บทคัดย่อ
การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลในลักษณะการเหมาจ่ายรายหัว(CAPITION CON-TRACT MODEL) ร่วมกับการจ่ายเงินตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทนที่จะใช้วิธีการจ่ายเงินตามรายการรักษาพยาบาล(FEE-FOR-SERVICE REIMBURSEMENT MODEL) เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบการคลังสุขภาพของประเทศ การตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการคลังสุขภาพดังกล่าวมีปัจจัยสำคัญมาจากการสะสมองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านจุดอ่อนจุดแข็งร่วมทั้งผลกระทบของวิธีการจ่ายเงินรูปแบบต่างๆ ให้กับสถานพยาบาล ซึ่งได้แก่ การจ่ายแบบตามรายการรักษาพยาบาล แบบเหมาจ่ายรายหัว และการจ่ายตาม DRG นอกจากนี้ การตัดสินใจดังกล่าวยังเป็นการตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้และหลังฐานเชิงประจักษ์ (EVIDENCE-BASED) ซึ่งนำจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในด้านประสิทธิภาพของระบบสุขภาพ รวมถึงความสมเหตุสมผลของการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดและความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการในระบบประกันสังคมและการสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล ๖สปร.๗ ในอดีตที่ผ่านมาทำให้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนมีประสบการณ์และให้การยอมรับวิธีการจ่ายเงินดังกล่าว
นอกเหนือจากปัจจัยแวดล้อมด้านการเมืองและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนแล้ว ปัจจัยเกื้อหนุนด้านระบบสุขภาพ อันได้แก่ การขยายระบบบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ การมีศักยภาพที่เพียงพอในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอทางเลือกในการกำหนดนโยบายสุขภาพที่สมเหตุผล รวมทั้งความต่อเนื่องในการวิจัยเชิงพัฒนาของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนและทุนทางสังคมที่ทำให้สามารถนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วในระยะเริ่มต้นอย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของวิธีการจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายรายหัวที่อาจก่อให้เกิดการให้บริการที่ขาดคุณภาพการปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ ระหว่างผู้ซื้อบริการคือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผู้ให้บริการสุขภาพในระดับอำเภอ การแสวงหาแหล่งการคลังสุขภาพที่มีความมั่นคงในระยะยาว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความไม่เหมาระสมและไม่เป็นธรรมในการกระจายทรัพยากรสุขภาพ เป็นสิ่งท้าทายในอนาคตที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งแสวงหาคำตอบเพื่อนให้นโยบายดังกล่าวสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีความยั่งยืน