แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

dc.contributor.authorสมเกียติ ศิริรัตนพฤกษ์en_US
dc.contributor.authorเพ็ญศรี อนันตกุลนธีen_US
dc.contributor.authorพิบูล อิสสระพันธุ์en_US
dc.date.accessioned2010-05-21T03:46:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:44Z
dc.date.available2010-05-21T03:46:12Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:44Z
dc.date.issued2552-07en_US
dc.identifier.otherhs1675en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2938en_US
dc.description.abstractโครงการการศึกษาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการหนึ่งในแผนงานโครงการพัฒนาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทบทวนองค์ความรู้และศึกษาสถานการณ์ระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยมีขั้นตอนการศึกษา คือ การทบทวนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการจากเอกสารวิชาการต่างๆ ทั้งจากภายในและต่างประเทศ การศึกษาสถานการณ์ระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การจัดประชุมสัมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนจากหน่วยบริการสาธารณสุขในระดับพื้นที่และตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลจากการศึกษาพบว่า ระบบข้อมูลในที่นี้มี 2 ระบบ คือ ระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและระบบข้อมูลทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลของทั้ง 2 ระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ฐาน คือ ฐานข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพ ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมในการทำงานในกรณีของงานทางด้านอาชีวอนามัยและฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน ในกรณีของงานทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่วนฐานข้อมูลสุขภาพประกอบด้วย ฐานข้อมูลสุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมายก่อนป่วย (เน้นข้อมูลการรับสัมผัสต่อมลพิษ) และฐานข้อมูลการป่วยเป็นโรค สิ่งที่สำคัญนอกจากระบบฐานข้อมูลดังกล่าวแล้ว คือระบบการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ระบบการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ระบบข้อมูลในครั้งนี้ จะเน้นที่ระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัย ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก โดยพบว่าปัจจุบันระบบข้อมูลที่สำคัญคือ ระบบข้อมูลรายงานการเจ็บป่วยที่รับผิดชอบโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ระบบการรายงานโรคของสำนักระบาดวิทยา และระบบการรายงานโรคด้วยรหัส ICD10 ซึ่งทุกระบบมีการดำเนินการจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับโรคต่างๆ ในภาพรวมทั่วไป รวมทั้งโรคจากการประกอบอาชีพด้วย สำหรับในหน่วยบริการทางสุขภาพโดยเฉพาะสถานีอนามัยและศูนย์สุขภาพชุมชน ขณะนี้ได้มีการดำเนินการจัดบริการอาชีวอนามัยเป็นบางแห่งแล้ว โดยแบ่งกิจกรรมของการจัดบริการออกเป็นเชิงรุกและเชิงรับ เชิงรุกคือ การให้บริการที่เน้นการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โดยมักดำเนินการในสถานที่ทำงานของประชากรกลุ่มเป้าหมาย และเชิงรับคือ การให้บริการที่หน่วยบริการฯ ซึ่งมักจะเป็นการวินิจฉัยและรักษาโรค หน่วยบริการสาธารณสุขที่ให้บริการอาชีวอนามัยดังกล่าวได้มีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารบ้างแล้ว โดยมีการจัดเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลผู้ที่ป่วยเป็นโรคจากการประกอบอาชีพและข้อมูลการให้บริการเชิงรุกต่างๆ โดยสรุป การพัฒนาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมนับเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการดำเนินการทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันระบบข้อมูลดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งมีข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ มากสมควรที่จะต้องมีการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเพื่อให้ระบบข้อมูลมีประสิทธิภาพทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.format.extent2649312 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectสารสนเทศทางการแพทย์en_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมen_US
dc.title.alternativeThe Study of Information System in Occupational and Environmental Healthen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe study of information system in occupational and environmental health is a project under the development of information system in occupational and environmental health project. The aims of the study were to review knowledge on information system in occupational and environmental health field and study the situation of such system in the country. The steps of the study included literature review, information collection, and seminar for information and experience sharing among experts and relevant organizations The results of the study showed that there are 2 issues concerning the study: the information system for occupational health and the other for environmental health. There are at least 2 important databases for both information systems, including environment database and health database. Environment database consists of data from measurement of hazardous levels in various setting such as working environment, or pollution level in communities. On the other hand, health database consists of exposure data in population from health screening and disease information from hospitals and other health service centers. Apart from the database, the proper information system should include data collection, data analysis and interpretation, and dissemination systems. In this study, only occupational health information system under the responsibility of the Ministry of Public Health was selected for analysis. The study found that such information systems are mainly responsible by two agencies such as the Bureau of Health Strategy and Planning and the Bureau of Epidemiology. Both agencies have established and developed their own information system, e.g. data collection, analysis, and interpretation. They focus on not only occupational diseases but also general diseases, depending on their mandates. Regarding health service centers, several hospitals and health centers throughout the country have provided occupational health services. The occupational health services include pro-active and passive approach (or service at health service stations). The information collected includes data from walk-through survey, environmental assessment, health screening, and disease diagnosis and treatment. Up to now, several health service centers have developed their own occupational health information system to manage information they collected. In conclusion, the development of information system in occupational and environmental health is very important for occupational and environmental health service system. However, the system faces many obstacles and problems, such as no information available, data accuracy, data sharing among relevant organizations, and supportive system for system maintenance. Therefore, responsible agencies have to co-operate to tackle the problems and to improve the information system.en_US
dc.identifier.callnoWA400 ส232ก 2552en_US
dc.subject.keywordEnvironmental Healthen_US
dc.subject.keywordOccupationalen_US
dc.subject.keywordอาชีวอนามัยen_US
dc.subject.keywordสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subject.keywordระบบข้อมูลen_US
dc.subject.keywordสารสนเทศen_US
.custom.citationสมเกียติ ศิริรัตนพฤกษ์, เพ็ญศรี อนันตกุลนธี and พิบูล อิสสระพันธุ์. "การศึกษาระบบข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2938">http://hdl.handle.net/11228/2938</a>.
.custom.total_download205
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1675.pdf
ขนาด: 2.782Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย