Show simple item record

การสังเคราะห์แผนงานสุขภาพจังหวัดสงขลา ระยะที่ 1

dc.contributor.authorนวลตา อาภาคัพภะกุลen_US
dc.date.accessioned2010-02-26T09:03:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:07Z
dc.date.available2010-02-26T09:03:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:07Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.otherhs1662en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2895en_US
dc.description.abstractการดำเนินงานแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากหลายๆ องค์กร แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา นับว่าเป็นต้นแบบหนึ่งของการร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาควิชาการที่ค่อนข้างชัดเจน การก่อเกิดของแผนงานสุขภาพจังหวัดสงขลามีความเป็นมาเป็นไปที่ยาวนาน ทั้งนี้เริ่มจากคนในชุมชนที่ไม่ได้คาดหวังว่าการทำงานของตนจะจุดประกายให้เกิดพัฒนาการหลายๆ อย่างที่เป็นไปในทางที่ดีในชุมชนจากกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่ต่างคนต่างทำมาเป็นกลุ่มคนใหญ่มากขึ้น มีการรวมกลุ่มการทำงานเฉพาะเรื่องจนในที่สุดเป็นการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่นขึ้นด้วยเจตนรมย์ร่วมกัน คือการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนในจังหวัดสงขลา โดยมีสวรส ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สสส. สปรส/สช องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมร่วมกันลงนามและให้การสนับสนุนด้านทุนทรัพย์และด้านวิชาการเพื่อการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัดสงขลา ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้เกิดแผนในระดับตำบล โดยในระยะแรกมีตำบลนำร่อง 16 ตำบล ประกอบด้วย ต.เกาะแต้ว ต.คูเต่า ต.แม่ทอม ต.ทุ่งหมอ ต.รัตภูมิ ต.กำแพงเพชร ต.โคกม่วง ต.ปาดังเบซาร์ ต.ชะแล้ ต.คลองรี ต.คูขุด ต.กระแสสินธุ์ ต.บ้านใหม่ ต.นาหว้า ต.วังใหญ่ ต.คลองทราย ใน 13 อำเภอ ยังขาดอำเภอเมืองหาดใหญ่และสะบ้าย้อย โดยประสบความสำเร็จ 14 ตำบล ใน 13 อำเภอ (จังหวัดสงขลามี 16 อำเภอ) กระบวนการจัดทำแผนสุขภาพก่อตัวขึ้นมาจากการเสนอข้อคิดเห็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล็งเห็นว่าการทำงานขององค์กรภาคีด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในรูปแบบต่างคนต่างทำแต่มีเป้าหมายหลักเดียวกัน คือ สุขภาวะของประชาชนในจังหวัดสงขลา จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (นายนวพล บุญญามณีและนายพีระ ตันติเศรณี) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (นายแพทย์ธนวัฒน์ กรศิลป์) จัดประชุมและเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่มาร่วมพูดคุยรวมทั้งผู้แทนจากสปรส มาร่วมให้ความคิดเห็นต่อมาได้จัดตั้งเป็นคณะทำงานโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธานมีการวางแผนและประชุมอย่างต่อเนื่อง แผนสุขภาพจังหวัดสงขลาแบ่งออกเป็น 4 แผนงานและมีประเด็นทั้งหมด 14 ประเด็น ดังนี้ 1. การจัดบริการ ประกอบด้วย การจัดระบบบริการสุขภาพของสถานบริการและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนชุมชนหรือกองทุนออมทรัพย์ที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ, บทบาทอสม.กับการสร้างเสริมสุขภาพ 2. การสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน, การดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส, สุขภาพวัยแรงงาน: แรงงานนอกระบบ, การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพผู้บริโภค 3. ปัญหาสุขภาพที่เป็นประเด็นเฉพาะ เกษตรเพื่อสุขภาพและอาหารปลอดภัย, การป้องกันและลดอุบัติเหตุการจราจร, การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ, วัฒนธรรมกับการสร้างสุขภาพ 4. กลไกการจัดการและการหนุนเสริม, การจัดการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านสุขภาพ, การสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.format.extent673294 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการพัฒนาสุขภาพen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์แผนงานสุขภาพจังหวัดสงขลา ระยะที่ 1en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 น318ก 2552en_US
dc.identifier.contactno51-070en_US
dc.subject.keywordแผนสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการสร้างเสริมสุขภาพen_US
.custom.citationนวลตา อาภาคัพภะกุล. "การสังเคราะห์แผนงานสุขภาพจังหวัดสงขลา ระยะที่ 1." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2895">http://hdl.handle.net/11228/2895</a>.
.custom.total_download38
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1662.pdf
Size: 688.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record