Show simple item record

The Appropriate Roles of the Ministry of Public Health within Health Care Decentralization

dc.contributor.authorวินัย ลีสมิทธิ์en_US
dc.contributor.authorสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์en_US
dc.date.accessioned2010-11-26T08:11:19Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:26:39Z
dc.date.available2010-11-26T08:11:19Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:26:39Z
dc.date.issued2553-10en_US
dc.identifier.otherhs1757en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3060en_US
dc.description.abstractตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 กระทรวงสาธารณสุขได้ถ่ายโอนสถานีอนามัยจำนวน 28แห่งแก่อปท.จำนวน 28 แห่ง มีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลว อปท.ส่วนใหญ่ยอมรับว่าขาดศักยภาพทั้งด้านการจัดการและการเงิน เป็นเรื่องจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องหาทางเลือกอื่นๆสำหรับกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขตามที่กฎหมายกำหนด เหล่านี้เป็นเหตุผลของการศึกษาวิจัยนี้ การศึกษากำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ประการ คือ 1)หาทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อการบริหารจัดการหน่วยบริการกระทรวงสาธารณสุขหลังกระจายอำนาจ 2)วิเคราะห์บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขสำหรับเชื่อมโยงกับอปท.เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ 3)วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขหลังกระจายอำนาจ และ 4)วิเคราะห์การอภิบาลระบบโดยรวมหลังกระจายอำนาจเพื่อให้เกิดบริการที่ดีกว่าเดิม วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ กับการประชุมระดมความคิดของตัวแทนที่มาจากกระทรวงสาธารณสุข สปสช. อปท. องค์กรอิสระ นักวิชาการและชุมชน ข้อมูลที่ได้ถูกนำไปวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสังเคราะห์ประเด็นสำคัญนำเสนอเชิงพรรณาประกอบตารางและภาพที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ามีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอยู่ 6 ประการ คือ 1)การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขในบริบทประเทศไทยเป็นกลวิธีไม่ใช่เป้าหมาย มีความหมายมากกว่าเพียงการถ่ายโอนหน่วยบริการแก่อปท.มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับที่ดีขึ้น 2)เขตสุขภาพภายใต้คณะกรรมการบอร์ดอิสระและดูแลสนับสนุนโดยกระทรวงสาธารณสุขน่าจะเป็นทางเลือกสำหรับบริหารจัดการหน่วยบริการกระทรวงสาธารณสุขที่เหมาะสม เพราะระบบสุขภาพเชื่อมโยงไม่แยกส่วนโดยเฉพาะระบบส่งต่อ มีความประหยัดต่อขนาด มีความยืดหยุ่นให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามีส่วนร่วมทั้งการจัดการและบริการ พัฒนาธรรมาภิบาลได้ดี ไม่มีปัญหาการขัดแย้งเชิงความคิดนโยบายและการดำเนินงาน แต่ขาดกฎหมายและระเบียบรองรับและต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาเป็นกรรมการบอร์ดซึ่งขาดแคลนในพื้นที่ 3)บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขที่เชื่อมโยงกับอปท.เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคควรเน้นด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การป้องกันโรคที่พบบ่อยในพื้นที่ และด้านบริการสังคมที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขต้องมีบทบาทควบคุมโรคที่เกิดระบาดรุนแรงและต้องการวิชาการที่ก้าวหน้า 4)บทบาทหลังการกระจายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงไปมาก กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทสำคัญสำหรับกำหนดนโยบาย การกำกับด้วยกฎหมายและประสานงานระดับชาติ ส่วนหน่วยงานระดับต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติโดยการวางแผน ติดตามประเมินผล จัดสรรทรัพยากร สนับสนุนวิชาการ และประสานงานกับหน่วยต่างๆ 5)การอภิบาลระบบโดยรวมต้องประกอบด้วยโครงสร้างบริหารราชการเดิม นำกลไกตลาดมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างเครือข่ายอภิบาลที่พัฒนาธรรมาภิบาลที่ดี และสุดท้าย 6)ข้อควรระวังในการกระจายอำนาจที่กระทบการทำงานขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่และความไม่พร้อมของอปท. การศึกษาได้เสนอแนะว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในความหมายของการกระจายอำนาจแก่ประชาชน เขตสุขภาพน่าจะได้รับการศึกษาวิจัยพัฒนาเชิงลึกและนำไปสู่นโยบายที่ชัดเจน สมควรกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการบอร์ดระดับชาติขึ้นกำกับดูแล วางแผน และพัฒนาอย่างจริงจังต่อเนื่อง ควรทบทวนกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องและปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้เกิดการกระจายอำนาจที่คล่องตัวโดยเฉพาะการจัดตั้งเขตสุขภาพและการกำหนดบทบาทหน้าที่หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขหลังกระจายอำนาจ และสุดท้ายการศึกษาวิจัยระบบสุขภาพของเขตสุขภาพควรหาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างอำนาจ การจัดการและบริการให้เห็นภาพได้ชัดเจนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent845016 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleบทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeThe Appropriate Roles of the Ministry of Public Health within Health Care Decentralizationen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeSince 1999, the Ministry of Public Health (MOPH) has transferred 28 health centers to 28 local governments (LGs). There were both success and failure. Most of LGs accepted that they lack capability in both health care management and financing. It was essential that MOPH find out other alternatives for decentralization as the law assigned. This was the rationale why needed a study. The research had four important objectives including 1) finding out the alternatives for managing health care units of the MOPH after decentralization. 2) analyzing the appropriate roles of the MOPH linking with the LGs for health promotion and disease prevention in local areas. 3) analyzing the roles of the MOPH’s different organizations after decentralization and 4) analyzing the appropriate overall system governance after decentralization in order to achieve better health care. The research methods consisted of reviewing the national and international experiences on health care decentralization, and brainstorming of the representatives from MOPH, NHSO, LGs, NGOs, experts and community. The obtained data was analyzed with content analysis technique. Then the results of analysis was synthesized and presented descriptively, complementing with relevant tables and figures. The result of the study pointed out six important issues comprising, first, health care decentralization in the Thai context was a means rather than an end. The definition was far more meaningful than just the transfer of health care units to LGs, concentrating on population’s beneficiaries. Second, area health, under the responsibility of the area health board supporting by the MOPH, was the most appropriate option for decentralization since the health care system was united ,not fragmented, especially the referral system. There was economy of scale. The area health was very flexible allowing all stakeholders to join in both service administration and delivery. Good governance was feasibly developed. It could solve the problem of conflict of interest at both policy and operational levels. However, there was a lack of legal statute to support. The area health required expertise recruited as a board member which was very scarce in local area. Third, the appropriate roles of the MOPH connecting with LGs for health promotion and disease prevention should focus on quality of life improvement, the specific target group services, endemic disease control, and social services provision which were the social determinant of health. The MOPH needed to take responsibility for the pandemic disease control and advanced epidemiological technique development. Fourth, roles of the MOPH changed much after decentralization. The MOPH had important roles in policy setting, law regulation and collaboration with international agencies. The units of the MOPH played an important role for putting the declared policy into practice via health care planning, monitoring and evaluation, resource allocation, technical support and coordination with other organizations. Fifth, the overall system governance needed a combination of formal bureaucratic system, market mechanism to improve efficiency, and partnership in health working for good governance. And, finally, it should be bewared that there were some effects of decentralization concerning health personnel’s tenure and motivation, and the incapability of some LGs. The study recommended that the meaningful definition of health care decentralization should be publicly advocated. The area health should be more deeply studied and proposed as a national policy. The national board of health care decentralization was essential that it needed to be taken into consideration for the sake of continuous decentralization planning and development. The relevant regulations and laws needed to be revised and mandated in order that the decentralization could be implemented flexibly, especially the establishment of area health and the designing of the new roles of MOPH and its organizations. Finally, it was recommended that the area health need urgently studied in terms of the relations of the structure, authority and service delivery to be clearly figured out.en_US
dc.identifier.callnoWA530 ว619บ 2553en_US
dc.identifier.contactno53-025en_US
dc.subject.keywordDecentralizationen_US
.custom.citationวินัย ลีสมิทธิ์ and สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. "บทบาทที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3060">http://hdl.handle.net/11228/3060</a>.
.custom.total_download217
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year23
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1757.pdf
Size: 892.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record