แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชาชนไทยในปี พ.ศ. 2547

dc.contributor.authorสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.coverage.spatialไทยen_US
dc.date.accessioned2009-11-25T09:08:29Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:55Z
dc.date.available2009-11-25T09:08:29Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:55Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.otherhs1633en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2802en_US
dc.description.abstractในการวัดสถานะสุขภาพของประชาชนไทยแบบองค์รวม ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเครื่องชี้วัดภาระโรค (Burden of Disease) ของคนไทยนั้น คิดมาจากความสูญเสียที่เกิดมาจากการตายก่อนวัยอันควรและความสูญเสียจากการเจ็บป่วยหรือพิการ โดยเรามักจะเข้าใจกันในชื่อที่ว่า “ปีสุขภาวะที่สูญเสียปรับด้วยความบกพร่องทางสุขภาพ (Disability-adjusted life years: DALYs) ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ไปแล้ว เมื่อ พ.ศ.2542 และในปัจจุบันก็ได้ทำการศึกษาอีกเป็นครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2547 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ภาระโรคของประชาชนไทยสูงที่สุด เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีและ/หรือเอดส์ รองลงมาได้แก่ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งและโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากการศึกษาภาระโรคแล้ว คณะทำงานภาระโรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง (2547) ยังได้ดำเนินการศึกษาการประเมินและเปรียบเทียบภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยง (Comparative Risk Assessment: CRA) โดยใช้แนวทางในการศึกษาตามวิธีการที่พัฒนาขึ้นจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งใน พ.ศ. 2542 ได้ทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญๆ ทั้งหมด 14 ปัจจัยเสี่ยง โดยใช้ข้อมูลภาระโรคในประชาชนไทย พ.ศ.2542 เป็นผลลัพธ์จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนั้นทำให้เราทราบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาระโรคแก่ประชาชนไทยมากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รองลงมาคือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่และเพื่อให้ทราบถึงขนาดของปัญหาสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงในช่วงระยะเวลา 5 ปีต่อมา (พ.ศ.2547) จึงทำให้เกิดมีการศึกษาการประเมินและเปรียบเทียบภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงในประชาชนไทย พ.ศ.2547 อีกครั้งหนึ่ง การศึกษาการภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงในประชาชนไทย พ.ศ.2547 นี้ ยังคงใช้ระเบียบวิธีการศึกษาการประเมินและเปรียบเทียบภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยง (CRA) เหมือนการศึกษาในปี พ.ศ. 2542 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขนาดของภาระโรคที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญและจัดอันดับปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้นตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2542-2547) นอกจากผลที่ได้จากการศึกษาแล้ว การนำข้อมูลจากหลายๆ แหล่งมาใช้ย่อมทำให้เราได้เห็นประโยชน์และข้อจำกัดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบและคุณภาพของข้อมูล รวมไปถึงการเผยแพร่ให้มีการนำผลการศึกษาที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรมต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent31232 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/msworden_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectปัจจัยเสี่ยงen_US
dc.subjectภาระโรคen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชาชนไทยในปี พ.ศ. 2547en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA590 ภ461 2551en_US
dc.identifier.contactno49ข008en_US
.custom.citationสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. "ภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชาชนไทยในปี พ.ศ. 2547." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2802">http://hdl.handle.net/11228/2802</a>.
.custom.total_download41
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1633.pdf
ขนาด: 751.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย