• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้

อรสา กนกวงศ์; สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ; สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์; วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย; สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง;
วันที่: 2553-07
บทคัดย่อ
การสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ เป็นประมวลข้อค้นพบจากโครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 เรื่อง คือ 1) การสังเคราะห์องค์ความรู้ระบบสุขภาพ 2) การจัดการสุขภาพของประชาชนและ 3) การศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์ระบบสุขภาพและค้นหาแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี 9 เดือน ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้ความสมดุลย์ในการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เสียไป จึงกระทบต่อปัญหาสุขภาพทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญาณ (ปัญญา) ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทำให้เกิดการสูญเสียพ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อน ขาดเสาหลักของครอบครัว ขาดผู้นำในชุมชนและความมั่นคงทางจิตใจลดลง ประชาชนมีความเครียด นอนไม่หลับ บางรายเป็นทุกข์ที่ไม่จางหาย ทำมาหากินลำบาก เนื่องจากไม่มีความปลอดภัยในการเดินทาง ประชาชนเกิดความระแวงระวังตัวมากกว่าปกติ นอกจากนี้มีผู้พิการ หญิงหม้าย และเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยโรคเรื้อรังดูแลตนเองได้น้อยลง การจัดการสุขภาพของภาคประชาชน ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ (ปัญญา) การพูดคุยกับคนในครอบครัว การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน การดูแลตนเองที่เจ็บป่วยเล็กน้อยยังคงใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ก่อนไปรับบริการที่คลินิกเอกชนและสถานบริการภาครัฐ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินทางเวลากลางคืน การเดินทางคนเดียว และระมัดระวัง ระแวงในการสื่อสารกับคนแปลกหน้า ส่วนกลุ่มวัยรุ่นใช้การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจและผ่อนคลายความเครียดด้วยการหากิจกรรมอย่างอื่นเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อช่วยผ่อนคลาย เช่น ดูทีวี ฟังเพลง อ่านหนังสือบันเทิง การบริการสุขภาพภาครัฐมีการให้บริการในสถานบริการเป็นหลัก ซึ่งพบว่าสามารถให้การบริการด้านส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็กและการบริการตามบริบทและวิถีมุสลิมได้ดีขึ้น ส่วนการบริการสุขภาพเชิงรุก เช่น การเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหมู่บ้านปฏิบัติได้น้อยลง การบริการสุขภาพในชุมชนจึงได้อาศัยอสม. ผู้ช่วยในการดำเนินงาน สำหรับการเยียวยามีแนวโน้มดูแลได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ส่วนการบริการฉุกเฉินและส่งต่อยังไม่สามารถให้บริการช่วยชีวิต ณ. จุดเกิดเหตุได้เต็มประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน มีดังนี้ ด้านนโยบาย ควรสนับสนุนให้บุตรหลานของคนในพื้นที่ได้รับการศึกษาต่อ โดยการให้ทุนการศึกษาและกลับมาใช้ทุนในพื้นที่ มีนโยบายเสริมหลักสูตรสายสามัญในโรงเรียนปอเนาะ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมอิสลาม ส่งเสริมให้เยาวชนเข้าใจและเข้าถึงหลักคำสอนทางศาสนาที่ตนเองนับถือและพัฒนาการจัดบริการเครือข่ายในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่ ควรพัฒนาระบบการติดตามและประเมินโครงการในพื้นที่ได้รับอย่างเป็นระบบ รวมทั้งควบคุมกำกับให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพและการใช้ภาษาถิ่นให้บุคลากร พัฒนาเครือข่ายประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองให้เข้มแข็งมากขึ้น ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ควรศึกษาทบทวนนโยบายค่าตอบแทนและการกำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพงานที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตและการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ ถอดบทเรียนโครงการพัฒนางานที่ดีเด่นในพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการต่อยอดทำงานแก่หน่วยงานอื่นๆ และสนับสนุนการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานในพื้นที่ให้มากขึ้น
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1703.pdf
ขนาด: 2.246Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 15
ปีพุทธศักราชนี้: 7
รวมทั้งหมด: 252
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV