Show simple item record

การศึกษาบรรทัดฐานการประเมินคุณค่าของสังคมต่อการลงทุนทางการแพทย์และสาธารณสุข

dc.contributor.authorมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์en_US
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorสิรินทร์ นาถอนันต์en_US
dc.contributor.authorพิศพรรณ วีระยิ่งยงen_US
dc.contributor.authorจอมขวัญ โยธาสมุทรen_US
dc.contributor.authorเชิญขวัญ ภุชงค์en_US
dc.contributor.authorวันทนีย์ กุลเพ็งen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-06-08T04:34:54Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:17:55Z
dc.date.available2009-06-08T04:34:54Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:17:55Z
dc.date.issued2552-01en_US
dc.identifier.otherhs1541-1en_US
dc.identifier.otherhs1541-2en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2527en_US
dc.description.abstractจากการที่ทรัพยากรทางสุขภาพมีอยู่อย่างจำกัด หลักการด้านเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล (Cost-Effectiveness Analysis) ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และนโยบายสาธารณสุขมากขึ้นทั้งยังจัดเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้บริหารใช้ในการจัดสรรทรัพยากรในระบบสุขภาพ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินทางเศรษฐศาสตร์มักจะถูกนำเสนอในรูปของต้นทุนต่อหน่วยของผลลัพธ์ทางสุขภาพ เช่น บาทต่อปีสุขภาวะ (Baht per quality-adjusted life year) ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจว่าควรลงทุนจำนวนเท่าใดต่อปีสุขภาวะ (Quality-adjusted life year: QALY) จึงจัดว่ามีความคุ้มค่าและเหมาะสม จากแนวคิดดังกล่าวเทคโนโลยีหรือนโยบายใดมีค่าต้นทุนต่อปีสุขภาวะต่ำกว่าเพดานความคุ้มค่า(Ceiling threshold) ที่กำหนดจัดว่ามีความคุ้มค่าควรค่าแก่การลงทุน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขสากลที่ใช้เป็นเกณฑ์หรือเพดานความคุ้มค่าสำหรับการพิจารณา นอกจากนี้แต่ละประเทศมีสภาพและโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจแตกต่างกันดังนั้นเกณฑ์หรือเพดานความจึงควรมีค่าแตกต่างกันไปไปตามบริบท การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะ (Willingness to pay per quality-adjusted life year; WTP / QALY) เพื่อนำมาใช้ประกอบสำหรับกำหนดเป็นเกณฑ์หรือเพดานความคุ้มค่าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และนโยบายสาธารณสุขในประเทศไทย โดยเป็นการสำรวจภาคตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,191 คนที่มีอายุระหว่าง 15- 65 ปี ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ อ่างทอง ชลบุรี เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น สุรินทร์ ตรัง และ ชุมพร ทำการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2551 โดยวิธีการสัมภาษณ์ ทั้งนี้แบบสอบถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลอรรถประโยชน์ (Utility) และ ข้อมูลความเต็มใจจ่าย โดยแบบสอบถามที่ใช้มี 3 ชุดจำแนกตามชนิดของสถานการณ์สุขภาพสมมติและแต่ละชุดจะมีความรุนแรงของสถานการณ์สุขภาพ 2 ระดับ ดังต่อไปนี้ ตาบอด 1 ข้าง ตาบอด 2 ข้าง อัมพาตครึ่งตัว อัมพาตทั้งตัว ภูมิแพ้ไม่รุนแรง และ ภูมิแพ้รุนแรงปานกลาง สำหรับการวัดอรรถประโยชน์ของสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันและสถานการณ์สุขภาพสมมติทำโดยวิธี Time trade off (TTO) และ Visual analog scale (VAS) ในขณะที่การวัดค่าความเต็มใจจ่ายใช้วิธี bidding game ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลความเต็มใจจ่ายทั้งสำหรับการรักษาเพื่อมิให้ต้องอยู่ในสถานการณ์สุขภาพสมมติเป็นเวลา 5 ปีและการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดสถานการณ์สุขภาพสมมติจาก 50% เป็น 10% จากนั้นทำการคำนวณค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะทั้งด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว (Univariate analysis) และหลายตัวแปร (Multivariate analysis) โดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Mixed model เพื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรร่วมอื่นๆ จากผลการศึกษาในวิธีการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว พบว่า ค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะของการรักษามีค่ามากกว่าของการป้องกันในทุกสถานการณ์สุขภาพสมมติ โดยค่ามัธยฐานของความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะในสถานการณ์รักษามีค่าตั้งแต่ 24,281 บาทต่อปีสุขภาวะ (ภูมิแพ้ปานกลาง) ถึง 115, 577 บาทต่อปีสุขภาวะ (ตาบอด 1 ข้าง) ในขณะที่ค่ามัธยฐานของความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะในสถานการณ์ป้องกันมีค่าตั้งแต่ 9,054 บาทต่อปีสุขภาวะ (อัมพาตครึ่งตัว) ถึง 47, 563 บาทต่อปีสุขภาวะ (ตาบอด 1 ข้าง) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงระดับความรุนแรง พบว่า ในแต่ละสถานการณ์สุขภาพสมมติที่ระดับความรุนแรงน้อยกว่าจะมีค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะมากกว่าหรือเท่ากับสถานการณ์สุขภาพสมมติเดียวกันที่ระดับความรุนแรงมากกว่าทั้งในการรักษาและการป้องกัน ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบของเพดาน (Ceiling effect) เกิดขึ้น โดยสามารถอธิบายได้ว่าค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อรักษาหรือป้องกันสถานการณ์สุขภาพสมมติที่มีความรุนแรงสูงกว่ามีค่าเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อรักษาหรือป้องกันสถานการณ์สุขภาพสมมติที่มีระดับความรุนแรงน้อยกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากข้อจำกัดของความสามารถในการจ่าย (Ability to pay) ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างตระหนักว่าสถานการณ์สุขภาพสมมติที่มีระดับความรุนแรงสูงกว่าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าสถานการณ์สุขภาพสมมติที่มีระดับความรุนแรงต่ำเป็นอย่างมากทำให้เมื่อคำนวณทั้งความสามารถในการจ่ายและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตจึงได้ผลดังกล่าว เมื่อพิจารณาค่าความเต็มใจจ่ายที่ได้จากการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปรพบว่าเมื่อควบคุมตัวแปรร่วมอื่นๆ (เพศ รายได้ครัวเรือน สถานการณ์สุขภาพ และที่ตั้งของที่พักอาศัย) ค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะในสถานการณ์รักษามีค่าเท่ากับ 105, 669 บาท หรือ ประมาณ 1 เท่าของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (Gross Domestic Product per capita) ในปี 2551 ทั้งนี้พบว่าค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะสำหรับการรักษามีค่ามากกว่าการป้องกันเช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว โดยพบว่าค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะสำหรับการป้องกันมีค่าเพียง 53,382 บาทเท่านั้น หรือ ประมาณ 0.5 เท่าของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว ในปี 2551 ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ได้มีความสอดคล้องกับค่าเพดานความคุ้มค่าที่ได้จากการทบทวนการจัดสรรทรัพยากรที่ผ่านมาในหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยพบว่าค่าเพดานความคุ้มค่าที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรในประเทศเหล่านั้นมีค่าประมาณ 1 ถึง 2 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว สำหรับค่าเพดานความคุ้มค่าที่แนะนำโดย The Commission on Macroeconomics and Health[1]ว่าควรมีค่าเท่ากับ 3 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวนั้นเมื่อเทียบกับค่าเพดานความคุ้มค่าที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรในประเทศดังกล่าวพบว่ามีค่าค่อนข้างสูง สำหรับในประเทศไทย คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้กำหนดขอบล่าง (Lower bound) และขอบบน (Upper bound) ไว้ที่ 1 และ 3 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว[2] ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ได้ในครั้งนี้กรณีการรักษาจึงมีความสอดคล้องกับค่าเพดานความคุ้มค่าขั้นต่ำที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรในปัจจุบันขณะที่ในกรณีของการป้องกันมีค่าต่ำกว่าค่าเพดานความคุ้มค่าขั้นต่ำที่ใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าประชากรตัวอย่างอาจมีความคิดเห็นว่าต้นทุนต่อหน่วยสำหรับการป้องกันควรมีค่าต่ำกว่าต้นทุนต่อหน่วยสำหรับการรักษาโรคหรืออาจตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันน้อยกว่าการรักษาซึ่งหากเป็นในกรณีหลังผู้เกี่ยวข้องตลอดจนผู้กำหนดนโยบายควรเร่งให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชากรให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคให้มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ยังเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นซึ่งมีข้อจำกัดทางระเบียบวิธีวิจัย เช่นเดียวกับการศึกษาในหลายประเทศ ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตในกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ตลอดจนพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยซึ่งเป็นข้อจำกัดในงานวิจัยนี้ให้สามารถควบคุมอิทธิพลของเพดาน (Ceiling effect) รวมถึงมีการใช้สถานการณ์สุขภาพสมมติที่มีความคลอบคลุมและเหมาะสมมากขึ้น ทั้งนี้ในการศึกษาดังกล่าวนั้นค่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะที่คำนวณไม่ควรเป็นค่าเดี่ยว แต่ควรเป็นความสัมพันธ์ (Function) ของความเต็มใจจ่ายในบริบทต่างๆ เช่น ในเพศต่างๆ ที่อายุต่างๆ และความรุนแรงของสถานการณ์สุขภาพต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ค่าเพดานความคุ้มค่าใดๆ ที่กำหนดขึ้นควรนำมาใช้เป็นเพียงเกณฑ์ข้อหนึ่งสำหรับพิจารณาจัดสรรทรัพยากรเท่านั้น โดยในการพิจารณาจัดสรรทรัพยากรยังคงต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น จริยธรรม ภาระงบประมาณโดยรวม สภาวะสุขภาพ ทางเลือกต่างๆ ตลอดจนปัจจัยทางด้านสังคม ฯลฯ ทั้งนี้หากใช้เกณฑ์เพดานความคุ้มค่าในการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรสุขภาพแต่เพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากไม่สามารถควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่ายได้ นอกจากนั้นหากนำเกณฑ์เพดานความคุ้มค่ามาใช้แต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงบริบทอื่นๆ ร่วมด้วยอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านจริยธรรมหรือนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายที่ไม่เหมาะสมได้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent6630126 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.publisherโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Economicen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการศึกษาบรรทัดฐานการประเมินคุณค่าของสังคมต่อการลงทุนทางการแพทย์และสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeAssessing a societal value for a ceiling threshold in Thailanden_US
dc.title.alternativeรายงานการเก็บข้อมูลและนิเทศการเก็บข้อมูลen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeDue to constraints of health care resources, health resource allocation decisions will increasingly rely on the results of health economic studies in particular cost-effectiveness (CE) analysis. However, the presentation of cost-effectiveness analysis’ results as cost per unit of health outcome e.g. Quality-Adjusted Life Year (QALY) is still arbitrary for policy makers to decide whether the technology is cost-effective. By using the concept of “ceiling threshold”, if the cost-effectiveness ratio of new health intervention is not greater than the “threshold”, then the health technology is deemed to be cost-effective and is appropriatethe support using public finance. Presently, there is no scientific standard for ceiling threshold. Furthermore, all countries are different in term of various socio-economic factors hence specific CE threshold is required for each country. This study aims to assess the willingness to pay per quality-adjusted life year (WTP/QALY) for use as a CE threshold in determining the cost-effectiveness of health interventions in Thailand. This study is a cross-sectional survey. In this study, 1,191 sample aged between 15-65 years old from 9 provinces throughout the country namely Bangkok, Auanthog, Chonburi, Chiangmai, Pa-yao, Khonkaen, Surin, Trung, and Chumporn were interviewed during March - May 2008. The questionnaire consisted of three main components, namely general information, utility measure, and willingness to pay. There were 3 versions of questionnaires. Version 1 focused on scenario about blindness while version 2 and 3 were centered on scenarios about paralysis and allergy. For each version, 2 levels of disease severity were specified as follows; version 1: unilateral blindness and bilateral blindness; version 2: paraplegia and quadriplegia, and version 3: mild allergy and moderate allergy. Utility of current health state and hypothetical health states was measured using TTO and VAS while willingness to pay was measured using bidding game technique. Each respondent was asked to determine his/her maximum willingness to pay for treatment and prevention situation. For treatment situation, 5-year period of illness followed by complete recovery is assumed. For prevention situation, willingness to pay (WTP) to eliminate 40% risk (from 50% to 10%) was asked. Then, WTP/QALY is determined by univariate analysis and multivariate analysis using Mixed model. According to the univariate analysis result, WTP/QALY for treatment situations are all higher than WTP/QALY for prevention scenario in all three hypothetical health scenario. Median WTP/QALY thresholds for treatment ranged from 24,281 Baht (treatment of moderate allergy) to 115, 577 Baht (treatment of unilateral blindness) On the other hand, median WTP/QALY thresholds for prevention situation ranged from 9,054 Baht (prevention of paraplegia) to 47, 563 Baht (prevention of unilateral blindness). When disease severity was taken into account, WTP/QALY for scenarios with low severity was higher than that of high severity in all three hypothetical health scenarios both for treatment and prevention. These findings indicate the exit of the ceiling effect. It could be explained by the fact that willingness to pay for treatment and prevention with higher disease severity was equal or only slightly higher than willingness to pay for treatment and prevention with lower severity disease due to the limitation of ability to pay. On the other hand, situation with higher disease severity seemed to have significantly higher negative effect on quality of life, as compared to situations with lower of severity. The results from multivariate analysis found that after controlling for other factors i.e. (gender, household income, hypothetical health scenario, and location of resident), WTP/QALY for treatment was estimated at 105, 669 Baht or approximately 1 time of Gross Domestic Product per capita in 2008 in Thailand. Similar to the findings from univariate analysis, WTP/QALY for treatment situation was higher than WTP/QALY for prevention scenario. In this case, WTP/QALY for prevention scenario was estimated at 53,382 Baht or approximately 0.5 time of Gross Domestic Product per capita in 2008. These findings seemed to be consistent with the thresholds derived from the thresholds currenty used in several countries e.g. the United States, Canada, Australia, and New Zealand. According to the review, the threshold used for resource allocation in those countries was approximately 1 – 2 times of Gross Domestic Product per capita in 2008. In addition, the threshold of 3 times of GDP per capita recommended by the Commission on Macroeconomics and Health[1] seemed to be higher, as compared to the current threshold used in those countries. In Thailand, these findings also appeared to be consistent with the threshold set by the subcommittee for Development of the National List of Essential Drug (lower bound = 1 time GDP per capita / QALY, upper bound = 3 time GDP per capita / QALY). [2] On the other hand, the threshold for prevention situation found in this study was relatively low, as compared to the current threshold. The findings also pointed out that the samples might perceive that unit cost of prevention should be less than unit cost of treatment or they might perceive prevention as less important than treatment. In the later case, policy makers and other stakeholders should pay more attention in providing knowledge, and employing effective strategy for attitude changing to increase the awareness of the importance of prevention intevention. This is a preliminary study with some limitations. A bigger study addresses thses questions should also be conducted to ensure representativeness of the samples. Also, the future study should employ more rigorous method that could control the ceiling effect, and represented various hypothetical health scenarios. Furthermore, WTP/QALY should be calculated in term of function of several factors such as context, age, and gender, not just only a single value. Finally, any value of ceiling threshold should be perceived as one of the criteria in resource allocation. When making real policy decisions, other factors such as ethic, short and long-term budget impact, and availability of alternatives should also be taken into account. By using only CE as a sole criterion for resource allocation might lead to problems of unaffordability or uncontrolled growth in health care expenditure.In addition, it might cause ethical problems or lead to inappropriate health policy.en_US
dc.identifier.callnoW74 ม154ก 2552en_US
dc.identifier.contactno51-026en_US
dc.subject.keywordการประเมินคุณค่าen_US
dc.subject.keywordการลงทุนทางการแพทย์en_US
dc.subject.keywordค่าใช้จ่ายen_US
.custom.citationมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, ยศ ตีระวัฒนานนท์, สิรินทร์ นาถอนันต์, พิศพรรณ วีระยิ่งยง, จอมขวัญ โยธาสมุทร, เชิญขวัญ ภุชงค์ and วันทนีย์ กุลเพ็ง. "การศึกษาบรรทัดฐานการประเมินคุณค่าของสังคมต่อการลงทุนทางการแพทย์และสาธารณสุข." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2527">http://hdl.handle.net/11228/2527</a>.
.custom.total_download194
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1541.pdf
Size: 7.062Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record