• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ทำอะไร อย่างไร ในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่ 58

วลัยพร พัชรนฤมล;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
องค์การอนามัยโลกจัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกขึ้นทุกๆปี ละ 1 ครั้ง ผลลัพธ์ของการประชุมคือ การจัดทำข้อตกลงด้านสุขภาพอย่างเป็นทางการ การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกประจำปี พ.ศ. 2548 เป็นการประชุมครั้งที่ 58 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 มีการจัดทำข้อตกลงได้สำเร็จและประกาศอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น 34 ฉบับ กระบวนการพิจารณาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงนั้นอยู่ภายใต้ธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก โดยต้องเป็นการตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ของประเทศสมาชิกจำนวน 192 ประเทศ ความยากง่าย รวมทั้งระยะเวลาในการจัดทำข้อตกลงแต่ละฉบับไม่เหมือนกัน ขึ้นกับความคิดเห็นของประเทศสมาชิกต่อข้อตกลงฉบับนั้น กระบวนการจัดทำข้อตกลงมีตั้งแต่การแก้ไขอย่างง่าย รวดเร็ว ไปจนกระทั่งการขอแก้ไขด้วยคณะทำงานและใช้เวลานาน การทำงานของทีมนักวิชาการไทยที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสองประการ ประการที่หนึ่ง การมุ่งมั่นสร้างผลงานให้ประเทสไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีวิชาการระดับสากล และประการที่สอง การพัฒนาศักยภาพนักวิชาการไทย ซึ่งทีมงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองข้อในระดับหนึ่ง การทำงานต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทีม การเตรียมความพร้อมของทีมในด้านวิชาการ การปฏิบัติงานจริงที่ต้องให้ความสำคัญทั้งงานด้านวิชาการและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อทีมงานด้วยกันเอง และต่อผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ การปฏิบัติงานของประเทศในแต่ละภูมิภาคมีข้อแตกต่างกัน เช่น การเสนอข้อคิดเห็นและการสนับสนุนกันและกันของประเทศในกลุ่มแอฟริกัน ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสุดท้ายการสรุปรายงานต่อผู้บริหาร ทีมงานนักวิชาการที่ปฏิบัติงานในการประชุมครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์การร่วมประชุมนานาชาติ และการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกมาก่อน อีกส่วนเป็นนักวิชาการใหม่ คำถามที่ท้าทายคือ จะมีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการต่อไปอย่างไร ความต่อเนื่องและความยั่งยืนของงานควรเป็นอย่างไร ควรมีการสร้างเครือข่ายให้มีนักวิชาการของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือไม่ อย่างไร ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข หรือนักวิชาการกลุ่มนี้ หรือใครควรเป็นผู้ตอบคำถามเหล่านี้
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2006_DMJ76_ทำอะไร.pdf
ขนาด: 141.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 56
ปีพุทธศักราชนี้: 28
รวมทั้งหมด: 837
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV