การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย
dc.contributor.author | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ | en_US |
dc.contributor.author | ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | เตือนใจ ภักดีพรหม | en_US |
dc.contributor.author | เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์ | en_US |
dc.contributor.author | ผ่องพรรณ อรุณแสง | en_US |
dc.coverage.spatial | ไทย | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-09-16T04:01:31Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:20:35Z | |
dc.date.available | 2009-09-16T04:01:31Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:20:35Z | |
dc.date.issued | 2552-02-28 | en_US |
dc.identifier.other | hs1591 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2716 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย ที่ให้บริการแก่ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสถานบริการในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร และภาคใต้ จำนวนบุคลากรและสมรรถนะของผู้ให้บริการ ลักษณะกิจกรรมการบริการ และเพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้รับบริการ ผลการศึกษาพบว่ามีจำนวนสถานบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทั้งหมด 138 แห่ง ร้อยละ 49.28 อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 43.48 เป็นสถานบริบาล สถานสงเคราะห์คนชราให้บริการทุกระดับความต้องการการดูแล ส่วนสถานบริบาลให้บริการตั้งแต่ส่งผู้ช่วยดูแลไปดูแลที่บ้านจนถึงดูแลระยะสุดท้าย ร้อยละ 45 ของสถานสงเคราะห์ไม่มีพยาบาลประจำ ร้อยละ 45.5 ของสถานบริการไม่ได้ขึ้นทะเบียน สถานสงเคราะห์ของภาครัฐมีจำนวนเตียงเฉลี่ยมากที่สุด สถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาลเอกชนเก็บค่าบริการสูงสุด ผู้พักอาศัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-74 ปี สถานภาพสมรสหม้าย เกือบครึ่งไม่มีบุตร สาเหตุการย้ายเข้าไปอยู่ในสถานบริการคือไม่มีผู้ดูแล ร้อยละ 86.8 มีโรคประจำตัว ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ โรคเบาหวานและโรคหัวใจ จากการคัดกรองร้อยละ 41.6 มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 29.5 มีภาวะซึมเศร้าปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 15.9 อยู่ในภาวะพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด แต่พบมีภาวะพึ่งพาปานกลางถึงพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมดถึงร้อยละ 52.3 ร้อยละ 55.6 พบในสถานสงเคราะห์คนชรา ต้องการได้รับการดูแลถึง 20-27 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 15-30 ปี สถานภาพสมรส และมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช.หรือเทียบเท่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้ช่วยดูแล พบพี่เลี้ยงในบ้านพักคนชรา นักกิจกรรมบำบัดในสถานบริบาล นักสังคมสงเคราะห์ในบ้านพักคนชราและพยาบาลในสถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาลมากที่สุด ส่วนใหญ่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแต่พบว่ายังมีทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุ พึงพอใจในการทำงานระดับมากและพึงพอใจในเงินเดือนระดับปานกลาง พบในองค์กรธุรกิจมากที่สุด ส่วนใหญ่ต้องการทำงานต่อไป ให้ความสำคัญในด้านความรู้ การพัฒนาด้านบุคลิกลักษณะและวิธีการดูแลให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นแกนในการจัดบริการดูแลระยะยาว พัฒนาระบบบริการให้ครอบคลุมผู้สูงอายุทุกสภาวะ กำหนดมาตรฐานการดูแลและกำหนดองค์กรกำกับดูแลและรับขึ้นทะเบียน 2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ คือ พัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการ เช่น อบรมผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ กำหนดคุณสมบัติบุคลากรผู้ให้บริการและจัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ช่วยการดูแล ส่งเสริมให้มีการบริการที่หลากหลาย เช่น บริการดูแลระยะสั้นและบริการดูแลกลางวัน และควรมีการศึกษาวิจัยเชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลแนวทางการพัฒนาสถานดูแลผู้สูงอายุและกำหนดมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย | en_US |
dc.format.extent | 2260920 bytes | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.publisher | มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแล | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--ไทย--การสำรวจ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | A survey of institutional long-term care for persons, age 60 and over, in Thailand aims to study the background information on long-term care institutions. The number of personnel, competencies of care provider, types of services, and characteristics of care receivers in the north, north-eastern, central, Bangkok area, and the southern part of Thailand were investigated. The findings revealed that there were 138 long-term care institutions, 49.28% situated in Bangkok with 43.48% being nursing homes. While residential homes provided all levels of care needed, nursing homes offered services ranging from care assistants for service at homes and palliative care in the institutions. However, 45% of nursing home had no professional nursing staff and 45.5% of institution had not been registered. Public residential homes had the highest number of beds while long-term care hospitals had the highest cost of services. The majority of residents were female; ages 60-70, widowed, almost half had no adult children, and 86.8% had chronic illnesses. The most common illnesses were hypertension, arthritis, joint pain, diabetes, and heart disease. Information from health screening revealed that 41.6% had dementia and 29.5% had moderate to severe depression. From functional assessment, 15.9% were at a total dependency level. Interestingly, 52.3% of the residents had moderate to total dependency, 55.6% of them were in residential homes and need to be cared for 20-27 hours per week. The majority of care providers was female, age range of 15 to 30 years old, had a high school level education, and was care assistants. Helper, occupational therapist and nurses were often found in the residential homes, nursing homes and long-term care hospital respectively while only social workers were found in the residential home. Although the majority of them had been trained in care of older persons, negative attitudes toward residents were still present. Work satisfaction was found at a high level while satisfaction for salary was at a moderate level. Nevertheless, they still wanted to continue working and gave more attention to knowledge, personal development and how to improve their standards of care giving. The policy recommendation is: to promote collaboration between public and private sectors, encourage local authority to be a key provider, develop services to meet all level of care needs, set up care standards, and form a regulator and registration body. The practical recommendation is to promote the development of competent care providers and to provide more varieties of services. Further study using qualitative research methodology should be carried out for in-depth information. | en_US |
dc.identifier.callno | WT27 ศ465ก 2552 | en_US |
dc.identifier.contactno | 51-022 | en_US |
dc.subject.keyword | สถานดูแล | en_US |
.custom.citation | ศิริพันธุ์ สาสัตย์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, เตือนใจ ภักดีพรหม, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์ and ผ่องพรรณ อรุณแสง. "การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2716">http://hdl.handle.net/11228/2716</a>. | |
.custom.total_download | 1005 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 22 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย