dc.contributor.author | รัญชนา สินธวาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2011-09-28T02:29:53Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:27:02Z | |
dc.date.available | 2011-09-28T02:29:53Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:27:02Z | |
dc.date.issued | 2551 | en_US |
dc.identifier.other | hs1848 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3326 | en_US |
dc.description.abstract | ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เห็นได้จากผลการดำเนินงานที่แตกต่างกันมากในแต่ละจังหวัด โดยแนวทางหนึ่งที่สามารถใช้ในการพัฒนาระบบฯ ได้ คือ การนำตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาประยุกต์ใช้วัดประเมินผลการดำเนินงานของระบบฯ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดที่สามารถรองรับวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. 2551 – 2555 นอกจากนี้ตัวชี้วัดที่พัฒนาต้องสอดคล้องกับการดำเนินงานระดับปฏิบัติการเพื่อให้นำตัวชี้วัดไปใช้ได้จริง ในการศึกษาคณะวิจัยได้ใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ โดยในกระบวนการสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์ได้ใช้เครื่องมือ 2 ชนิด คือ Balanced Scorecard (BSC) และ Success Factor (SF) ซึ่งพบว่า SF จะมีความครอบคลุมในการวิเคราะห์มุมมองด้านต่างๆ มากกว่า BSC ผลจากการศึกษา คณะวิจัยได้พัฒนาแผนที่ยุทธศาสตร์ซึ่งสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ทั้ง 5 ด้าน และนำปัจจัยแห่งความสำเร็จไปวิเคราะห์ตัวชี้วัดได้ทั้งสิ้น 93 ตัวชี้วัด นอกจากนี้คณะวิจัยได้วิเคราะห์ตัวชี้วัดแยกตามมิติด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการใช้งาน เช่น มิติด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และความพึงพอใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยพบว่าตัวชี้วัดที่วิเคราะห์ได้ยังมีข้อบกพร่อง จึงกลั่นกรองตัวชี้วัด โดยพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัดที่ใช้วัดประเมินในระดับจังหวัดและสามารถใช้งานได้ในปัจจุบันเท่านั้น ได้ทั้งสิ้น 35 ตัวชี้วัด คณะวิจัยจึงนำตัวชี้วัดดังกล่าวมาประเมินตามเกณฑ์ที่คณะวิจัยพัฒนาขึ้นมา ผลจากการประเมินพบว่ามีตัวชี้วัด 9 ตัวชี้วัดจาก 35 ตัวชี้วัดที่มีประสิทธิผลในการนำไปใช้งานจริง ส่วนตัวชี้วัดที่เหลือยังมีปัจจัยบางประการที่ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง แต่หากมีการนำตัวชี้วัดดังกล่าวไปพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขก็จะสามารถนำไปใช้งานได้ | en_US |
dc.description.sponsorship | แผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ผรส.) เพื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) | en_US |
dc.format.extent | 1879706 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | แผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ผรส.) เพื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) | en_US |
dc.subject | บริการการแพทย์ฉุกเฉิน | en_US |
dc.subject | บริการฉุกเฉินของโรงพยาบาล | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสู่ระบบต้นแบบและการพัฒนาระบบดัชนชีวัดหลักของระบบ : ฉบับที่ 1.2 การพัฒนาตัวชี้วัดในระดับปฏิบัติการสำหรับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน | en_US |
dc.title.alternative | The Good Practices towards the Pre-Hospital Emergency Medical Services (EMS) System of Communities and Local Government Authorities for the Development of Model and Performance Indicators (PIs) | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WB105 ร349ร 2551 | en_US |
dc.subject.keyword | Emergency | en_US |
.custom.citation | รัญชนา สินธวาลัย. "การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสู่ระบบต้นแบบและการพัฒนาระบบดัชนชีวัดหลักของระบบ : ฉบับที่ 1.2 การพัฒนาตัวชี้วัดในระดับปฏิบัติการสำหรับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3326">http://hdl.handle.net/11228/3326</a>. | |
.custom.total_download | 139 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |