dc.contributor.author | กัญญดา ประจุศิลป | en_US |
dc.contributor.author | อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี | en_US |
dc.contributor.author | อารีย์วรรณ อ่วมตานี | en_US |
dc.contributor.author | อนิรุทธ์ สติมั่น | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-06-05T04:27:06Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:16:26Z | |
dc.date.available | 2009-06-05T04:27:06Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:16:26Z | |
dc.date.issued | 2551-12 | en_US |
dc.identifier.other | hs1549 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2519 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต 2) ศึกษาปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต และ3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต พื้นที่ที่ศึกษา คือ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข จำนวน 28 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดชุมชนเป้าหมาย และศึกษาบริบทของชุมชนเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต ขั้นตอนที่ 3 ทดลองดำเนินการสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต 3 เดือน และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษา ดังนี้
1. บริบทของชุมชนเป้าหมาย จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตก แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 930 หมู่บ้าน ประชากรรวมทั้งสิ้น 828,846 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 126,510 บาท ต่อปี เป็นอันดับ 13 ของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 32.09 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวนสถานพยาบาลแผนปัจจุบันที่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืนทั้งสิ้น 16 แห่ง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่ง และเป็นสถานพยาบาลเอกชน 5 แห่ง มีแพทย์จำนวน 195 คน คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร เท่ากับ 1:4,138 มีจำนวนพยาบาล 1,259 คน คิดเป็นอัตราส่วนพยาบาลต่อประชากร เท่ากับ 1:641 และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 7,462 คน
2. ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการสร้างชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
2.1 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า (Input) และผลผลิต (Output) ในงานวิจัยนี้มี ปัจจัยนำเข้า (Input) หรือสมาชิกจำนวน 28 คน ผลผลิต (Output) หลังดำเนินกิจกรรมในกระบวนการสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตระยะเวลา 3 เดือน มีข้อมูลสุขภาพจำนวน 650 ข้อมูล
2.2 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน (Process) ในงานวิจัยนี้คือ การมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน ด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT) กำหนดกลยุทธ์ ของชุมชนสื่อสารสุขภาพ นครปฐม และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Product/Outcome) คือศักยภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของกลุ่มตัวอย่าง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกชุมชน และความพึงพอใจของสมาชิกชุมชน ในงานวิจัยนี้ พบว่า สมาชิกชมรมสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต จังหวัดนครปฐม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.43 (S.D. = .59) ในข้อความรู้ที่ได้รับมีความเหมาะสมกับยุคสมัย และข้อมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดโดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.29 (S.D. = 1.10) ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง คือ การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตของสมาชิกชุมชน
การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่ม พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต คือปัญหาด้านความพร้อมและศักยภาพของบุคลากร โดยพบว่าบุคลากรสุขภาพขาดความรู้ในการสร้างฐานข้อมูลสุขภาพหรือไม่มีเวลาที่จะใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ส่วนมากยังขาดความรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ตและทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับปัญหาด้านอุปกรณ์ พบว่า ไม่มีคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เพียงพอ โดยคณะผู้วิจัยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตและการสืบค้นแหล่งข้อมูลสุขภาพให้สมาชิกชมรมสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 3 ครั้ง และมีการนิเทศติดตามให้คำแนะนำโดยคณะผู้วิจัยอย่างต่อเนื่อง และพบว่า หลังจากมีการทดลองใช้การสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตของสมาชิกเป็นเวลา 3 เดือน ผลที่เกิดขึ้นคือ สมาชิกชุมชนมีความสามารถเผยแพร่ความรู้สุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ตและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์การสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ตไปยังชุมชนอื่นได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชน, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.format.extent | 5566177 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบสื่อสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การสื่อสารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต | en_US |
dc.title.alternative | The development of health communication community via internet | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this action research were three folds: 1) to develop a Health Community via Internet (HCI); 2) to analyze the key success of the HCI; and 3) to propose strategies to develop the HCI The setting selected in this study was located in Nakonpathom province. The study samples were 28 health-work volunteers. The research method consisted of 4 steps as follows: 1) exploring a study setting context regarding health problems and health communication, 2) developing the HCI 3) implementing the HCI for 3 months and 4) analyze key success for developing the HCI. Data collections were used by questionnaires, interview and focus group discussion.
The study findings were as follows:
1. The context of study setting, Nakonpathom is located in central part of Thailand and divided into 7 districts (Amphoe) 106 locally districts (Tambol) and 930 communities (MooBarn). The total population are 828,846. The average income are126,510 baht/year. Most (32.09%) are agriculturist. According to health care delivery, there are sixteen public hospital and 5 private hospitals. There are 195 physicians, 1,259 nurses and 7,462 health care volunteers. A proportion of a physician and population is 1: 4,138 and a proportion of a nurse and population is 1:641.
2. Indicators deciding the project success were as follows: (1) Input and Output indicators, researchers recorded the numbers of membership who accessed to Nakonpathom's web and of health files uploaded to the web. We found that there were 28 members participating in the web and 650 data files disseminated on the web. (2) Process indicators, in the study, a community participation was used by inviting members to analyze SWOT of Nakonpathom's health web, strategies and indicators for measuring product/outcome of the project. After three months of a project implementation, we found that members reported that they were highly satisfied (mean = 4.43, S.D. = .59) with knowledge of health communication via Internet. For the moderate satisfaction (mean = 3.29, S.D. = 1.10)) were the community participation via Internet.
Based on data conducted by using focus group discussion and interviews, we found that factors relating to develop a health community via Internet were 1) Peopleware, health personnel lack knowledge of developing health databases and Internet access time while health care volunteers lack technological skills and computer knowledge; and 2) Hardware, there were lacks of computers and Internet connection in a selected community. According to a problem of peopleware, community members were trained computer uses and Internet skills. After training, the community members practiced computer and Internet use under supervision of researchers. Finally, the members could disseminate and train others to access health information via Internet.
3. The proposed strategies of developing the HCI
Based on a focus group discussion of 12 key persons, They agreed that the HCI concept as a way of health communication. However, the good components of members were important to maintain the HCI activities. According to a sustainability of the HCI, experts suggested that it should build a network with consultants from a public health sector and university located in Nakonpathom. In addition, It should be an autonomous organization managed by a community and get financial support from private and public organization. | en_US |
dc.identifier.callno | WA590 ก383ก 2551 | en_US |
dc.identifier.contactno | 50ข048-2 | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบสนับสนุนการสื่อสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | การสื่อสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | อินเทอร์เน็ต | en_US |
.custom.citation | กัญญดา ประจุศิลป, อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี, อารีย์วรรณ อ่วมตานี and อนิรุทธ์ สติมั่น. "การพัฒนาชุมชนสื่อสารสุขภาพทางอินเทอร์เน็ต." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2519">http://hdl.handle.net/11228/2519</a>. | |
.custom.total_download | 139 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |