dc.contributor.author | พัทธรา ลีฬหวรงค์ | en_US |
dc.contributor.author | ยศ ตีระวัฒนานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | พิศพรรณ วีระยิ่งยง | en_US |
dc.contributor.author | ชุติมา อรรคลีพันธุ์ | en_US |
dc.contributor.author | นคร เปรมศรี | en_US |
dc.contributor.author | เฉวตสรร นามวาท | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-05-19T03:47:21Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:24:32Z | |
dc.date.available | 2010-05-19T03:47:21Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:24:32Z | |
dc.date.issued | 2553-02 | en_US |
dc.identifier.other | hs1679 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2929 | en_US |
dc.description | ฉบับพิมพ์ กรกฎาคม 2553 | en_US |
dc.description | 52-048 ฉบับพิมพ์ภายใต้แผน HITAP | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาต้นทุนสูงสุดของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำให้วัคซีนฯ ยังมีความคุ้มค่าในบริบทของระบบสุขภาพประเทศไทย และประเมินคุณลักษณะของวัคซีน ฯ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีของผู้ที่ได้รับวัคซีนฯ ที่มีความสำคัญและส่งผลต่อความคุ้มค่า
วิธีการศึกษา การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มาร์คอฟเพื่อประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นและปีสุขภาวะตลอดอายุขัยของประชากรในมุมมองของรัฐบาล เปรียบเทียบระหว่างการใช้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ชนิด Prime-Boost (ALVAC-HIV® และ AIDSVAX B/E®) ร่วมกับมาตรการที่มีในปัจจุบัน และการใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในปัจจุบันซึ่งไม่มีวัคซีนฯ โดยศึกษาในกลุ่มประชากรทั่วไปอายุ 18-30 ปี และในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด กลุ่มชายรักร่วมเพศ และกลุ่มทหารกองประจำการ การศึกษาวิเคราะห์หาต้นทุนสูงสุดของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำให้วัคซีนฯ มีความคุ้มค่าโดยวิธี Threshold analysis การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของค่าตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์โดยวิธี One-way sensitivity analysis และการวิเคราะห์แบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probabilistic sensitivity analysis) นอกจากนี้ในการศึกษาได้วิเคราะห์ Expected value of perfect information (EVPI) เพื่อหาตัวแปรในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความสำคัญและต้องมีการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต
ผลการศึกษา ต้นทุนสูงสุดของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ทำให้วัคซีนมีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย คือ 12,000 บาท เมื่อให้แก่ประชากรทั่วไปกลุ่มอายุ 18 ปี ที่ระดับประสิทธิผลร้อยละ 70 วัคซีนสามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำและผู้ได้รับวัคซีนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงหลังจากได้รับวัคซีน และวัคซีนจะไม่มีความคุ้มค่า หากวัคซีนมีประสิทธิผลต่ำที่ร้อยละ 30 และผู้ที่ได้รับวัคซีนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ขึ้นไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงหลังได้รับวัคซีนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคุ้มค่าของวัคซีนมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลรองลงมา ได้แก่ ประสิทธิผลของวัคซีน ระยะเวลาที่วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และอัตราการยอมรับการฉีดวัคซีน ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ EVPI พบว่า ควรมีการศึกษาและเก็บข้อมูลตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงหลังได้รับวัคซีน ประสิทธิผลของวัคซีน ต้นทุนของการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับวัคซีน และต้นทุนของการบริหารจัดการวัคซีน เนื่องจากตัวแปรดังกล่าวเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าของวัคซีน และมีผลกระทบมากที่สุดต่อความสูญเสียที่เกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการเลือกใช้หรือไม่ใช้วัคซีน
สรุป ผลการศึกษาที่ได้มีประโยชน์กับนักวิจัยที่กำลังศึกษาพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ในการนำวัคซีนดังกล่าวมาใช้ในระบบสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 491939 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | การประเมินความคุ้มค่าของการนำวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีPrime-Boost (ALVAC-HIV ® และ AIDSVAX B/E®) มาใช้ในประชากรไทย | en_US |
dc.title.alternative | Economic evaluation of Prime-Boost HIV vaccine ALVAC-HIV ® and AIDSVAX B/E® for the Thai population | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objectives: This study aims to determine the maximum cost of HIV vaccination at which the vaccine is still cost-effective under the Thai healthcare setting and to identify the possible relative importance of several vaccine characteristics and subsequent impact of risk behavior changes among vaccine recipients. on its value for money.
Methods: A semi-Markov model was developed to estimate the relevant costs and quality-adjusted life year (QALY) over the patients’ lifetime based on the government perspective of providing prime-boost combination HIV vaccines (ALVAC-HIV® and AIDSVAX B/E®) in conjunction with the existing HIV prevention programs compared to existing HIV prevention programs. The analysis focused on the general population aged 18 to 30 years as well as high-risk populations (i.e. female sex workers, injecting drug users, men who have sex with men, and military male conscripts). Threshold analysis was carried out to determine the maximum cost of cost-effective HIV vaccination at a Thai ceiling threshold of 100,000 Thai baht per QALY gained. One-way and probabilistic sensitivity analyses were performed to examine the uncertainty of all input parameters. The study also employed an analysis of expected value of perfect information (EVPI) to determine the relative importance of input parameters and prioritize future HIV vaccines studies.
Results: The highest cost of HIV vaccination given to the general population was identified at 12,000 Thai baht with 70% efficacy, lifetime protection, and unchanged in terms of risk behaviour post-vaccination. The vaccine would be cost-ineffective at any price if it demonstrated relatively low efficacy (30%) and increased risk behaviours by 10% or more of the population. This is especially true among those high risk populations. This study also found that incremental cost-effectiveness ratios were the most sensitive to the change in risk behavior post-vaccination, followed by vaccine efficacy, duration of vaccine protection, and vaccine acceptance rate. The analysis of EVPI indicated the need to quantify several parameters, namely risk behavior changed post-vaccination, vaccine efficacy, and costs of community engagement and vaccine delivery.
Conclusions: The results are useful and important for both researchers conducting future HIV vaccine research, as well as policy decision makers who, in the future, will consider the vaccines adoption in Thailand. | en_US |
dc.identifier.callno | W74 พ547ก 2553 | en_US |
dc.identifier.contactno | 52-075 | en_US |
dc.subject.keyword | วัคซีน | en_US |
dc.subject.keyword | เชื้อไวรัสเอชไอวี | en_US |
dc.subject.keyword | โรคเอดส์ | en_US |
dc.subject.keyword | ต้นทุนอรรถประโยชน์ | en_US |
dc.subject.keyword | การประเมินความคุ้มค่า | en_US |
dc.subject.keyword | Vaccine | en_US |
dc.subject.keyword | HIV | en_US |
dc.subject.keyword | AIDS | en_US |
dc.subject.keyword | Economic Evaluation | en_US |
dc.subject.keyword | Cost-utility Analysis | en_US |
.custom.citation | พัทธรา ลีฬหวรงค์, ยศ ตีระวัฒนานนท์, พิศพรรณ วีระยิ่งยง, ชุติมา อรรคลีพันธุ์, นคร เปรมศรี, เฉวตสรร นามวาท and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "การประเมินความคุ้มค่าของการนำวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีPrime-Boost (ALVAC-HIV ® และ AIDSVAX B/E®) มาใช้ในประชากรไทย." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2929">http://hdl.handle.net/11228/2929</a>. | |
.custom.total_download | 230 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 14 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |