แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนเอกสารวิชาการสถานการณ์เชื้อดื้อยาในนานาประเทศ : สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ระบบติดตามเฝ้าระวัง และการควบคุม

dc.contributor.authorศิริตรี สุทธจิตต์en_US
dc.coverage.spatialสวีเดนen_US
dc.coverage.spatialออสเตรเลียen_US
dc.coverage.spatialเกาหลีใต้en_US
dc.date.accessioned2009-06-05T08:10:59Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:02Z
dc.date.available2009-06-05T08:10:59Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:02Z
dc.date.issued2552-04en_US
dc.identifier.otherhs1555en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2526en_US
dc.description.abstractโรคติดเชื้อยังคงเป็นปัญหาสำคัญของมนุษย์ในปัจจุบัน ทั้งในแง่อุบัติการณ์การเกิดโรคและการเป็นสาเหตุการเสียชีวิต โดยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีอาการรุนแรงและรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีอัตราการประสบความสำเร็จที่ต่ำลง เพราะปัญหาเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก สั่นคลอนความมั่นคงระบบสุขภาพของทุกประเทศโดยไม่มีการแบ่งแยกดินแดน การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ และถูกเร่งให้เกิดมากขึ้นและเร็วขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมทั้งในมนุษย์และสัตว์ มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากมายทำให้ปัญหามีความซับซ้อนและจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน ทุกองค์กรในระบบยา เพื่อช่วยกันหยุดยั้งเชื้อดื้อยา รายงานการทบทวนเอกสารวิชาการ เรื่อง “สถานการณ์เชื้อดื้อยาในนานาประเทศ” ฉบับนี้ สรุปสถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ระบบติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะ ระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา และการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาของ 3 ประเทศซึ่งมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะที่ต่ำและหรือมีอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาที่ต่ำ อันได้แก่ ประเทศสวีเดน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ พร้อมกับทบทวนกิจกรรมขององค์กรระดับนานาชาติที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องเชื้อดื้อยา ทั้งองค์การอนามัยโลก องค์กรต่างๆ ในยุโรปและองค์กรนานาชาติอื่นๆ เพื่อการเรียนรู้และนำสู่ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสำหรับประเทศไทย ในภาพรวมแม้สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะในสวีเดน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ จะมีแนวโน้มที่คงที่หรือควบคุมได้ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่จะพบว่าอุบัติการณ์การเกิดเชื้อดื้อยาบางกลุ่มก็ยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ทำให้แต่ละประเทศต้องให้ความสนใจและเฝ้าจับตาเป็นพิเศษ ทั้งนี้พบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะปริมาณมาก และปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น สภาวะของผู้ป่วย รวมถึงประเภทของสถานพยาบาล และพื้นที่ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยา ปัจจัยสำคัญที่น่าจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ซึ่งสามารถพบได้ในทั้งสามประเทศ โดยเฉพาะในออสเตรเลียและสวีเดน คือการที่ประเด็นการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมและการจัดการเชื้อดื้อยาถูกจัดเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชนให้ความสำคัญและร่วมมือกันการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังเห็นได้จากการมีหน่วยงาน (หรือเจ้าภาพ) และนโยบายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเรื่องยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ประกอบกับการสนับสนุนทรัพยากรการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ การมีระบบติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะที่เชื่อมกับฐานข้อมูลการให้บริการสุขภาพและการประกันสุขภาพทั่วประเทศ และระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาแห่งชาติที่เชื่อมโยงข้อมูลจากห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั่วประเทศทั้งของภาครัฐและเอกชน ทำให้ทั้งสามประเทศสามารถติดตามประเมินสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิดและทันต่อเหตุการณ์ นำสู่การวิเคราะห์หาพื้นที่และประชากรกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายและดำเนินการป้องกันแก้ไขอย่างเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้แล้วการ benchmarking สถานการณ์การใช้ยาและการดื้อยาในประเทศกับประเทศอื่น จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้จาก best practice และเตรียมตัววางแผนการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลสถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาควรได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนด้วย เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันในสังคมและเพื่อง่ายต่อการดำเนินการควบคุมการใช้ยาและเชื้อดื้อยาในขั้นตอนต่อไป การควบคุมการเข้ามาในประเทศและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระบบยาการควบคุมสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ขบวนการคัดเลือกยา การผลิตและนำเข้า การกระจายยาและการใช้ยา ซึ่งรวมการวินิจฉัยโรค การสั่งจ่ายยา การจ่ายยาของบุคลากรทางการแพทย์และการใช้ยาของผู้บริโภค การดำเนินการโดยอาศัยเพียงการปรับนโยบายหรือข้อบังคับอาจให้ผลในเวลาอันรวดเร็ว แต่อาจไม่เพียงพอและมีผลกระทบเชิงลบได้ จึงควรต้องอาศัยวิธีที่หลากหลายทั้ง educational, managerial และ enforcement strategies โดยปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต genome GIS ให้เกิดประโยชน์ ปรับให้เหมาะสมและตรงกับประเด็นที่ต้องการแก้ไขในกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด และที่สำคัญคือต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการต่างๆ และใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นั้นสำหรับการวางแผนปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในลำดับขั้นถัดไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและการพัฒนาที่ดีขึ้น การสู้กับปัญหาเชื้อดื้อยาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นภาครัฐหรือเอกชน เป็นผู้ให้บริการหรือผู้รับบริการ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศ และร่วมมือกับหน่วยงานอื่นภายนอกประเทศด้วยเพราะปัญหาเชื้อดื้อยาไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไปแล้วen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1580901 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการทบทวนเอกสารวิชาการสถานการณ์เชื้อดื้อยาในนานาประเทศ : สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ระบบติดตามเฝ้าระวัง และการควบคุมen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoQV350 ศ445ก 2552en_US
dc.identifier.contactno52-034en_US
dc.subject.keywordเชื้อดื้อยาen_US
dc.subject.keywordยาปฏิชีวนะen_US
dc.subject.keywordระบบติดตามเฝ้าระวังen_US
.custom.citationศิริตรี สุทธจิตต์. "การทบทวนเอกสารวิชาการสถานการณ์เชื้อดื้อยาในนานาประเทศ : สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา ระบบติดตามเฝ้าระวัง และการควบคุม." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2526">http://hdl.handle.net/11228/2526</a>.
.custom.total_download839
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year25
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1555.pdf
ขนาด: 1.617Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย