Show simple item record

การสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด

dc.contributor.authorจรวยพร ศรีศศลักษณ์en_US
dc.contributor.authorสุภาวดี นุชรินทร์en_US
dc.contributor.authorJaruayporn Srisasaluxen_EN
dc.date.accessioned2011-09-14T04:09:45Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:20Z
dc.date.available2011-09-14T04:09:45Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:20Z
dc.date.issued2553-11en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3311en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจเร่งด่วน (quick survey) เกี่ยวกับองค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ และการ ดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัดทั้ง 26 จังหวัด โดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 1 เดือน ตั้งแต่ 1 – 31 ตุลาคม 2553 โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจการดำเนินงานและ การสัมภาษณ์ ตลอดจนใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการ ดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัดของแต่ละจังหวัด และรายงานประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานของ 26 จังหวัดที่จัดโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 จากผลการศึกษา พบว่าการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ระดับจังหวัด โดยให้ นพ.สสจ. มอบหมายเจ้าหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฝ่ายสาธารณสุขคัดเลือกผู้แทนเป็นกรรมการ รวมทั้งให้มีการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน คณะอนุกรรมการ โดยบทบาทคณะอนุกรรมการมีหน้าที่ประสานความร่วมมือ เพื่อให้การกระจายอำนาจขับเคลื่อน ไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และค้นหานวัตกรรมการกระจาย อำนาจให้กับ อบจ. ให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ โดยให้รายงานภายใน 6 เดือน หากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ ไม่เกิน 12 เดือน การมีคำสั่งแต่งคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับ จังหวัด ดังกล่าวมีการดำเนินงานตามคำสั่งอย่างจริงจังเพียงจังหวัดเดียวคือ จังหวัดน่าน ข้อเสนอสำหรับการดำเนินการในระยะต่อไป ได้แก่ 1)ควรจำกัดการดำเนินงานดังกล่าวในพื้นที่นำร่องที่มี ความพร้อมเพียง 5-10 จังหวัดเพื่อสะสมประสบการณ์และความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความมั่นใจว่า การ กระจายอำนาจได้ส่งผลทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจริง 2)ควรขยายระยะเวลาค้นหานวัตกรรม โดยให้ แต่ละคณะอนุกรรมการฯของแต่ละจังหวัด กำหนดกรอบเวลาตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ มีเวลาสังเคราะห์ข้อเสนอทั้งหมดเสนอปรับแผนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพระยะต่อไป และควรพัฒนาให้มี กลไกสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด โดยมีการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรอย่างเพียงพอ 3)ควรบรรจุ วาระการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ลงในข้อบัญญัติงบประมาณของ อบจ. เพื่อให้มีงบประมาณสำหรับการ ดำเนินการเพื่อความยั่งยืน 4)กระทรวงสาธารณสุขต้องมีความจริงจังกับการดำเนินเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ มากกว่าที่เป็นอยู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สกถ. อปท. เลือกจังหวัดจำนวนหนึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัด แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจังในการดำเนินการในลักษณะ นำร่อง ยึดประโยชน์ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แล้วปฏิบัติการร่วมกัน 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย จากนั้นสรุปผลเพื่อปรับสู่ ระยะต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent233308 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจen_US
dc.subjectHealth Decentralizeen_US
dc.subjectHealth Administrationen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขen_US
dc.titleการสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัดen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.subject.keywordการถ่ายโอนen_US
.custom.citationจรวยพร ศรีศศลักษณ์, สุภาวดี นุชรินทร์ and Jaruayporn Srisasalux. "การสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3311">http://hdl.handle.net/11228/3311</a>.
.custom.total_download57
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1835.zip
Size: 234.8Kb
Format: Unknown
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record