แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การบริหารยุทธศาสตร์และนโยบายสุขภาพระดับชาติของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้

dc.contributor.authorอรสา โฆวินทะen_US
dc.contributor.otherOrasa Kovindhaen_US
dc.coverage.spatialแคนาดาen_US
dc.coverage.spatialออสเตรเลียen_US
dc.coverage.spatialเกาหลีใต้en_US
dc.date.accessioned2011-05-26T06:20:25Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:28:33Z
dc.date.available2011-05-26T06:20:25Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:28:33Z
dc.date.issued2554-04-16en_US
dc.identifier.otherhs1807en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3150en_US
dc.description.abstractการศึกษาทบทวนการบริหารยุทธศาสตร์และนโยบายสุขภาพระดับชาติ ของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาพทั้งด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตลอดจนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปรับโครงสร้างและการบริหารนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้ ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชากร ส่งผลให้ประชากรมีอายุยืนยาวมากกว่า 80 ปี และมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นเต็มรูปแบบ รัฐบาลกลางเป็นผู้ชี้นำนโยบาย จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของระดับรัฐ เขต จังหวัดที่สนองตอบนโยบายของรัฐบาลกลาง โดยที่ท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะการสร้างหลักประกันสุขภาพการเข้าถึงการบริการสุขภาพ ประเทศแคนาดาได้จัดตั้งองค์กรใหม่ระดับเดียวกับกระทรวงสุขภาพเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพโดยตรง คือ Public Health Agency of Canada (PHAC) เป็นหน่วยงานของรัฐก่อตั้งขึ้นในปี 2004 เป็นองค์กรภายใต้การกำกับของรัฐบาลกลาง ภายใต้กฎหมาย Public Health Agency of Canada Act (2006) หัวหน้าสำนักงานรายงานตรงต่อรัฐมนตรีสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอนโยบายสุขภาพ การสนับสนุนข้อมูลความรู้ และการพัฒนาสมรรถนะองค์กร เพื่อพัฒนาให้เกิดระบบสุขภาวะที่ยั่งยืนขึ้นในแคนาดา เน้นการส่งเสริมป้องกันสุขภาพและความปลอดภัย และลดภาวะคุกคามต่างๆ ของชาวแคนาดา ผ่านบทบาทการเป็นผู้นำประสานเครือข่าย สร้างและผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในงานส่งเสริมสุขภาพ โดยทำงานใกล้ชิดร่วมกับรัฐ จังหวัด ท้องถิ่น และภาคีความร่วมมือต่างๆ ส่วนการประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้ Medicare อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐ/จังหวัดและท้องถิ่น ประเทศออสเตรเลียปกครองแบบสหพันธ์รัฐคล้ายกับแคนาดา รัฐและเขตปกครองมีอิสระในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการภายในโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพ ระบบสุขภาพของออสเตรเลียจึงมีความหลากหลายโดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพ มีการดำเนินงานเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพทั้งในระดับของรัฐบาลกลาง รัฐและเขตปกครอง เสริมด้วยองค์กรเอกชนหรือมูลนิธิสร้างเสริมสุขภาพที่ดำเนินงานเป็นอิสระ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับชาติ ที่เรียกว่า National Health Promotion Authority ให้ขึ้นตรงต่อ Australian Health Minister’s Advisory Council โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลกลางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น กระทรวงสุขภาพ กระทรวงเกษตร การศึกษาและการขนส่ง และตัวแทนจากรัฐและเขตปกครองต่างๆ รวมทั้งตัวแทนฝ่ายที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ มีเงินทุนสนับสนุน ให้ดูแลการพัฒนาด้านการวิจัย การพัฒนาบุคลากร และการวางยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศแคนาดาแล้วรัฐบาลกลางออสเตรเลียมีบทบาทมากกว่า ส่วนการประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้ Medicare Australia มีมาตั้งแต่ปี 1984 แต่ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างองค์กรไปอยู่ภายใต้ Minister of Human Services ซึ่งรัฐจ่ายให้ประมาณ 75% ของค่าใช้จ่ายในการรับบริการรักษาพยาบาล โดยประชาชนอาจมีประกันสุขภาพเอกชนสมทบในส่วนที่จะต้องจ่ายเพิ่ม รัฐบาลกลางได้มีความพยายามในการกำหนดยุทธศาสตร์ระดับชาติในการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพใน 3 ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพ คือ ภาวะโรคอ้วน การบริโภคยาสูบ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานในระยะยาว สอดคล้องกันในทุกระดับ คือ รัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกต่อสุขภาพของชาวออสเตรเลียโดยตั้งวิสัยทัศน์ให้ประเทศมีสุขภาวะสูงที่สุดของโลกภายในปี 2020 (Australia : The Healthiest Country By 2020) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่สามารถสร้างหลักประกันสุขภาพภายใต้ระบบประกันสังคมให้กับประชาชนได้อย่างถ้วนหน้าภายในระยะเวลาอันสั้นเพียง 12 ปี การจัดระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศเกาหลีใต้ ได้รับการประเมินจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นระบบที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ครอบคลุมทั้งหมด 48.7 ล้านคน โดย 97% ของประชากรมีส่วนร่วมจ่าย โดยมี National Health Insurance Corporation เป็นหน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมตั้งขึ้นในปี 2000 มีหน้าที่บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารจัดการระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการปฏิรูประบบสุขภาพของเกาหลีในช่วงหลังที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ ทั้งในด้านการลงทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น การรวมระบบประกันสุขภาพ การพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินที่จะทำให้สามารถควบคุมรายจ่ายได้ และการแยกบทบาทระหว่างการสั่งยาและการจ่ายยา นอกจากนี้รัฐบาลได้ออกกฎหมายส่งเสริมสุขภาพ และจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพในปี 1995 โดยใช้เงินรายได้จากการขายบุหรี่ และจากกองทุนประกันสุขภาพ จากประสบการณ์ในการพัฒนาระบบสุขภาพของทั้งสามประเทศมีปัจจัยร่วมที่สำคัญคือ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมีหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบายและยุทธศาสตร์ ส่วนภารกิจในการดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของรัฐ จังหวัด ที่มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ดังนั้นหน่วยงานหลักที่มีสมรรถนะสูงในบริหารจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์ การสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติ จึงเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศซึ่งไทยอาจจะนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ กระบวนการทำงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ดี การปรับโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ที่จะทำให้เกิดสำนักบริหารยุทธศาสตร์ (Office of Strategy Management) ได้สำเร็จนั้นทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพัฒนาสมรรถนะบุคคลกร การคัดเลือกบุคคลากรที่มีศักยภาพด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนานโยบาย ตลอดจนการลดงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลัก และให้ความสำคัญต่อการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง มิเช่นนั้นก็จะเป็นการปรับแต่ชื่อสำนักงานโดยไม่ส่งผลให้เกิดการปรับบทบาทในการบริหารและประสานการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.subjectนโยบายสุขภาพen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการบริหารยุทธศาสตร์และนโยบายสุขภาพระดับชาติของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้en_US
dc.title.alternativeReview Report of National Health Strategy and Policy Management in Canada, Australia and South Koreaen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.abstractalternativeThis study reviews the management of national health strategy and policy of three countries: Canada, Australia and South Korea which have the experiences in health development including universal health insurance, health promotion and disease prevention, and risk reduction. These experiences could be examples for Thailand to apply to the management of national health strategy and policy. Canada, Australia, and South Korea are in the high-income country group, have progress in economic and social development especially in health development of their populations. These result in life expectancy longer than 80 years and high proportion of old age over 65 year more than 10%. Moreover, these three countries are fully decentralized, the central governments provide directive policies to the state or province or local government. The central governments might provide partial support budget to policy implementation of local governments that support the central policy. The local governments are responsible for health service provision under the universal health insurance policy. Canada has established a new organization for management of health strategy and policy with the same level of health ministry called Public Health Agency of Canada in 2004 under Public Health Agency of Canada Act (2006) in which the Chief Officer of this agency reports directly to the Health Minister. This agency provides health policies, health information, and capacity building for organization to sustainable health development in Canada which emphasize health promotion and protection including reduction of health threats. This agency coordinates networks and stakeholders, enabling health promotion innovations closely collaborated with state or province or local government. However, the universal health insurance under Medicare is managed by the province and local government. Australia likes Canada fully decentralized and governs by the states and local governments. The health system is fully managed by the states. The Medicare Australia used to be under the Minister of Health and Ageing but recently has been reorganized to be under the Minister of Human Services. Medicare Australia is the main organization that takes care of the Universal Health Insurance Policy in Australia. This policy covers the whole population in which the government pays 75% and the people pay 25% of the health services provided by both public and private facilities. While health promotion has been organized by various agencies both public and private, the central government has established called National Health Promotion Authority directly reported to Australian Health Minister’s Advisory Council in which other sectors such as Agriculture, and Education are included. The central government has put efforts in formulating national health promotion strategies to align the implementations among the central, state and local level in dealing with the three major health risks: obesity, tobacco and alcohol consumptions The national strategies will have a positive impact on the health of the Australian population as the set vision of “Australia : The Healthiest Country By 2020.” South Korea is one of the Asian countries that has established the Social Health Insurance for the whole population within 12 years. It has been recognized by the World Health Organization that Korea health insurance system is the most successful system in which covers 48.7 million in which 97% of the population pay contributions to fund managed by the National Health Insurance Corporation, an independent agency established in 2000, supervised by the Ministry of Health, Welfare, and Family Affairs. This agency is responsible for administrating Health Insurance Fund, utilizing modern information technology for efficiency system management. The lately Korea health system reform focused the system efficiency in term of increase in health promotion investment, combine into single health insurance system, change in method of payment to control the medical care costs, including separation of prescribing and dispensing roles. Furthermore, the health promotion fund was established in 1995 utilizing the tobacco sale tax and health insurance fund. From the experiences of these three countries, there are some common crucial factors: the health ministry is responsible for directing policy and strategy while the health services are the role of state, province, and local government in which decentralization is fully developed. Therefore, the high capability of the national health policy and strategy management agency is highly crucial to the success of translation health policy and strategy into implementation. However, in order to materialize the reorganization of the Bureau of Policy and Strategy to an “Office of Strategy Management (OSM)”, the crucial issues are the capacity of human resources, the recruitment of capable policy analysts and reduction of work not related to policy analysis. If not, it will be only changing the name of the office instead of support effective strategy implementation role of OSM.en_US
dc.identifier.callnoWA540 อ382ก 2554en_US
dc.identifier.contactno54-018en_US
.custom.citationอรสา โฆวินทะ. "การบริหารยุทธศาสตร์และนโยบายสุขภาพระดับชาติของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3150">http://hdl.handle.net/11228/3150</a>.
.custom.total_download540
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year30
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1807.pdf
ขนาด: 1.717Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย