แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การติดตามประเมินผลนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

dc.contributor.authorสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนen_US
dc.contributor.authorมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนen_US
dc.date.accessioned2011-06-29T05:58:58Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:28:26Z
dc.date.available2011-06-29T05:58:58Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:28:26Z
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.otherhs1810en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3161en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้เพื่อเสนอผลการติดตามนโยบายจากคำถามสำคัญว่า กลไกที่มีเพื่อการติดตามประเมินผลต่อการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำหน้าที่อะไร อย่างไร รวมทั้งส่งผลอะไรบ้างจากนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินผลตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยเนื้อหารายงานนี้แบ่งเป็นสามส่วนคือ 1) ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานส่วนกลางภายใต้กระทรวงสาธารณสุขที่สื่อสาร จัดกิจรรมและดำเนินการตามนโยบายรพ.สต.สู่ระดับจังหวัด 2) ลักษณะการมีส่วนร่วมเชิงบทบาทปฏิบัติการขององค์กรที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากองค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข และประมวลผลการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารพ.สต.จากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ 3) อภิปรายผลและข้อเสนอนโยบายในการติดตามกำกับนโยบายรพ.สต. จากการทบทวนกิจกรรมตามลำดับรวมทั้งผลการศึกษาวิจัยที่เกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผลการประมวลเนื้อหาดังกล่าวพบว่าได้เนื้อหาและข้อเสนอที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. ในแง่ความชัดเจนการรับรู้สาระและแนวปฏิบัติของนโยบายที่แตกต่างกัน ตลอดจนความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการชุดบริการลักษณะที่พร้อมคล้ายโรงพยาบาลขนาดย่อในพื้นที่ตำบล อย่างไรก็ตามการศึกษาในระดับพื้นที่ของจตุภูมิ นีละศรี ก็ยังเห็นภาพความพึงพอใจของประชาชนในแง่สิ่งอำนวยความสะดวก แง่กิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการแม้ว่าจะพอใจด้านการเข้าถึงบริการในระดับที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับมิติอื่นๆ ก็ตาม 2. ในแง่การดำเนินนโยบายการพัฒนารพ.สต.มีข้อจำกัดและเสนอแนะให้ดำเนินการในประเด็นการจัดการเรื่องกำลังคน การจัดการวางแผนเครือข่ายบริการในระดับพื้นที่ การสนับสนุนทรัพยากรในระดับต่างๆ ทั้งเชิงการบริหารจัดการงบประมาณ การวางแผนและเสริมศักยภาพบุคลากร ตลอดจนบริการและระบบสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย ให้รพ.สต.เป็นหน่วยที่พร้อมจัดบริการและทำงานตามประสงค์ร่วมกับความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นได้ต่อไป โดยใช้หลักการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังมีการสะท้อนปัญหาและข้อเสนอแนะในประเด็นโครงสร้างระบบงานภายในรพ.สต. รวมทั้งการจัดบริการตามแนวทางปฏิบัติงานที่เน้นงานเชิงรุกที่มีคุณภาพสมดุลกับงานบริการลักษณะตั้งรับภายในหน่วยบริการ 3. ในกรณีที่มีแผนงานชุดโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารพ.สต.ในรูปแบบลักษณะต่างๆ เอง จำเป็นต้องมีการวางกรอบและแนวทางการประเมินผลที่ชัดเจนทั้งระหว่างและหลังการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีเวทีสำหรับสื่อสารความก้าวหน้าและผลที่เกิดขึ้นจากแผนงาน ชุดโครงการและกิจกรรมดังกล่าวเป็นระยะ เพื่อให้สามารถหนุนเสริมการพัฒนากันได้ในช่วงเวลาและเนื้อหาการพัฒนารพ.สต.ที่เหมาะสมต่อไป 4. ทั้งนี้การดำเนินการตามนโยบายรพ.สต.จำเป็นต้องมีกลไกการกำกับติดตาม ประเมินผลนโยบายซึ่งมีข้อเสนอในเชิงการวางแผนการพัฒนาทั้งระยะสั้น ระยะยาว การมีกลไกเสริมเป็นองค์กรวิชาการเพื่อติดตามกำกับและส่งเสริมการพัฒนาระบบคุณภาพของรพ.สต. ควบคู่กับการติดตามกำกับการดำเนินการในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในระดับจังหวัด เขต และกลุ่มผู้บริหารนโยบาย 5. อย่างไรก็ตามการติดตามประเมินผลในเชิงการศึกษาวิจัยประเมินผลภาพรวมและประเด็นเฉพาะของการพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการเป็นระยะเพื่อสะท้อนความก้าวหน้านโยบายภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังของประชาชน ความพร้อมของทรัพยากร งบประมาณ ระบบสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความ ร่วมมือของแต่ละภาคส่วนในระดับพื้นที่ 6. ข้อเสนอสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเพื่อติดตามประเมินผลนโยบายในระยะต่อไปซึ่งควรมีการดำเนินการโดยหน่วยงานวิจัย ประเมินผลในระดับจังหวัด หรือ ระดับองค์กรวิจัยด้านระบบบริการสาธารณสุข (แล้วแต่ประเด็นและความพร้อม) ประกอบด้วย 1. กลุ่มงานวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลความคุ้มค่าของนโยบายรพ.สต. โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายการกำหนดขนาด และระดับการพัฒนา 2. กลุ่มงานวิจัยเพื่อประเมินเปรียบเทียบการรับรู้ของรพ.สต.กับปัจจัยต่างๆ เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาการรับรู้ของประชาชนให้ตรงเป้าประสงค์และสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนารพ.สต. 3. กลุ่มงานวิจัยเพื่อประเมินรูปแบบการสร้างความพึงพอใจต่อระบบบริการของรพ.สต.เพื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยการรับรู้และระดับความคิดเห็นเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านคุณภาพบริการในมิติต่างๆ อาจมีการศึกษาในประเด็นเฉพาะเรื่องความคิดเห็นต่อชุดบริการบางประเภทที่ต้องการให้เกิด เช่น งานเยี่ยมบ้านเชิงรุกในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะงานบริการส่งต่อที่เชื่อมโยงระหว่างรพ.สต.และรพ.แม่ข่าย หรือ การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะบริการ จากจำนวนและบทบาทบุคลากรกลุ่มต่างๆ ภายในรพ. สต. เป็นต้น 4. กลุ่มงานวิจัยเพื่อเทียบเคียง (Benchmarking) ผลงานบริการ หรือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงความร่วมมือของภาคส่วนการบริหารจัดการรพ.สต. ภายในบริบทอำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดเพื่อที่จะเห็นภาพรวมสถานการณ์การพัฒนาในจังหวัดเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนารพ.สต. ระดับจังหวัดได้ต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent54654 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectโรงพยาบาล--การบริหารen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการติดตามประเมินผลนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWX150 ก452 2554en_US
dc.identifier.contactno53-018en_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการประเมินผลen_US
dc.subject.keywordการให้บริการen_US
.custom.citationสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน and มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน. "การติดตามประเมินผลนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3161">http://hdl.handle.net/11228/3161</a>.
.custom.total_download1036
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year65
.custom.downloaded_fiscal_year10

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1810.pdf
ขนาด: 399.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย