Show simple item record

การศึกษาการวางแผนความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับจังหวัด

dc.contributor.authorนงลักษณ์ พะไกยะen_US
dc.contributor.authorสัญญา ศรีรัตนะen_US
dc.date.accessioned2011-09-28T03:28:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:27:06Z
dc.date.available2011-09-28T03:28:12Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:27:06Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.otherhs1852en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3330en_US
dc.description.abstractผลการศึกษา ปัจจัยหลักที่เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนได้แก่ข้อมูลประชากรและระบาดวิทยา โดยเห็นชัดว่าประชากรผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่สูงขึ้น นอกนั้นสัดส่วนของการเจ็บป่วยเรื้อรังสูงตามมาด้วย ข้อมูลส่วนที่สองเป็นข้อมูลการเจ็บป่วยและการใช้บริการในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่การดูแลตนเอง การใช้บริการปฐมภูมิ และการใช้บริการทุติยภูมิ ข้อมูลส่วนที่สาม ได้แก่ข้อมูลบริการประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย บริการด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพ ข้อมูลส่วนที่สี่ ได้แก่ข้อมูลกำลังคน ประกอบด้วยกำลังคนประเภทต่างๆที่มีปัจจุบัน การได้มา (Gain) 3 ปีย้อนหลัง การสูญเสีย (loss) 3 ปีย้อนหลัง ข้อมูลผลิตภาพกำลังคน (productivity) และข้อมูลมาตรฐานกำลังคน (staffing norm) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากข้อมูลมือสอง (secondary data) และข้อมูลจากการพูดคุยกลุ่มย่อย จากการนำข้อมูลพื้นฐานนำไปวิเคราะห์การเคลื่อนย้ายกำลังคนและความต้องการกำลังคน ปรากฎผลดังต่อไปนี้ ภาคอีสาน ได้มีการศึกษาในพื้นที่ 2 จังหวัด ในภาพรวมบุคลากรระดับปฐมภูมิหลัก มีบุคลากรสาธารณสุขมากกว่าพยาบาลวิชาชีพ และข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีพบว่าจำนวนบุคลากรที่ได้เพิ่มมาค่อนข้างน้อย แต่อัตราการสูญเสียก็น้อยเช่นกัน สำหรับพยาบาลวิชาชีพข้อมูลย้อนหลังพบว่ามีการได้เพิ่มมากกว่าสูญเสียออกจากสถานบริการระดับปฐมภูมิ ส่วนกำลังคนในระดับโรงพยาบาลชุมชนนั้นพบการเคลื่อนย้ายมากในกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ซึ่งอัตราการสูญเสียค่อนข้างสูงในกลุ่มแพทย์เฉลี่ย 18% และมีอัตราการได้เพิ่ม 18% ในบางจังหวัดการเคลื่อนย้ายเข้ามาต่ำกว่าจำนวนการย้ายออก ในอำเภอขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะได้แพทย์เพิ่มมากกว่าการสูญเสีย แต่อำเภอขนาดเล็กมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย การวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนในระดับปฐมภูมิในปัจจุบัน และในอนาคตอีก 10 ปี เมื่อเทียบกับกำลังคนที่มีในปัจจุบัน พบว่ากำลังคนที่ขาดแคลนและมีความต้องการได้แก่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข และนักกายภาพบำบัดหรือนักฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่วนในระดับโรงพยาบาลชุมชน พบความต้องการกำลังคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์และพยาบาล เทคนิคการแพทย์ และเภสัชกร มากเกินกำลังคนรองรับ ภาคเหนือ ได้มีการศึกษาในพื้นที่ 2 จังหวัด พบว่ากำลังคนในระดับปฐมภูมิพบว่าบุคลากรสาธารณสุขและพยาบาลมีการเคลื่อนย้ายออก มากกว่าการได้เพิ่มในบางจังหวัด ส่วนในอีกจังหวัดหนึ่งพบการได้เพิ่มมากกว่าการย้ายออก ส่วนกำลังคนในระดับโรงพยาบาลชุมชนนั้นพบการเคลื่อนย้ายมากในกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร โดยอัตราการสูญเสียค่อนข้างสูงในกลุ่มแพทย์เฉลี่ย 24% และมีอัตราการได้เพิ่ม 21% ส่วนทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร จำนวนการเคลื่อนย้ายเข้ามายังสูงกว่าจำนวนการย้ายออกเล็กน้อยเช่นเดียวกันทั้ง 2 จังหวัด การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนในระดับปฐมภูมิในปัจจุบัน และในอนาคตอีก 10 ปี เมื่อเทียบกับกำลังคนที่มีในปัจจุบัน พบว่ากำลังคนที่ขาดแคลนและมีความต้องการได้แก่ แพทย์ และพยาบาล กายภาพบำบัดหรือนักฟื้นฟูสภาพ และ จพง.ทันตสาธารณสุข ในส่วนของบุคลากรสาธารณสุขความต้องการกำลังคนและกำลังคนที่มีในปัจจุบันมีปริมาณใกล้เคียงกัน และเมื่อดูอัตราเพิ่มกำลังคนพบว่ากำลังคนด้านสาธารณสุขอาจจะขาดแคลนบ้างในอนาคตเพราะมีการเพื่มไม่มาก การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนระดับทุติยภูมิพบว่า ในส่วนของโรงพยาบาลใหญ่กำลังคนที่ต้องการนั้นเพียงพอ แต่มีความขาดแคลนในกลุ่มเทคนิคการแพทย์ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ และเวชกิจฉุกเฉิน สำหรับโรงพยาบาลเล็กมีความต้องการกำลังคนด้าน แพทย์ เทคนิคการแพทย์ เภสัชกร เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเวชกิจฉุกเฉินมากกว่ากำลังคนที่มี ส่วนบุคลากรด้านทันตกรรม และพยาบาลวิชาชีพโดยทั่วไปมีเพียงพอกับการบริการเมื่อเทียบกับปริมาณงาน ภาคใต้ ได้ศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัด ในระดับปฐมภูมิพบว่าจำนวนพยาบาลมีค่อนข้างมาก ในจังหวัดขนาดใหญ่มีพยาบาลมากกว่าบุคลากรสาธารณสุข ในขณะที่อัตราการสูญเสียบุคลากรสาธารณสุขสูงแต่การได้เพิ่มน้อยมากแต่การเคลื่อนย้ายของพยาบาลเข้า-ออกสถานบริการปฐมภูมิค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามในจังหวัดขนาดเล็กพบว่าการได้เพิ่มของพยาบาลและสาธารณสุขสูงกว่าการสูญเสีย ส่วนกำลังคนในระดับโรงพยาบาลชุมชนสำหรับประเภทต่าง ๆ นั้นพบการเคลื่อนย้ายมากในกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร แต่ทั้ง 4 กลุ่มจำนวนการเคลื่อนย้ายเข้ามายังสูงกว่าจำนวนการย้ายออก สำหรับแพทย์มีอัตราการสูญเสียค่อนข้างสูงเฉลี่ย 16% แต่มีอัตราการได้เพิ่ม 22% การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนในระดับปฐมภูมิในปัจจุบัน และในอนาคตอีก 10 ปี เมื่อเทียบกับกำลังคนที่มีในปัจจุบัน พบว่ากำลังคนที่ขาดแคลนแต่อยู่ในระดับไม่รุนแรง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด และ จพง. ทันตสาธารณสุข และเมื่อดูอัตราเพิ่มกำลังคนพบว่ากำลังคนในระดับปฐมภูมิไม่น่าจะขาดแคลนมากนัก การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนระดับทุติยภูมิพบว่าสำหรับอำเภอขนาดใหญ่ ความต้องการแพทย์และพยาบาลเพียงพอกับปริมาณงานที่มี แต่สำหรับอำเภอเล็ก ความต้องการมากเกินกว่ากำลังคนที่มีสำหรับกรณีของ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และนักรังสี ภาคกลางได้ศึกษา 1 จังหวัด ภาพรวมของจังหวัด พบว่าในการจัดบริการระดับปฐมภูมิ มีจำนวนบุคลากรสาธารณสุขใกล้เคียงกับพยาบาลวิชาชีพ และข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีพบว่ามีการได้เพิ่มมากกว่าการสูญเสีย ส่วนกำลังคนในระดับโรงพยาบาลชุมชนนั้นพบการเคลื่อนย้ายมากในกลุ่มแพทย์ค่อนข้างต่ำ โดยย้ายออก 3% และย้ายเข้า 4% และพบว่า ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร แม้มีอัตราการย้ายออกสูง แต่มีการเคลื่อนย้ายเข้าสูงกว่าจำนวนการย้ายออก โดยอำเภอขนาดใหญ่ ได้แพทย์และพยาบาลเพิ่มเฉลี่ยใกล้เคียงกับการสูญเสีย ส่วนอำเภอเล็กมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย ในการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนในภาพรวมของจังหวัดนั้น พบว่าความต้องการกำลังคนในปัจจุบันและ ความต้องการกำลังคนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แพทย์ มีความต้องการสูง รองลงมาเป็นความต้องการกำลังคนด้านกายภาพบำบัด เมื่อเปรียบเทียบภาระงานปัจจุบันและความต้องการกำลังคนในอนาคต ค่อนข้างจะเพียงพอในส่วนของพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขของ สำหรับการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนระดับทุติยภูมิพบว่าสำหรับอำเภอขนาดใหญ่ มีความต้องการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ นักรังสี และเวชกิจฉุกเฉิน มากเกินกว่ากำลังคนที่มี สำหรับอำเภอเล็ก กำลังคนที่ต้องการค่อนข้างมากเกินกำลังคนที่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เภสัชกร และเจ้าพนักงานเทคนิคเภสัชกรรม เทคนิคการแพทย์ และเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์en_US
dc.description.sponsorshipแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ผรส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)en_US
dc.format.extent672941 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.rightsแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(ผรส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)en_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาการวางแผนความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับจังหวัดen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW76 น149ร 2552en_US
.custom.citationนงลักษณ์ พะไกยะ and สัญญา ศรีรัตนะ. "การศึกษาการวางแผนความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับจังหวัด." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3330">http://hdl.handle.net/11228/3330</a>.
.custom.total_download425
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs1852.pdf
Size: 684.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record