แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาเส้นทางเข้าสู่การเป็นผู้เสพและการเป็นผู้จำหน่ายยาบ้าของผู้รับบำบัดหญิง:กรณีศึกษา ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูยาเสพติดกองบินที่ 23,จังหวัดอุดรธานี,ประเทศไทย

dc.contributor.authorกิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญen_US
dc.contributor.authorปิติพงศ์ ภูครองหินen_US
dc.coverage.spatialจังหวัดอุดรธานีen_US
dc.date.accessioned2010-10-08T07:29:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:26:18Z
dc.date.available2010-10-08T07:29:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:26:18Z
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.otherhs1723en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3024en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) เพื่อศึกษาถึงเส้นทางการเข้าสู่การเป็นผู้เสพและหรือจำหน่ายยาบ้า และศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีอิทธิพลต่อการนำเข้าสู่เส้นทางการเป็นผู้เสพและหรือจำหน่ายยาบ้า กรณีผู้รับการบำบัดหญิง ในศูนย์บำบัดและฟื้นฟูยาเสพติด กองบินที่23 จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย ผู้เข้ารับการบำบัดยาบ้าเพศหญิง ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามปลายปิด และแนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาเป็นดังนี้ ผลการศึกษาเส้นทางการเข้าสู่การเป็นผู้เสพ พบว่า ผู้เสพยาบ้าเริ่มต้นเสพยาบ้าในขณะที่อายุยังน้อย โดยเริ่มจากมีการคบเพื่อน มีการคบเพื่อนชายที่เรียกว่าแฟน และได้รับการแนะนำ ชักจูงให้ใช้ยาบ้า ทั้งนี้มีปัจจัยนำที่เป็นแรงจูงใจให้ตัดสินใจเสพยาบ้าคือ การรับรู้ว่ายาบ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ การรับรู้ว่าตนไม่ได้ติดยาบ้า ทัศนคติที่ดีต่อยาบ้าว่ามีประโยชน์ ทำให้มีเพื่อน ทำให้ลืมความทุกข์ ส่วนปัจจัยเอื้อที่ทำให้เข้าสู่เส้นทางการเสพได้โดยง่ายได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงยาบ้าได้ง่าย เพราะเพื่อน หรือแฟน หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้จำหน่ายยาบ้าอยู่แล้ว ส่วนราคาของยาบ้าเป็นปัจจัยเอื้อต่อการเข้าสู่การเสพคือในกรณีที่เป็นผู้จำหน่ายด้วย หรือผู้ที่มีกำลังซื้อจะสามารถซื้อยาบ้าได้ในราคาต้นทุน ทำให้มีปริมาณในการเสพมากกว่าผู้ที่ไม่มีกำลังในการซื้อยาบ้า และมีความถี่ในการเสพยาบ้ามากกว่าผู้ที่ไม่มีกำลังซื้อ ส่วนปัจจัยเสริมที่มีอิทธิพลสนับสนุนให้บุคคลตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางการเสพได้แก่ ความต้องการการยอมรับ เป็นสมาชิกของกลุ่ม มีบุคคลที่มีอิทธิพลในการสนับสนุนให้ตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางการเสพยาบ้า ได้แก่ เพื่อน แฟน ครอบครัว ผลการศึกษาเส้นทางการเข้าสู่การเป็นผู้จำหน่ายพบว่า ผู้จำหน่ายยาบ้าทั้งหมดเริ่มจากการเป็นผู้เสพยาบ้ามาก่อน เมื่อมีความต้องการเสพมากขึ้น จำเป็นจะต้องมีปริมาณยาบ้าเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแรงจูงใจในการหาเงินเพื่อซื้อยาบ้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่าความต้องการมีเงินสำหรับใช้จ่ายเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางการจำหน่ายยาบ้า ทั้งนี้มีปัจจัยนำที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเป็นผู้จำหน่ายยาบ้าได้แก่ การมีทัศนคติในเชิงบวกต่อการจำหน่ายยาบ้า กล่าวคือผู้จำหน่ายยาบ้ารู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่อการหารายได้ได้ด้วยตนเอง และรู้สึกว่าเป็นการประกอบอาชีพตามปกติ นอกจากนี้ยังมีการรับรู้ถึงประโยชน์จากการจำหน่ายยาบ้าว่าก่อให้เกิดรายได้ จ จำนวนมาก ทำให้มีเศรษฐฐานะดีขึ้น ส่วนปัจจัยเอื้อต่อการเข้าสู่เส้นทางการจำหน่ายยาบ้าได้แก่การเข้าถึงยาบ้าได้ง่าย ราคาของยาบ้าที่นำไปจำหน่ายสามารถจำหน่ายในราคาสูงกว่าต้นทุนได้กำไร 2-4 เท่า การได้รับเครดิตในการซื้อยาบ้ามาจำหน่าย และการมีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในการนำเข้ายาบ้าเพื่อจำหน่าย และสำหรับปัจจัยเสริมที่สนับสนุนให้ตัดสินใจจำหน่ายยาบ้า ได้แก่ แรงจูงใจที่ได้รับจากรายได้จากการจำหน่าย เพราะทำให้มีรายได้สูง ซึ่งนำไปสู่การดำเนินชีวิตในการใช้จ่ายตามความต้องการได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังมีบุคคลที่สนับสนุนให้ตัดสินใจจำหน่ายยาบ้า ได้แก่ เพื่อน แฟน สมาชิกในครอบครัว และความต้องการการยอมรับเป็นอีกปัจจัยเสริมที่สนับสนุนให้มีการตัดสินใจจำหน่ายยาบ้า ผลการศึกษาเกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหายาเสพติดพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าต้องมีการใช้มาตรการที่เข้มงวด รุนแรง และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และคนในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเช่นการแจ้งเบาะแส ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างบางรายระบุว่าคงจะไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ฝังรากลึก ตั้งแต่ทัศนคติ ความเชื่อ ความต้องการของบุคคล และยังเกี่ยวข้องกับปัญหาในระดับครอบครัว สิ่งแวดล้อมในชุมชน ถ้าหากจะแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ต้องไม่ให้มีการผลิตยาเสพติดทุกอย่างen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.format.extent1837226 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherโครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติดen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectยาเสพติดen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาเส้นทางเข้าสู่การเป็นผู้เสพและการเป็นผู้จำหน่ายยาบ้าของผู้รับบำบัดหญิง:กรณีศึกษา ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูยาเสพติดกองบินที่ 23,จังหวัดอุดรธานี,ประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeA Case Study of Pathways leading to “Yaba” (Amphetamine) use by Drug Users and Drug Dealers, as Female Clients of the Wing 23 Drug Rehabilitation Centre, Udon Thani Province, Thailanden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThe aims of this case study, conducted at the Wing 23 Drug Rehabilitation Centre, Udon Thani Province, Thailand, were to ascertain, by means of qualitative research, the pathway(s) leading to “Yaba” (Amphetamine) use by drug users and dealers and determine the factors influencing those behaviours. The participating cases (n=70) were female clients at this institution. Structured questionnaires were used for data collection, using an open-ended in-depth interview format with guidelines to ensure content validity. The use of triangulation methodology ensured enhanced validity and reliability, while content (thematic) analysis was used for overall data analysis. The results were as follows: With respect to the pathway(s) leading to habitual drug use, the study results indicate that the use of Yaba began in participants’ youth, after being introduced to it by friends or boy friends who suggested that they try the drug, thus forming an incipient behavioural pattern of regular use. The influencing factors found to predispose toward such use included a positive attitude deriving from a perception of Yaba’s benefits as a helpful means of acquiring friends and reducing suffering. An important enabling factor was cost, as drug users who have more money can acquire more Yaba and can therefore use it more frequently. Reinforcing factors included the need for acceptance and the influence of significant persons such as friends, boyfriends and family members. In considering the likely pathway(s) leading to involvement in drug dealing, the study results indicate that such cases had a history of drug-taking, and the increasing need for money to support their habit motivated them to eventually become drug dealers. The results therefore suggest that lack of money was an important contributory factor impelling them towards drug dealing. An influential predisposing factor was a positive attitude engendered by the realization that they could work and earn money by their own efforts, leading to improvement in their economic status, with a concomitant feeling of pride in their ability to do so. The fact that Yaba could be obtained more easily, and that they could sell the drug for 2-4 times more than the original cost, were important enabling factors. A significant reinforcing factor facilitating their decision to become drug dealers was the realization that increased income would lead to greater ช levels of convenience in their life. Family members were also implicated as persons influencing their decision to become drug dealers. With respect to approaches to solving the narcotic problem, the study indicates that most participants supported maintaining significant interaction between all relevant parties, advocating vigilance with respect to drug-related behaviours. Community members should also participate by providing important information to investigators. However, some participants suggested that the narcotic problem could not be solved easily because of its large scale and the fact that it was related to personal attitudes, beliefs, behaviours and needs. Both family and environmental factors within the community were implicated as contributors to the problem. The consensus opinion was that, as an effective approach toward a solution, narcotics production should cease altogether.en_US
dc.identifier.callnoHV5840.T5 ก674ก 2553en_US
dc.identifier.contactno50ข002en_US
dc.subject.keywordยาบ้าen_US
dc.subject.keywordผู้เสพยาเสพติดen_US
dc.subject.keywordผู้จำหน่ายยาเสพติดen_US
.custom.citationกิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญ and ปิติพงศ์ ภูครองหิน. "การศึกษาเส้นทางเข้าสู่การเป็นผู้เสพและการเป็นผู้จำหน่ายยาบ้าของผู้รับบำบัดหญิง:กรณีศึกษา ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูยาเสพติดกองบินที่ 23,จังหวัดอุดรธานี,ประเทศไทย." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3024">http://hdl.handle.net/11228/3024</a>.
.custom.total_download134
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1723.pdf
ขนาด: 794.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย