dc.contributor.author | ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ | en_US |
dc.contributor.author | เฉลิมพล แจ่มจันทร์ | en_US |
dc.contributor.author | ครรชิต สุขนาค | en_US |
dc.contributor.author | ชาญวิทย์ ทระเทพ | en_US |
dc.contributor.author | วัฒน์ชัย จรูญวรรธนะ | en_US |
dc.contributor.author | ผลิดา ภูธรใจ | en_US |
dc.contributor.author | พัชนี ธรรมวันนา | en_US |
dc.contributor.author | นัฐนี บัณฑะวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | สุพินดา สาทรกิจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-05-21T03:31:17Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:24:49Z | |
dc.date.available | 2010-05-21T03:31:17Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:24:49Z | |
dc.date.issued | 2552-06 | en_US |
dc.identifier.other | hs1674 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2937 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยติดตามประเมินประสิทธิภาพสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลอื่นๆ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานพยาบาลของรัฐดังกล่าว ได้มีการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลที่ได้มาจากเงินภาษีของประชาชนอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิผล ในการวิเคราะห์เพื่อติดตามประเมินประสิทธิภาพสถานพยาบาลที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรและสภาพคล่องทางการเงินซึ่งใช้ Quick ratio และ Current ratio โดยใช้ข้อมูลจากรายงาน 11 รง 5 ที่นำมาใช้ยังมีจุดอ่อน เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์บอกได้เพียงว่าสภาพคล่องทางการเงินของสถานพยาบาลในช่วงเวลาที่วิเคราะห์เป็นอย่างไร แต่ไม่สามารถบอกประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรในภาพรวมของสถานพยาบาลได้ เนื่องจากการวิเคราะห์ดังกล่าวยังไม่ได้นำข้อมูลในส่วนผลผลิตต่างๆ ของสถานพยาบาลมาใช้ประกอบในการวิเคราะห์และยังไม่มีการเทียบเคียงประสิทธิภาพระหว่างสถานพยาบาลในระดับใกล้เคียง หลักการวัดประสิทธิภาพโดยทั่วไปคือ การเปรียบเทียบระหว่างผลผลิต (output) กับปัจจัยนำเข้า (input) หรืออีกแง่มุมหนึ่งคือ การวัดด้านต้นทุน (cost) โดยเปรียบเทียบกับผลผลิตหรือบริการ โดยกำหนดให้หน่วยผลิตในที่นี้คือ สถานพยาบาลเป็นหน่วยวิเคราะห์ (decision making unit, DMU) และนักเศรษฐศาสตร์ Joseph Farrell (1957) และ Charnes, Cooper, and Roberts (1978) ได้ใช้แนวคิด “การวิเคราะห์หน่วยงานแนวหน้า (Frontier analysis) ซึ่งผสมผสานองค์ความรู้หลายสาขา ทั้งเศรษฐศาสตร์ การจัดการวิศวกรรม ฯลฯ เพื่อพัฒนาแบบจำลอง Data Envelopment Analysis, DEA ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณโดยใช้เทคนิคลิเนียร์โปรแกรมมิ่งมาวัด “ผลผลิตส่วนที่ขาด (Slack output)” และวัด “ปัจจัยนำเข้าส่วนเกิน (Excess input)” เพื่อวัดประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบข้ามหน่วยงาน สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ได้สนับสนุนให้มีการศึกษาประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนของสถานพยาบาลโดยนำทฤษฎีเรื่อง Data Envelopment Analysis (DEA) มาประยุกต์ใช้ โดยใช้ข้อมูล 11 รง 5 และจากแหล่งอื่นๆ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และจะขยายผลการวิเคราะห์ไปสู่สถานพยาบาลระดับอื่นๆ ในอนาคตต่อไป โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากสถานพยาบาลเพื่อให้เกิดการสอบทานข้อมูลระหว่างหน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลกับนักวิชาการที่นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (สรส.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งรับผิดชอบในการจัดเก็บ รวบรวมวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลรายงาน เกี่ยวกับกิจกรรมการให้บริการสุขภาพประเภทต่างๆ และรายงานเกี่ยวกับรายรับ รายจ่ายทางการเงิน รวมทั้งข้อมูลจำนวนบุคลากรประเภทต่างๆ ของสถานพยาบาล ที่มักถูกตั้งคำถามหรือมีข้อสงสัยในเรื่องความถูกต้องหรือความเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว จึงเห็นสมควรร่วมมือในการพัฒนาเครื่องชี้วัดและระเบียบวิธีในการวัดและเปรียบเทียบประสิทธิภาพและสถานะทางการเงินของสถานพยาบาล ซึ่งใช้แบบจำลอง Data Envelopment Analysis (DEA) โดยพัฒนาต่อยอดจากโครงการวิจัยของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ที่ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับบริบทของสถานพยาบาล ภายใต้ระบบประกันสุขภาพปัจจุบัน 2) วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อทบทวนและประเมินระเบียบวิธีวัดประสิทธิภาพสถานพยาบาลโดยใช้แนวคิด/ทฤษฎีและแบบจำลองทางเศรษฐกิจ Stochastic Frontier และ Data Envelopment Analysis (DEA) 2.2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพและสถานะทางการเงินของสถานพยาบาล 2.3 เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องชี้วัดและระเบียบวิธีในการติดตามประเมินประสิทธิภาพของสถานพยาบาล | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.format.extent | 1069021 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ | en_US |
dc.publisher | สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารโรงพยาบาล | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การใช้ต้นแบบเครื่องชี้วัดและระเบียบวิธีวัดประสิทธิภาพในสถานพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัดและระเบียบวิธีในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถานพยาบาลภาครัฐ โดยใช้แบบจำลอง Data Envelopment Analysis (DEA) | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WX150 ด554ก 2552 | en_US |
dc.identifier.contactno | 49ข008 | en_US |
dc.subject.keyword | เครื่องชี้วัด | en_US |
dc.subject.keyword | สถานพยาบาล | en_US |
dc.subject.keyword | การประเมินประสิทธิภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | Data Envelopment Analysis | en_US |
dc.subject.keyword | DEA | en_US |
.custom.citation | ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, ครรชิต สุขนาค, ชาญวิทย์ ทระเทพ, วัฒน์ชัย จรูญวรรธนะ, ผลิดา ภูธรใจ, พัชนี ธรรมวันนา, นัฐนี บัณฑะวงศ์ and สุพินดา สาทรกิจ. "การใช้ต้นแบบเครื่องชี้วัดและระเบียบวิธีวัดประสิทธิภาพในสถานพยาบาล." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2937">http://hdl.handle.net/11228/2937</a>. | |
.custom.total_download | 194 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |