Show simple item record

ทางเลือกเชิงนโยบาย เรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข

dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์en_US
dc.contributor.authorหทัยชนก สุมาลีen_US
dc.date.accessioned2010-12-13T08:15:44Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:26:31Z
dc.date.available2010-12-13T08:15:44Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:26:31Z
dc.date.issued2553-07en_US
dc.identifier.otherhs1764en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3074en_US
dc.description.abstractผลการรักษาหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์จากการรับบริการทางด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือความประมาทของผู้ให้บริการทางการแพทย์ก็ตาม นำมาซึ่งความสูญเสียและความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้การรักษา ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการให้บริการด้านสุขภาพของประเทศที่ความศรัทธาและความเชื่อมั่นระหว่างกันและกันกำลังจะสูญหายไป กระบวนการชดเชยในปัจจุบันที่ต้องใช้กระบวนการทางศาล ไม่อาจเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ส่วนการชดเชยเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 41 ที่ให้เงินชดเชยโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหายได้ระดับหนึ่ง แต่ครอบคลุมเฉพาะผู้ใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเกิดแนวคิดที่จะขยายความคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคนและร่างกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องดังกล่าว คณะวิจัยจึงเห็นสมควรที่จะได้มีการสรุปทางเลือกเชิงนโยบายและชี้ให้เห็นผลดีผลเสีย เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีองค์ความรู้ที่เท่าทันกัน และสามารถประเมินความเป็นไปได้ของทางเลือกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายเรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิเคราะห์เอกสาร และสร้างสมการทำนายค่าใช้จ่ายของกองทุน ผลการศึกษาพบว่าการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์โดยไม่พิสูจน์ความผิดผ่านกลไกที่มิใช่ศาลได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในหลายประเทศแถบสแกนดิเนเวียและประเทศนิวซีแลนด์ แนวคิดนี้อยู่บนหลักการที่ตระหนักในความรับผิดชอบของผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด รูปแบบของแหล่งที่มาของเงินชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด มี 2 แบบที่แตกต่างกัน คือ 1) รายได้จากการเก็บจากผู้ให้บริการหรือกองทุนสุขภาพที่ดูแลสถานพยาบาล ซึ่งผู้ให้บริการในภาครัฐมีแหล่งเงินมาจากภาษีเงินได้ ส่วนผู้ให้บริการภาคเอกชนต้องจ่ายเบี้ยประกันเองและ 2) เก็บภาษีสมทบจากผู้มีรายได้โดยมีเพดานรายได้ระดับหนึ่งและรัฐสมทบให้กับผู้ไม่มีรายได้ และอนุญาตให้เรียกเก็บจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั้งรายบุคคลและองค์กรได้ (รูปแบบของประเทศนิวซีแลนด์) นักวิจัยเห็นว่า ประเทศไทยควรเลือกรูปแบบที่อยู่บนแนวคิดความรับผิดชอบของผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด (No-Fault Liability) ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการได้ และควรสร้างกลไกการชดเชยเต็มรูปและตัดสิทธิทางศาล (ไม่ตัดสิทธิทางศาลถ้าไม่ขอรับเงินชดเชยจากกองทุน) ซึ่งจะช่วยเยียวยาความเสียหายจากการบริการสุขภาพของผู้เสียหายได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว ประเภทความเสียหายที่จะได้รับการชดเชยควรครอบคลุมความเสียหายแก่ชีวิต การสูญเสียอวัยวะหรือพิการหรือทุพพลภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การขาดงานและค่าขาดไร้อุปการะ ส่วนแหล่งการคลังจากการศึกษานี้เสนอให้กองทุนสุขภาพที่ดูแลหลักประกันสุขภาพของผู้มีสิทธิ์จ่ายแทนสถานพยาบาล ส่วนสถานพยาบาลเอกชนให้จ่ายเบี้ยประกันเอง นักวิจัยได้ประมาณการรายจ่ายของกองทุนและคาดประมาณเบี้ยสมทบหรืองบประมาณตามทางเลือกของแหล่งที่มาของเงิน เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พิจารณา พบว่า ค่าใช้จ่ายของกองทุนมีค่าอยู่ระหว่าง 332 - 659 ล้านบาทต่อปี เบี้ยประกันเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5-10 บาท/ประชากรต่อปี แต่ถ้าคำนวณหารด้วยจำนวนผู้ป่วยในทั้งหมดจะอยู่ระหว่าง 80 – 159 บาท/รายผู้ป่วยใน ทั้งนี้ยังไม่ได้นำจำนวนผู้ป่วยนอกมาคิด ถ้าเก็บเบี้ยประกันจากกองทุนประกันสุขภาพตามจำนวนผู้มีสิทธิ์ 5-10 บาท/ประชากร กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องจ่ายสมทบระหว่าง 247-492 ล้านบาทต่อปี ที่เหลือรัฐสมทบ 85-167 ล้านบาทต่อปี และเก็บจากสถานพยาบาลเอกชน เฉพาะบริการที่อยู่นอกหลักประกันสุขภาพของรัฐ การถกเถียงในประเด็นต่างๆ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะช่วยให้มีการนำข้อมูลมาเปิดเผยต่อสาธารณะมากยิ่งๆ ขึ้น ดังนั้นการศึกษาให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะสามารถแสดงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน จะช่วยให้สังคมมีส่วนในการตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมด้วยมากยิ่งๆ ขึ้น นอกเหนือจากการแทรกแซงของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ข้อควรระวังคือหากระบบสุขภาพด้อยคุณภาพ มีปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนและจากความผิดพลาดของระบบสูง จะทำให้จำนวนการชดเชยความเสียหายจากกรณีของภาวะแทรกซ้อนและระบบสูงกว่าจำนวนการชดเชยความเสียหายจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการ และมีผลทำให้ต้นทุนการชดเชยในระบบสูงขึ้น นอกจากนี้การดำเนินงานของกระบวนการชดเชยในระบบไม่พิสูจน์ผู้กระทำผิดต้องปกป้องชื่อเสียงของผู้ให้บริการ เพื่อไม่ให้บั่นทอนกำลังใจในการให้บริการแต่มีระบบข้อมูลย้อนกลับให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleทางเลือกเชิงนโยบาย เรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW74 ศ486ท 2553en_US
dc.identifier.contactno51-018en_US
dc.subject.keywordการชดเชยผู้เสียหายen_US
dc.subject.keywordกองทุนen_US
dc.subject.keywordผู้เสียหายen_US
.custom.citationศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ and หทัยชนก สุมาลี. "ทางเลือกเชิงนโยบาย เรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3074">http://hdl.handle.net/11228/3074</a>.
.custom.total_download75
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1764.pdf
Size: 316.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record