กระบวนการทางการเมืองในการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข:กรณีศึกษาการถ่ายโอนสถานีอนามัย
dc.contributor.author | เวียงรัฐ เนติโพธิ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2011-02-07T01:34:19Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:27:26Z | |
dc.date.available | 2011-02-07T01:34:19Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:27:26Z | |
dc.date.issued | 2554 | en_US |
dc.identifier.other | hs1775 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3099 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษากระบวนการถ่ายโอนสถานีอนามัยจากกระทรวงสาธารณสุขไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าความคิดเห็นและการขับเคลื่อนทิศทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐมีทิศทางที่ไม่ตรงกันระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ในขณะที่ส่วนกลางไม่ได้ผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีผลประโยชน์ทางการเมืองและความต้องการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นกลับสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้บริหารมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลง และพยายามที่จะพัฒนาไปสู่การใช้อำนาจในท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น การศึกษากระบวนการถ่ายโอนอำนาจด้านสาธารณสุขสองระดับคือระดับส่วนกลางและระดับส่วนท้องถิ่น ได้ชี้ให้เห็นอุปสรรคและปัญหาสำคัญๆ ในการถ่ายโอนอำนาจสู่ท้องถิ่นทั้งสองระดับ ในระดับส่วนกลางพบอุปสรรคดังนี้ (1) ปัญหาความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตามกฎหมาย แม้การกระจายอำนาจได้ผ่านขั้นตอนกฎหมายและการวางโครงสร้างองค์กรไปสมบูรณ์แล้ว แต่ในกระบวนการนั้นกลับไม่เกิดขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติ (2) การยึดถือความชำนาญเฉพาะด้านมากกว่าหลักการกระจายอำนาจ กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่มีความชำนาญเฉพาะด้านและมีมาตรฐานทางวิชาชีพที่ถือเป็นหลักปฏิบัติกันมานาน จึงไม่เห็นความจำเป็นในการถ่ายโอนอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ และ (3) การเน้นการถ่ายโอนโดยให้ขึ้นอยู่กับส่วนกลางมากกว่าเน้นที่ท้องถิ่น ทำให้ไม่มีการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆในท้องถิ่น ส่วนระดับท้องถิ่นนั้นพบปัญหาประการสำคัญคือ (1) ความไม่เป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง ทำให้บางองค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สนับสนุนภารกิจของสถานีอนามัยหากไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ และ (3) การขาดความรู้และความชำนาญด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ดีการศึกษานี้ก็ได้ชี้ให้เห็นพลวัตที่สำคัญบางประการ ท่ามกลางอุปสรรคปัญหาต่างๆนี้ ทำให้เราได้เห็นการแสวงหาทางออกเพื่อการแก้ปัญหาอันเป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และได้เห็นการแข่งขันทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหากไม่เป็นที่พอใจของประชาชนในระยะยาว พลวัตเหล่านี้จะส่งผลให้มีการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2399795 bytes | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | สาธารณสุข--นโยบายของรัฐ | en_US |
dc.subject | Health Administration | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | กระบวนการทางการเมืองในการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข:กรณีศึกษาการถ่ายโอนสถานีอนามัย | en_US |
dc.title.alternative | The Political Process of Public Health Decentralization in Thailand: studying the Case of Primary Care Units | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | This project is a study of political process, both at the central and the local levels, in the evolution of the primary health care units from the Ministry of Public Health to the local administrative organizations. The result demonstrates irreconcilable visions on decentralization between the central and the local administrations. The central administration, in this case the Ministry of Public Health, proves reluctant to transfer its authority to the local administration, while the local administration grasps the new opportunities from the public health management. For the local administrative organizations, the health care management can be a valuable means to respond to the citizen’s needs which will significantly lead to secure the votes for the next elections. The health care service, thus, empowers the local administration although it apparently became an interest seeking for some local politicians. In the process of public health evolution, obstruction and difficulties are found both at the central and the local levels. At the central administration, some difficulties are indicated as follows. (1) Although the decentralization process had been completed by the legal statement and organization structure, policies following the law were not implemented, thus, showing the failure of law enforcement even by the government agencies themselves. (2) The central administration emphasizes more on the expertise and profession than the decentralization doctrines do. The Ministry of Public Health has long been recognized for its capability to keep the professional standard, therefore, the officers do not see the necessity of decentralization. (3) The decentralization process that is engendered at the central administration gives rise to a deadlock. That is because it is fundamentally impossible for the power holders, particularly at the central administration, to relinquish their power to the others. From the 5 case studies at the local administration, the difficulties are evinced as follows. (1) The local administrative organizations lacks of autonomy. (2) The local administrations are facing politicians’ corruption which in return had become liability for decentralization although there are only some cases of corruptions. (3) The local administrative officers and elected officers do not have skill and knowledge in the public health care. However, this study discovers the distinguished dynamics at the local administration amid all those difficulties. Firstly, the way the local administrative organizations solve the particular issues at their localities is remarkable as this will lead to innovative governance. Secondly, the electoral politics makes accountability possible since the voters’ satisfaction became the focus of political power. Thirdly, despite some corruption cases, the local administrations are exposed to the challenge from the opponents and the civic groups alike. Eventually, all these dynamics will bring about better service providing by the local administrative organizations in the long term. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ว925ก 2554 | en_US |
dc.identifier.contactno | 51-099 | en_US |
.custom.citation | เวียงรัฐ เนติโพธิ์. "กระบวนการทางการเมืองในการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข:กรณีศึกษาการถ่ายโอนสถานีอนามัย." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3099">http://hdl.handle.net/11228/3099</a>. | |
.custom.total_download | 195 | |
.custom.downloaded_today | 2 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 34 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 10 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2432]
งานวิจัย