Show simple item record

ระบบหลักประกันสุขภาพ : ประสบการณ์จาก 10 ประเทศ

dc.contributor.authorเสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์th_TH
dc.date.accessioned2011-07-29T07:01:21Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:28:55Z
dc.date.available2011-07-29T07:01:21Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:28:55Z
dc.date.issued2544-04en_US
dc.identifier.isbn9742941084en_US
dc.identifier.otherhs0833en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3239en_US
dc.description.abstractการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูประบบสุขภาพของไทย นอกจากจะเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสของการปฏิรูปด้านต่างๆ ในสังคมไทยแล้ว ยังเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสการปฏิรูประบบสุขภาพของนานาประเทศในโลกในช่วงกว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา กระแสการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูประบบสุขภาพเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ในยุโรป ในเอเชีย และในลาตินอเมริกา ประสบการณ์ของการปฏิรูปในต่างประเทศสามารถใช้เป็นบทเรียนเพื่อศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งและรูปแบบและวิธีการต่างๆ ที่ได้มีการนำไปใช้ปฏิบัติจริงมาแล้ว ทั้งในแง่องค์ประกอบของโครงสร้างระบบสุขภาพ และในแง่ของกระบวนการการปฏิรูป งานชิ้นนี้เป็นการสังเคราะห์บทเรียนการปฏิรูประบบสุขภาพของต่างประเทศจำนวน 10 ประเทศ คือ ประเทศเยอรมนี อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ใต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยที่แหล่งข้อมูลหลักที่ใช้ในการสังเคราะห์มาจากรายงานการปฏิรูประบบสุขภาพของแต่ละประเทศ จากเอกสารทางวิชาการอื่นๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์นักวิชาการจากบางประเทศ ประกอบด้วยกรอบของการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะของระบบสุขภาพพิจารณาในแง่ 1. โครงสร้างในภาพรวม 2. สิทธิประโยชน์ ทางเลือก และภาระของประชาชน/ผู้ใช้บริการ 3. ลักษณะของผู้ให้บริการ วิธีการจ่ายค่าบริการ 4. ลักษณะขององค์กรประกัน แหล่งเงิน จำนวนและบทบาทของกองทุน 5. ผลลัพธ์ขั้นกลางของระบบ ส่วนการวิเคราะห์กระบวนการปฏิรูปพิจารณาในกระบวนการนโยบายขั้นตอนต่างๆ คือ 1. การสร้างประเด็นนโยบาย 2. การกำหนดสาระของนโยบาย 3. การอนุมัตินโยบาย 4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ ประสบการณ์ของ 10 ประเทศที่ศึกษาชี้ว่า ประเทศที่สร้างหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าได้ ล้วนใช้ระบบประกันที่เป็นแบบภาคบังคับ กองทุนประกันสุขภาพที่เป็นกองทุนเดียวมักมีปัญหา การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ แต่การมีกองทุนจำนวนมากมีปัญหาในเรื่องของการแข่งขันระหว่างกองทุน ซึ่งส่งผลให้เกิดการกีดกันผู้ป่วยและผู้สูงอายุ รวมทั้งปัญหาการกระจาย ความเสี่ยงระหว่างกองทุนและความด้อยประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การกำหนดกฎเกณฑ์มีความจำเป็นในการสร้างความเท่าเทียม ประกันคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบประกัน กองทุนควรทำหน้าที่ผู้ซื้อบริการที่ชาญฉลาด ทำการคัดเลือก เจรจาต่อรอง ตลอดจนกำกับ ตรวจสอบคุณภาพของผู้ให้บริการ ระบบต้องมีมาตรการการจ่ายค่าบริการที่ควบคุมค่าใช้จ่ายได้และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมบริการทางด้านการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในการพัฒนาสุขภาพและประสิทธิภาพของระบบในระยะยาว การปฏิรูปที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ในช่วงประมาณหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มุ่งเน้นวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการด้วยกันคือ การขยายหลักประกันสุขภาพและ/หรือสร้างหลักประกันทั่วหน้า และการควบคุมค่าใช้จ่าย ประเทศส่วนใหญ่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิรูป ในขณะที่บางประเทศใช้แผนแห่งชาติ ประสบการณ์ชี้ว่าการผ่านกฎหมายประกันสุขภาพไม่ได้เป็นหลักประกันของการมีหลักประกันสุขภาพ การผลักดันในขั้นตอนการนำไปปฏิบัติมีความสำคัญต่อการบรรลุผล ปัจจัยเชิงกระบวนการหลายประการมีส่วนในการเสริมความสำเร็จของการปฏิรูป เช่น การออกแบบระบบที่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม การจัดการกับปัญหาเชิงระบบแทนที่จะแก้ปัญหาเฉพาะส่วน สภาวะทางเศรษฐกิจ อำนาจทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ในสังคม การสร้างความพร้อมทางการเมือง การเตรียมความพร้อมทางเทคนิคเพื่อให้สามารถนำระบบใหม่ไปปฏิบัติอย่างได้ผล ตลอดจนการสื่อสารทางนโยบายกับผู้ปฏิบัติth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleระบบหลักประกันสุขภาพ : ประสบการณ์จาก 10 ประเทศth_TH
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.description.publicationรายงานการศึกษาประกอบการปฏิรูประบบสุขภาพและการร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ....en_US
dc.identifier.callnoWA540 ส938ก 2543en_US
.custom.citationเสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์. "ระบบหลักประกันสุขภาพ : ประสบการณ์จาก 10 ประเทศ." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3239">http://hdl.handle.net/11228/3239</a>.
.custom.total_download1257
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year29

Fulltext
Icon
Name: hs0833.pdf
Size: 1.635Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record