แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาในประเทศไทยการทบทวนวรรณกรรมและข้อเสนอแนะ

dc.contributor.authorภิรุญ มุตสิกพันธุ์en_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-06-10T04:23:20Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:01Z
dc.date.available2009-06-10T04:23:20Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:01Z
dc.date.issued2552-03en_US
dc.identifier.otherhs1563en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2529en_US
dc.description.abstractโรคติดเชื้อเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของทั่วโลกและรวมทั้งของประเทศไทย มีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราเสียชีวิตสูงในลำดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไม่ติดเชื้ออื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ กัน และเกิดโรคได้ทั้งในชุมชนและในโรงพยาบาล การรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียนั้นส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อให้เชื้อก่อโรคลดลงอย่างรวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยฟื้นและอาการหายขาดโดยเร็วที่สุด แต่ในหลายๆ กรณีอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพียงแต่ให้การรักษาประคับประคองที่เพียงพอ พบว่าการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากไม่แพ้การรักษาโรคไม่ติดเชื้ออื่นๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายโดยตรงจากค่ายาปฏิชีวนะ และการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อ ได้แก่ การให้สารน้ำ การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายโดยอ้อมจากการที่ผู้ป่วยต้องหยุดทำงาน ในปัจจุบันพบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เมื่อมาพิจารณาดูแล้วพบว่าเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในการรักษาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล สาเหตุที่พบเนื่องจากในปัจจุบันมีการดื้อยาปฏิชีวนะพื้นฐานที่เดิมใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อโดยทั่วไปมากขึ้น ทั้งโรคติดเชื้อที่เกิดในชุมชนและในโรงพยาบาล เช่น เชื้อ S. pneumoniae ดื้อยา penicillin, S. aureus ดื้อยา cloxacillin รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ ได้แก่ E. coli ที่ดื้อต่อยา ampicillin, P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยา ceftazidime ซึ่งยาปฏิชีวนะดังกล่าวเป็นยาปฏิชีวนะที่มีราคาไม่สูง ทำให้ต้องไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ราคาสูงมากกว่าหลายสิบเท่า ได้แก่ cephalosporin รุ่นที่ 2 หรือ 3 กับเชื้อ S. pneumoniae ดื้อยา penicillin, vancomycin กับเชื้อ S. aureus ที่ดื้อต่อยา cloxacillin, carbapenem กับเชื้อ E. coli และ K. pneumoniae ที่ดื้อยา cefotaxime, carbapenem กับเชื้อ P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยา ceftazidime เป็นต้น นอกจากนั้นปัจจุบันพบปัญหาเชื้อดื้อยาตัวเลือกทดแทนดังกล่าวขึ้นอีก คือ เชื้อ S. aureus และ entrococci ที่ดื้อต่อยา vancomycin และ P. aeruginosa, A. baumannii ที่ดื้อยา carbapenem ทำให้การรักษามีความลำบากมากขึ้น รวมทั้งมีความต้องการยาปฏิชีวนะใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งย่อมมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามตัว ในขณะที่การพัฒนายาปฏิชีวนะมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อดื้อยากลับมีจำนวนลดลงอย่างมาก มีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ พบว่ามีปัจจัยเกี่ยวข้องกันและกันอย่างซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสำคัญ ได้แก่ แพทย์ผู้สั่งใช้ยาสั่งจ่ายยาโดยไม่จำเป็นหรือโดยไม่เหมาะสม หรือผู้ป่วยต้องการยาปฏิชีวนะในการรักษาโดยความเชื่อที่ผิดๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการโฆษณาและการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากตัวแทนยาและบริษัทยา เนื่องจากหวังผลทางการค้า โดยที่แพทย์และผู้ป่วยไม่ได้ไตร่ตรองถึงความสมเหตุสมผล เพื่อให้สามารถเข้าใจในสถานการณ์ของการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบัน รวมทั้ง การคาดการณ์ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาในอนาคต จึงต้องเข้าใจถึงสถานการณ์การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อที่จะหาทางแก้ไขและควบคุมปัญหาให้ลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ในระดับการรักษาผู้ป่วยเองและในระดับนโยบายของชาติต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent429980 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาในประเทศไทยการทบทวนวรรณกรรมและข้อเสนอแนะen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoQV350 ภ556ส 2552en_US
dc.identifier.contactno52-032en_US
dc.subject.keywordเชื้อดื้อยาen_US
dc.subject.keywordยาปฏิชีวนะen_US
dc.subject.keywordระบบติดตามเฝ้าระวังen_US
.custom.citationภิรุญ มุตสิกพันธุ์. "สถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาในประเทศไทยการทบทวนวรรณกรรมและข้อเสนอแนะ." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2529">http://hdl.handle.net/11228/2529</a>.
.custom.total_download1527
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year33
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1563.pdf
ขนาด: 459.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย