แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารมลพิษในอากาศและอาการในประชากรกรณีศึกษาบ้านควนหัวช้าง อ.จะนะ จ.สงขลา

dc.contributor.authorสุภัทร ฮาสุวรรณกิจen_US
dc.contributor.authorชนนท์ กองกมลen_US
dc.contributor.authorฐิติมา เภอเกลี้ยงen_US
dc.contributor.authorวรรณศิลป์ บุญณะแก้วen_US
dc.contributor.authorฟาอีซ๊ะ โตะโยะen_US
dc.contributor.authorสมฤดี โสมเกษตรินทร์en_US
dc.contributor.authorปิยะดา กองกมลen_US
dc.coverage.spatialสงขลาen_US
dc.date.accessioned2010-09-24T03:09:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:25:45Z
dc.date.available2010-09-24T03:09:12Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:25:45Z
dc.date.issued2552-11en_US
dc.identifier.otherhs1712en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3003en_US
dc.description.abstractระดับของฝุ่นและสารมลพิษหลายชนิดในอากาศ มีความสัมพันธ์กับการตายและการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ในพื้นที่อำเภอจะนะมีการก่อสร้างและประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น โรงไฟฟ้าและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ถึงแม้ว่าค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องของโรงงานไฟฟ้าอำเภอจะนะ จะไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ยังไม่มีการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศกับอาการทางระบบต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศและหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตรวจวัดของมลพิษทางอากาศกับอาการของประชากรในพื้นที่ วิธีการศึกษา การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาแบบ time series ในประชาชนทั่วไปเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับสารมลพิษทางอากาศใน 5 ระบบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ผิวหนัง ตาและระบบประสาท จำนวนรวม 18 อาการ กับระดับของสารก่อมลพิษแต่ละชนิด ได้แก่ ความเข้มข้นของฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และก๊าซพิษ ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโอโซน ทุกวันควบคู่กันไป โดยทำการควบคุมปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในเขตบ้านควนหัวช้าง อำเภอจะนะ จ.สงขลา ทุกหลังคาเรือน กลุ่มอายุประชากรที่จะเก็บข้อมูลคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 10 มีขึ้นไป โดยมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลทุกวันเป็นเวลา 44 วัน ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม ถึง 21 สิงหาคม 2552 หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธี Generalized Estimating Equation (GEE) โดยใช้โปรแกรม R 2.10.1 (Epicalc และ NLME packages) ผลการศึกษา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 319 คน เป็นชาย 144 คน (ร้อยละ 45.14) มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 20.06 ค่าเฉลี่ยอายุ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 40.45 ± 18.12 ปี ในกลุ่มประชากรที่ศึกษาพบว่าร้อยละ10.03 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ9.4 เป็นโรคภูมิแพ้ ส่วนใหญ่มีอาชีพกรีดยางพาราโดยมีทั้งหมด 174 คน คิดเป็นร้อยละ 54.55 มีผู้ที่ปัจจุบันยังคงสูบบุหรี่ทั้งหมด 79 คน คิดเป็นร้อยละ 24.76 โดยมีปริมาณการสูบบุหรี่เฉลี่ย 5.99+ 5.39 pack-year และผู้ที่มีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่มีทั้งหมด173 คน คิดเป็นร้อยละ 54.23 ผลการศึกษาหลังจากทำการควบคุมปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลทั่วไปแล้ว พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างค่าตรวจวัดของสารมลพิษทางอากาศกับอาการของประชากรในพื้นที่ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการมึนหรือวิงเวียนศีรษะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ lag1, อาการไอและน้ำมูกไหล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับก๊าซโอโซน lag5, อาการระคาย เคืองหรือแสบตา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับก๊าซโอโซน lag6, อาการปวดศีรษะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับก๊าซโอโซน lag7, อาการเสียงแหบมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ lag 4 สรุปการศึกษา เมื่อควบคุมปัจจัยตัวกวนแล้ว พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารมลพิษและอาการในระบบต่างๆ ถึงแม้ว่าค่าการตรวจวัดระดับสารมลพิษไม่เกินค่ามาตรฐาน ข้อพึงระวังในการเผยแพร่ผลงานวิจัย การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุหรือแหล่งที่ปล่อยสารมลพิษen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent2000559 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectมลพิษทางอากาศen_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารมลพิษในอากาศและอาการในประชากรกรณีศึกษาบ้านควนหัวช้าง อ.จะนะ จ.สงขลาen_US
dc.title.alternativeThe Association between the concentration of air pollutions and the symptoms in population : Case study in Baan-Kaun-Hua-Chang, Chana District, Songkhlaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale There are association between the concentration of air pollutions and morbidities and mortalities of cardio-pulmonary and vascular diseases from acute and chronic exposure. In Chana district, Songkla. There are many constructions and many types of business such as the power plants and the gas separation plants. From the factories’ reports, the concentration of air continuous monitoring pollutions are below the standard limits but there is no survey to study the association between the concentration of air pollutions and the symptoms in this population. Objectives To study the association between the concentration of air pollutions and the symptoms in Baan-Kuan-Hua-Chang’s population Methodology Time series were performed in 319 subjects (everyone who stays in this region, age more than 10 years old) in 9 July – 22 August 2009 for 44 days. Exposures are the concentrations of the air pollutions, there are PM10, NO2, SO2, CO and O3, measuring by the mobile unit and the concentrations were analyzed with standard methods. Outcomes are 18 symptoms in 5 systems, there are skin, chest, cardio, neuro, opthamo systems, measuring by self administrative questionnaires. The other confounders were included in the questionnaires such as smoking, personal histories. This study also monitored and recorded the meteorological data such as humidity, temperature, wind speed. The Generalized Estimating Equation (GEE) were performed using R 2.10.1 with Epicalc, NLME packages. The results 319 subjects were analyzed, 114 male(45.14%). The average of age is 40.45 ± 18.12 years old. There are 10.03% of hypertension in the subjects and 9.4% of allergic disease. 54.55% of the subjects is rubber tapping. 24.76% of the subjects still smoking (5.99+ 5.39 pack-year) and 54.23 % of the subjects are secondary smoker. There are some associations between the air pollutions and symptoms after adjusting the meteorological data, personal data. Such as nausea and vomiting and dizziness is positive association with NO2lag1, cough and rhinorhea is positive association with O3lag5, eye irritation is positive association with O3lag6, headache is positive association with O3lag7 , hoarseness is positive association with SO2lag4. Conclusion After adjusting the meteorological data, personal data, There are some associations between the air pollutions and symptoms although the exposure are low concentration in this area. Caution This study did not aim to identify which is the source of the pollutions.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ส834ค 2552en_US
dc.identifier.contactno52-011en_US
dc.subject.keywordสิ่งแวดล้อมในโรงงานen_US
dc.subject.keywordผลกระทบทางสุขภาพen_US
.custom.citationสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, ชนนท์ กองกมล, ฐิติมา เภอเกลี้ยง, วรรณศิลป์ บุญณะแก้ว, ฟาอีซ๊ะ โตะโยะ, สมฤดี โสมเกษตรินทร์ and ปิยะดา กองกมล. "ความสัมพันธ์ระหว่างระดับสารมลพิษในอากาศและอาการในประชากรกรณีศึกษาบ้านควนหัวช้าง อ.จะนะ จ.สงขลา." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3003">http://hdl.handle.net/11228/3003</a>.
.custom.total_download217
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1712.pdf
ขนาด: 2.524Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย