• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก)
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก)
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างสมดุลระหว่างนโยบายสาธารณะด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับนโยบายศูนย์กลางบริการสุขภาพ

ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การเคลื่อนไหวในสังคมไทยในการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาปรากฏเด่นชัดมากที่สุดในพื้นที่ของการพัฒนาชนบทและการขจัดปัญหาความยากจน อย่างไรก็ตามความสนใจแสวงหาแนวทางในการประยุกต์และบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการกําหนดนโยบายสังคมเพื่อสร้างนโยบายสาธารณะให้มีความสมดุลและสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้นนั้น อาจเป็นผลมาจากการตระหนักถึงความเชื่อมโยงและผลกระทบของนโยบายสาธารณะที่มีต่อกันและควรมีการเตรียมการเผชิญและจัดการกับผลกระทบเชิงนโยบายแต่เนิ่น ในยุคสมัยที่เปิดการเสรีทางการค้าและการลงทุนเป็นเรื่องที่ยอมรับกันว่าจําเป็นและสําคัญต่อความเจริญมั่นคงของสังคมนั้น ข้อถกเถียงหรือคําถามในเชิงผลกระทบทางสังคมต่อเป้าประสงค์เชิงเศรษฐกิจของนโยบายสาธารณะมักจบลงด้วยคําอธิบายที่ว่า การเปรียบเทียบนโยบายสาธารณะที่มีเป้าหมายแตกต่างกันแบบยืนกันคนละขั้วความคิดนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อน หรืออาจไม่ก่อให้เกิดผลอะไรมากนักเนื่องจากอุดมการณ์หรือพื้นฐานความคิดที่อยู่เบื้องหลังนโยบายนั้นมีความแตกต่างแบบสุดโต่งอยู่แล้ว ในแวดวงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายทางด้านสาธารณสุข คําถามที่ท้าทายมากที่สุด ณ ขณะนี้คือจะประสานเป้าหมายทางเศรษฐกิจของชาติและผลประโยชน์จากการสร้างรายได้ที่มาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ภายใต้นโยบายศูนย์กลางบริการสุขภาพอย่างไรให้ลงรอยกันกับเป้าประสงค์ของการพัฒนานโยบายที่มุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิสวัสดิการของประชาชน ดังเช่น นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วัตถุประสงค์หลักของรายงานฉบับนี้คือการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการประยุกต์ใช้ในฐานะเครื่องมือในการสร้างสมดุลระหว่างนโยบายสาธารณะสองนโยบายดังกล่าว โดยสํารวจพัฒนาการและพลวัตทางความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสุขภาพและนําเสนอเครื่องมือสร้างสมดุลภายใต้กรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความสอดคล้องของนโยบายสาธารณะต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1515.pdf
ขนาด: 276.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 134
ปีพุทธศักราชนี้: 59
รวมทั้งหมด: 1,465
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก) [26]

    Health Insurance System Research Office (HISRO)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV