dc.contributor.author | สุพัตรา ศรีวณิชชากร | en_US |
dc.contributor.author | บังอร เทียบเทียน | en_US |
dc.contributor.author | นภาพร โสวัฒนางกูร | en_US |
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ สุนทร | en_US |
dc.date.accessioned | 2009-12-28T08:48:41Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:24:18Z | |
dc.date.available | 2009-12-28T08:48:41Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:24:18Z | |
dc.date.issued | 2552-12 | en_US |
dc.identifier.other | hs1648 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2850 | en_US |
dc.description.abstract | ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการค้นคว้าวิจัยด้านสุขภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ของงานวิจัยเหล่านี้กลับถูกนำไปใช้ประโยชน์น้อย การเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน Closs และ Cheater (1994)1 ได้กล่าวไว้ว่าความสนใจและทัศนคติเชิงบวกของนักวิจัยต่องานวิจัยเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการนำผลงานวิจัยไปใช้ การศึกษาของ Alexander และ Orton (1988)2 ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ได้แก่ นักวิจัย ผู้จัดการงานวิจัย ผู้วางนโยบายด้านสุขภาพ ผู้ให้ทุนวิจัย ผู้ใช้งานวิจัยซึ่งประกอบด้วยบุคคลากรทางการแพทย์ทุกแขนงและรวมถึงตัวผู้ป่วยด้วย การขาดปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้มีผลให้การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์น้อย ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยน้อย ได้แก่ การไม่มีส่วนร่วมของผู้ใช้ประโยชน์ทำให้ผู้ใช้ประโยชน์ไม่เห็นความสำคัญของการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ ความบกพร่องของการสื่อสารผลงานวิจัย นักวิจัยและ/หรือผู้จัดการงานวิจัยไม่สามารถสร้างความเข้าใจกับผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย การขาดการวางแผนที่จะดัดแปลงและประยุกต์ผลงานวิจัยเพื่อที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง โดยทั่วไปนักวิจัยทำวิจัยเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการซึ่งอาจไม่เกิดผลโดยตรงต่อผู้ใช้ประโยชน์และผลงานวิจัยเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอเฉพาะในงานประชุมเชิงวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการซึ่งยากต่อการที่ผู้ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จะเข้าถึงและเข้าใจผลงานวิจัย ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพการบริหารและจัดการการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย องค์การอนามัยโลก ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและใต้ (WHO/SEARO)3 ตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญและจัดทำ “Health Research Management Training Modules” โดยมุ่งหวังว่าประเทศสมาชิกอันรวมถึงประเทศไทยจะนำ Training Modules นี้ไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรที่มีบทบาทในการจัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ได้ทำการศึกษานำร่องเพื่อประเมินศักยภาพผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส และเครือข่าย จำนวน 20 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามประเมินตนเอง แบบสอบถามนี้ได้ถูกพัฒนาโดยใช้ 10 Training Modules ของ WHO/SEARO เป็นกรอบคำถาม ผลจากการศึกษาชิ้นนี้พบว่า ผู้จัดการงานวิจัยของสวรส และเครือข่าย ขาดความมั่นใจต่อศักยภาพของตนเองใน 8 ด้าน คือ 1. ด้านความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์องค์กร 2. ด้านการวางแผนและบริหารชุดโครงการวิจัย 3. ด้านการวางแผนและบริหารโครงการวิจัย 4. ด้านการพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ 5. ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานวิจัยและการจัดการความรู้ 6. ด้านระบบบริหารการเงินโครงการวิจัย 7. ด้านบริหารการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัย 8. ด้านบริหารจัดการทั่วไป จากผลการวิเคราะห์นี้ สวรส เลือกเฉพาะด้านการบริหารการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยมาวิเคราะห์เพิ่มเติม เนื่องด้วย สวรส มีวัตถุประสงค์ที่จะหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ผลวิเคราะห์ชี้ว่าผู้จัดการงานวิจัยของสวรส และเครือข่าย มีศักยภาพที่จะบริหารจัดการการใช้ประโยชน์งานวิจัยได้แต่ไม่ดีใน 6 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 2. ด้านวางแผนเพื่อกำหนดบุคคล องค์กร ที่อาจมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนอกเหนือจากผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง 3. ด้านแสวงหาโอกาสในการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย 4. ด้านบริหารให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในขั้นตอนสำคัญของการวิจัย 5. ด้านเขียนสาระสำคัญผลการวิจัยเพื่อสื่อสารต่อบุคคล องค์กรภายนอกหรือเพื่อสาธารณะ 6. ด้านกำหนด/เลือกกลไกสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานวิจัย การศึกษานำร่องของสวรส ชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการงานวิจัยของสวรส และเครือข่าย มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองต่อการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์งานวิจัย เนื่องจากการศึกษานำร่องนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณซึ่งไม่อาจสะท้อนประสบการณ์และพฤติกรรมการปฏิบัติที่ทำเป็นประจำและไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่เป็นกรณีศึกษาเพื่อสะท้อนพฤติกรรมการจัดการงานวิจัยของผู้จัดการงานวิจัยและองค์กรวิจัย ดังนั้น มีความจำเป็นที่จะสำรวจหาประสบการณ์และพฤติกรรมของผู้จัดการวิจัยและองค์กรวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | งานวิจัย | en_US |
dc.subject | ผู้จัดการงานวิจัย | en_US |
dc.subject | การวิจัยระบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การจัดการงานวิจัยระบบสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | W84.3 ส246ก 2552 | en_US |
dc.identifier.contactno | 52-047 | en_US |
dc.subject.keyword | การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย | en_US |
.custom.citation | สุพัตรา ศรีวณิชชากร, บังอร เทียบเทียน, นภาพร โสวัฒนางกูร and สุรศักดิ์ สุนทร. "การประเมินความต้องการเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2850">http://hdl.handle.net/11228/2850</a>. | |
.custom.total_download | 124 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |