แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสำรวจผลงานวิจัยและนวตกรรมที่เข้าข่าย Routine to Research การเผยแพร่ และการนำไปใช้ประโยชน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

dc.contributor.authorปริญญา สันติชาติงามen_US
dc.contributor.authorวิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วานen_US
dc.contributor.authorกัญญาลักษณ์ ณ รังษีen_US
dc.contributor.authorสิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์en_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-06-08T06:34:00Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:17:57Z
dc.date.available2009-06-08T06:34:00Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:17:57Z
dc.date.issued2552-03en_US
dc.identifier.otherhs1562en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2528en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : (1) เพื่อศึกษารูปแบบงานวิจัยและนวัตกรรมของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาที่ดำเนินแล้วเสร็จ (2) การเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม (3) การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (4) ผลงานวิจัยที่เข้าข่าย R2R และที่มีศักยภาพเพื่อพัฒนานำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยหรือหน่วยงาน รูปแบบและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีขั้นตอนการศึกษาคือ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการศึกษาวิจัยและนวัตกรรมที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2548-2550 จากศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพ ศูนย์แพทย์ และกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพื่อเป็นประชากรศึกษา (2)สร้างและทดสอบแบบสอบถาม (3)ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล (4)ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล (5)สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในประเด็นสำคัญที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ผลการศึกษา แบบสอบถามที่ส่งไปตามข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากแหล่งอ้างอิงในช่วงที่ทำการศึกษาทั้งหมดจำนวน 190 ชุด ได้รับคืนมา 85 ชุด (ร้อยละ 44.7) รวบรวมผลงานที่ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม 6 เรื่อง รวมเป็นงานทั้งหมด 91 เรื่อง แบ่งเป็นงานวิจัย 75 เรื่อง (ร้อยละ 82.4) เป็นนวัตกรรม 16 เรื่อง (ร้อยละ 17.6) ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.4 ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 ผลงานได้รับการเผยแพร่ 80 เรื่อง (ร้อยละ 92) จำนวน 115 ครั้ง เป็นการนำเสนอด้วยวาจาร้อยละ 54.9 รองลงมาร้อยละ 29.7 เป็นการนำเสนอทางวารสารการแพทย์ คำถามงานวิจัยหรือแนวคิดในการพัฒนาผลงานได้มาจากการศึกษาจุดอ่อน จุดแข็งของหน่วยงาน และจากสถิติหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน ในจำนวนที่เท่ากันคือ จำนวน 33 เรื่อง (ร้อยละ 36.3) ผลงานวิจัยหรือผลงานนวตกรรมส่วนมากจำนวน 86 เรื่อง (ร้อยละ 94.5) ถูกนำไปใช้ประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จำนวน 67 เรื่อง (ร้อยละ 73.7) ใช้ในการปฏิบัติงานประจำ รองลงมาคือนำไปถ่ายทอดผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 51 เรื่อง (ร้อยละ56) ผลงานจำนวน 5 เรื่อง ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการการสนับสนุนเพื่อเผยแพร่ผลงานเพิ่มเติมและต้องการพัฒนาเป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์ เพื่อให้สามารถนำงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น การพิจารณาผลงานวิจัยหรือนวตกรรมจำนวน 196 เรื่อง พบว่าเข้าข่าย R2R และมีศักยภาพเพื่อพัฒนานำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยหรือหน่วยงานจำนวน 127 เรื่อง (ร้อยละ 64.8) สรุปผลการศึกษา ผลงานวิจัยหรือผลงานนวตกรรมของบุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ส่วนมากเป็นงานวิจัยที่เข้าข่าย R2R และมีศักยภาพเพื่อพัฒนานำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยหรือหน่วยงานen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1696766 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการสำรวจผลงานวิจัยและนวตกรรมที่เข้าข่าย Routine to Research การเผยแพร่ และการนำไปใช้ประโยชน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW20.5 ป458ก 2552en_US
dc.identifier.contactno51-081en_US
dc.subject.keywordR2Ren_US
dc.subject.keywordRoutine to Researchen_US
dc.subject.keywordนวตกรรมen_US
dc.subject.keywordการทำวิจัยในงานประจำen_US
dc.subject.keywordการเผยแพร่งานวิจัยen_US
.custom.citationปริญญา สันติชาติงาม, วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน, กัญญาลักษณ์ ณ รังษี and สิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์. "การสำรวจผลงานวิจัยและนวตกรรมที่เข้าข่าย Routine to Research การเผยแพร่ และการนำไปใช้ประโยชน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2528">http://hdl.handle.net/11228/2528</a>.
.custom.total_download100
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1562.pdf
ขนาด: 1.725Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย