1 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้านการพัฒนากำลังคนฯ และคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพวิถีไท เพื่อเป็นกลไกกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนากำลังคน และจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากำลังคนการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในระดับชาติ 2 พัฒนารูปแบบการจัดบริการและการจ้างงานบุคลากรแพทย์แผนไทย ในลักษณะเป็นพนักงานท้องถิ่น โดยร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดตั้งหน่วยบริการแพทย์แผนไทย จำนวน ๑๕๐ แห่ง ขึ้นในพื้นที่ 3 พัฒนารูปแบบการจัดบริการ การจ้างงาน และการบริหารหน่วยบริการแพทย์แผนไทย ที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ในลักษณะหน่วยงานกึ่งราชการ กึ่งเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมทุนจัดตั้งหน่วยบริการแพทย์แผนไทยจำนวน ๓๐ แห่ง 4 วิจัยและพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานด้านแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์ทางเลือก โดยเครือข่ายสถาบันการศึกษาฯ และเครือข่ายหน่วยบริการ 5 พัฒนาและฝึกอบรมฟื้นฟู และแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่เครือข่ายหมอพื้นบ้าน เพื่อการเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการให้บริการในชุมชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายหมอพื้นบ้าน มีส่วนร่วมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 6 พัฒนาและฝึกอบรมเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ทางเลือก เพื่อให้มีผลงานการรวบรวมภูมิปัญญา การแลกเปลี่ยนพัฒนา ต่อยอดความรู้ การเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้ การให้บริการในชุมชน และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการให้สามารถเลี้ยงตนเองได้ในระยะยาว 7 ส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ให้มีบทบาทในการกำหนดและพัฒนาหลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ และความก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพ โดยปรับปรุงระบบฐานข้อมูลทะเบียนผู้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาต่างๆ ให้เป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้เพื่อการบริหารจัดการได้ 8 พัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลกำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ซึ่งเชื่อมโยงกับ ฐานข้อมูลทรัพยากร ฐานข้อมูลการใช้บริการ และระบบการบริหารจัดการข้อมูล รวมทั้งจัดตั้งหน่วยบริหารข้อมูลยุทธศาสตร์พัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก 9 จัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์กำลังคน เพื่อพัฒนาระบบบริหารยุทธศาสตร์ และหน่วยบริหารยุทธศาสตร์ด้านกำลังคนเพื่อการพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก การจัดทำข้อเสนอร่างแผนงานบูรณาการจำนวน ๑๐ โครงการดังกล่าว ควรได้มีการนำไปเสนอต่อคณะกรรมการบริหารแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ เพื่อให้หน่วยงาน และเครือข่ายภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างแผนฯ ดังกล่าวอย่างกว้างขวาง และลึกซึ้งมากที่สุด ดังนั้นหากได้มีการดำเนินการ ตามข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ในประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบกำลังคนอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ รอบด้าน ทั้งในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผนกำลังคน การผลิตและพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งรัดกำหนดปรับปรุงรูปแบบการจ้างงาน บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลัก พัฒนาหน่วยประสานยุทธศาสตร์ และจัดระบบความสัมพันธ์ในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ให้ชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนบทบาทของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและฝึกอบรม เพื่อมีส่วนร่วมทำหน้าที่เป็นแกนขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาระบบกำลังคน จัดทำฐานข้อมูลกำลังคนที่ถูกต้อง แม่นยำ ทันเวลา เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่สำคัญ คือ ฐานข้อมูลการใช้บริการ ฐานข้อมูลทรัพยากร และฐานข้อมูลภูมิปัญญา รวมทั้งมีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับ การพัฒนาระบบกำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ทั้งที่เป็นแผนงานโครงการปกติ และแผนงานโครงการร่วมแบบบูรณาการ และมีการบริหารจัดการแบบการบริหารโครงการ (Project Management) ก็สามารถทำให้เชื่อมั่นได้ว่าแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ด้านการพัฒนาระบบกำลังคน จะเป็นเครื่องมือการบริหารที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ทำให้มีการพัฒนากำลังคนและระบบการบริการการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในสังคมไทย มีการเติบโต เรียนรู้ พัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างยั่งยืน และส่งผลดีต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การพัฒนากำลังคน | en_US |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | นโยบายกำลังคน | en_US |
dc.subject | สุขภาพทางเลือก | en_US |
dc.subject | แพทย์ทางเลือก | en_US |
dc.subject | ภูมิปัญญาชาวบ้าน | en_US |
dc.subject | นโยบายกำลังคน | en_US |
dc.subject | การวางแผนกำลังคน | en_US |
dc.subject | Health Manpower | en_US |
dc.subject | Alternative Medicine | en_US |
dc.subject | Alternative Medicine | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทพ.ศ.2550-2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก | en_US |
dc.title.alternative | Policy recommendation for execution of national strategic plan for development of folklore, Thai traditional, and alternative medicine specified for human resources for health development strategy | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | The cabinet has approved the National Strategic Plan for Development of Folklore, Thai Traditional, and Alternative Medicine B.E. 2550-2554 since June 12th, B.E. 2550. The National Strategic Plan could be utilized as a strategy execution tool to boost up the development of folklore, Thai traditional and alternative medicine in Thailand. However the systematic reviews by means of document reviews and in-dept interview of executives of agencies concerned shows failure of the national plan as there are inadequate implementations of the plan as strategic direction of program, plan, project development and resource allocation. The unclear direction and disintegration of Thai folklore, traditional and alternative medicine development policy are the explicit evidences of the situation. Human resources for health as a crucial resource of Thai traditional health system need to have clear, relevant, integrative development direction and strategies. Lack of posts in health care system for the Thai traditional medicine workforce is the main concern among the universities and health care institutions concerned. The poor-management of the human resources could lead to the failure of human resource planning, production and health facility development. The National Strategic Plan could be utilized to develop concrete and integrated program, plan and projects to boost up strategic direction, coordination and strategic synergy among the organizations concerned. The integrated project proposals for additional budget request for health workforce development to promote folklore, traditional and alternative medicine in Thailand could be developed according to the 4 major strategic issues as human resources database development, building up national mechanism for human resources development, determine HR standard and quality improvement, and development of HR management system. There are 10 proposed integrated projects, implement within 3 years period (2552-2554 B.E.), and the total budget requested is 523 million baht. Furthermore the existing program plan projects for health workforce development are also need more budget support. The main products and expected results of the proposed integrated projects are summarized as follow: 1 Establish national Thai traditional and alternative medicine health workforce development committee and national master plan. 2 Research and development of service model and hiring of Thai traditional health workforces in 150 Thai traditional medicine health centers or clinics with local authorities. 3 Research and development of service model and hiring of Thai traditional health workforces in 30 PPP type health centers with private sectors. 4 Determine standardized curricula of Thai traditional medicine, applied Thai traditional medicine and alternative medicine in collaboration with network of academia and network of health facilities. 5 Support human resource development, capacity building and trainings for folklore healers nationwide in collaboration with network of healers in 4 regions and promote the role of the networks to develop policy recommendations submit to the national health assembly. 6 Support human resource development, capacity building and trainings for alternative medicine healers nationwide in collaboration with network of alternative medicine healers and promote the role of the networks to develop long term financial sustainable HRD program and training courses. 7 Promote and support the role of Thai traditional and alternative medicine professional bodies in legislation, law enforcement, overseeing professional standard and ethics. 8 Develop essential strategic execution databases and decision support system for development of folklore, traditional, and alternative medicine workforces. To get fully commitment and support through active participation, the proposed integrated project package need to be scrutinized by the National Strategic Plan steering committee and the agencies concerned. The National Strategic Plan could become an effective and efficient management tool for development of folklore, traditional and alternative medicine in Thailand and benefit to the health and quality of life of Thai population as an ultimate goal. | en_US |
dc.identifier.callno | W76 ข262ก 2551 | en_US |
dc.identifier.contactno | 51-045 | en_US |
dc.subject.keyword | การพัฒนากำลังคน | en_US |
dc.subject.keyword | ภูมิปัญญาไท | en_US |
dc.subject.keyword | สุขภาพวิถีไท | en_US |
.custom.citation | ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ and อุบลวรรณ ขอพึ่ง. "การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทพ.ศ.2550-2554 : ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2483">http://hdl.handle.net/11228/2483</a>. | |
.custom.total_download | 129 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย