บทคัดย่อ
เพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีประสิทธิได้มีการกำหนดให้บริหารในรูปคณะกรรมการที่ชื่อ “คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด” มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ และก็ยังมีการดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะค้นหาบริบทและปัญหาการดำเนินการของคณะกรรมการชุดนี้ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงของการปฏิรูประบบสุขภาพและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินการสำหรับคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โดยใช้วิธีการสำรวจภาคสนามสองวิธีคือ วิธีเคราะห์เชิงเอกสารและวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ในโรงพยาบาลตัวอย่างใน ๔ ภาคของประเทศไทย จำนวน ๑๗ แห่ง ช่วงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงกลางเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ พบว่าคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลในแต่ละแห่งมีบทบาทหน้าที่หลักเหมือนกัน คือมีการประชุมคัดเลือกยาเข้าและออกจากบัญชีของโรงพยาบาลในปัจจุบันคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปต้องการชะลอการนำเสนอยาใหม่ที่มีราคาแพงเข้าโรงพยาบาล กรณีของโรงพยาบาลชุมชน สาเหตุที่คณะกรรมการเภสัชกรรมและบำบัดไม่ค่อยมีการประชุมเนื่องจากมีการนำปัญหาต่างๆ เข้าไปพูดคุยในคณะกรรมการบริหารซึ่งมีการประชุมทุกเดือน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนคือการที่แพทย์มักจะทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนในช่วงเวลาสั้นเพียง ๑-๒ ปี จากนั้นก็จะย้ายหรือลาศึกษาต่อ ในส่วนของตัวชี้วัดการดำเนินการสำหรับคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีข้อเสนอให้มีการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับโรงพยาบาลแต่ละระดับ โดนมีการกำหนดตัวชี้วัดต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ ตัวชี้วัดอาจจะเป็นจำนวนครั้งของการประชุม จำนวนรายการยาตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข