แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorกนิษฐา บุญธรรมเจริญen_US
dc.date.accessioned2010-03-18T09:24:13Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:22Z
dc.date.available2010-03-18T09:24:13Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:22Z
dc.date.issued2553-03en_US
dc.identifier.isbn978-616-90122-2-1en_US
dc.identifier.otherhs1668en_US
dc.identifier.otherhs1693en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2902en_US
dc.description.abstractรายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว (Long-term Care) สำหรับประเทศไทยฉบับนี้ เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ผ่านมาทั้งของไทยเองและของต่างประเทศ ร่วมกับการศึกษาดูงานและสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ที่มีการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชน และการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชุมเวทีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและการนำเสนอข้อเสนอเบื้องต้นของงานชิ้นนี้ 1. สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในไทย ในปี 2552 มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับรุนแรงจำนวน 140,000 คน และคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าหรือ 280,000 คนในปี 2567 ในขณะที่ครัวเรือนมีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุลดลงจากขนาดครอบครัวที่เล็กลง การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่เมืองและการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนอกบ้านของสตรี ทั้งนี้พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงแต่ต้องดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ 13 ในกลุ่มเดียวกัน 2. บทเรียนจากการทบทวนประสบการณ์การดูแลระยะยาวในต่างประเทศ แนวคิดการจัดระบบการดูแลระยะยาวในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วแยกเป็นสองแนวทางหลักคือ แนวคิดสิทธิขั้นพื้นฐาน (Entitlement) จัดให้แก่ประชาชนทุกคน (Universalism) และแนวคิดให้เป็นความรับผิดชอบครัวเรือนและภาครัฐสนับสนุนเฉพาะรายที่ไม่สามารถรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายเองได้ (Selective, Means-test) อย่างไรก็ดีได้มีแนวคิดเรื่องการจัดบริการแบบถ้วนหน้าอย่างก้าวหน้า (Progressive universalism) มาช่วงหลังเพื่อให้การดูแลทุกรายแต่ในระดับที่แตกต่างกันตามความสามารถในการจ่ายของครัวเรือนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกื้อกูลกันมากขึ้นในสังคมขณะเดียวกันก็ลดการ ตีตราผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ (ผสมแนวคิดที่หนึ่งและสองเข้าด้วยกัน) รูปแบบการคลังระบบการดูแลระยะยาวในประเทศที่ยึดแนวคิด “สิทธิขั้นพื้นฐาน” มักอาศัยระบบประกันการดูแลระยะยาว (Long-term care insurance) ภาคบังคับเป็นหลัก 3. ข้อเสนอการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลาง (Intermediate care) และระยะยาว (Long-term care) ในการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวจำเป็นต้องพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางควบคู่ไปด้วย เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการทำให้การดูแลมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงเมื่อพ้นระยะเจ็บป่วยเฉียบพลัน จนไปสู่ในชุมชนจนมีภาวะพึ่งพิงถาวรที่ต้องการการดูแลระยะยาวต่อไป ขณะเดียวกันการมีระบบการดูแลระยะกลางที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งสามารถฟื้นกลับมาใช้ชีวิตอย่างอิสระในชุมชนได้ซึ่งเป็นการลดภาระสำหรับระบบการดูแลระยะยาวในอนาคตen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยen_US
dc.format.extent827391 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectการดูแลผู้สูงอายุen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeSynthesis of Long-term Care System for the Elderly in Thailanden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWT27 ส616ก 2553en_US
dc.identifier.contactno52-042en_US
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ and กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. "การสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2902">http://hdl.handle.net/11228/2902</a>.
.custom.total_download1991
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year54
.custom.downloaded_fiscal_year11

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1693.pdf
ขนาด: 1.031Mb
รูปแบบ: PDF
Icon
ชื่อ: hs1668.pdf
ขนาด: 861.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย