แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย

dc.contributor.authorวราภรณ์ เสถียรนพเก้าen_US
dc.contributor.authorวิชัย เอกพลากรen_US
dc.contributor.authorรัชดา เกษมทรัพย์en_US
dc.contributor.authorหทัยชนก พรรคเจริญen_US
dc.date.accessioned2011-11-21T08:09:07Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:19Z
dc.date.available2011-11-21T08:09:07Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:19Z
dc.date.issued2554-06en_US
dc.identifier.otherhs1885en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3363en_US
dc.description.abstractการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2551-2 นี้ ดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการผนวกการสำรวจ การบริโภคอาหารของประชาชนไทย ไว้ในการสำรวจสุขภาพฯ นี้ โดยได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความถี่ในการบริโภค อาหาร (Frequency of food consumption) ในบุคคลตัวอย่างอายุ 2-14 ปี จำนวน 8,462 คนและ 15 ปี ขึ้นไป 20,470 คน และสัมภาษณ์เกี่ยวกับอาหารบริโภคทบทวนความจำย้อนหลัง 24 ชั่วโมง จากบุคคล ตัวอย่าง 2,969 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบแบบแผนการบริโภคอาหารประเภทต่างๆ และประเมิน ปริมาณของการได้รับพลังงาน และสารอาหารของกลุ่มตัวอย่างประชากรไทย ซึ่งผลการสำรวจพอสรุปได้ดังนี้ ความถี่การบริโภคอาหาร 1. ประเภทอาหารที่เด็กอายุ 2-14 ปี กินทุกวัน ได้แก่ ร้อยละ 70 กิน ข้าวขาว ทุกวัน, ร้อยละ 40-50 กิน นมจืด ทุกวัน ร้อยละ 20-30 กิน ไข่เจียว/ไข่ดาว นมหวาน ขนมกรุบกรอบ ทุกวัน ร้อยละ 10-20 กิน เนื้อสัตว์ทอด/ผัด/ตุ๋น ปลา ลูกชิ้นขนมปัง น้ำอัดลม ไอศกรีม ลูกอม ทุกวัน ร้อยละ 1-10 กิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กุ้ง/หอย/ปู ปลาเส้น คุ๊กกี้ ขนมหวาน ทุกวัน 2. ประเภทอาหารที่ผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป กินทุกวัน ได้แก่ ร้อยละ ≥70 กิน ข้าวขาว ทุกวัน, ร้อยละ 30-40 กิน ชา กาแฟ ข้าวเหนียว ทุกวัน ร้อยละ 20-30 กิน ปลาร้า/ปลาเจ่า ทุกวัน ร้อยละ 10-20 กิน เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม ลูกอม ทุกวัน ร้อยละ 1-10 กิน ข้าวกล้อง กุ้ง หอย ปู นม น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง คุ๊กกี้ นมถั่วเหลือง ขนมปัง ถั่ว ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ ทุกวัน 3. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2546 กับผลการสำรวจฯ ครั้งนี้ พบว่า ในเด็กอายุ 2-14 ปี อาหารบางประเภท มีร้อยละของการกินเกือบทุกวัน/ทุกวัน เพิ่มขึ้น ได้แก่ • บะหมี่สำเร็จรูป โดยพบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี มีสัดส่วนกินเกือบทุกวันและทุกวันเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ประมาณ 1 ใน 10 คนกินบะหมี่สำเร็จรูป ทุกวัน • น้ำอัดลม/น้ำหวาน พบว่า เพิ่มทั้งในเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กนักเรียน (อายุ 6-14 ปี) ประมาณ 1 ใน 5 คน กินน้ำอัดลม/น้ำหวาน ทุกวัน • ขนมขบเคี้ยว พบว่า ความถี่การกินเพิ่มขึ้นในกลุ่มเด็ก 6-14 ปี และมีมากกว่า 1 ใน 4 คน กิน ขนมขบเคี้ยว ทุกวัน • นมจืด กินทุกวันมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 42.9 ในปี พ.ศ. 2552 พบทั้งในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล และทุกภาคของประเทศ 4. ในผู้ใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจปี พ.ศ. 2546 พบการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ทั้งเพิ่มขึ้นและ ลดลง การเปลี่ยนแปลงในทางบวกต่อสุขภาพ พบว่า • สัดส่วนการกินอาหารประเภทเนื้อติดมันทุกวัน ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน และ ลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มผู้สูงอายุ จากร้อยละ 10 ทั้งในกลุ่มวัยแรงงานและผู้สูงอายุในปี พ.ศ.2546 ลดลงเป็นร้อยละ 8.5 และ 5.5 ตามลำดับในปี พ.ศ. 2552 • สัดส่วนของการที่กินข้าวกล้องทุกวันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็น ร้อยละ 7 • การกินอาหารประเภทปลา มีการกินทุกวันในกลุ่มวัยแรงงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และใน กลุ่มผู้สูงอายุกลับมีความถี่ลดลงเท่าตัว การเปลี่ยนแปลงในทางลบต่อสุขภาพ พบว่า • อาหารที่มีสัดส่วนของการกินทุกวันเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และขนม ขบเคี้ยว เป็นต้น การสัมภาษณ์อาหารบริโภคทบทวนความจำย้อนหลัง 24 ชั่วโมง 5. การวิเคราะห์แหล่งพลังงานจากอาหารบริโภค พบว่า ประชากรไทยได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เฉลี่ยร้อยละ 57.6, 16.0 และ 26.4 ตามลำดับ 6. ค่ามัธยฐานร้อยละของปริมาณพลังงานที่ควรได้รับประจำวันมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่ออายุเพิ่ม มากขึ้น การได้รับโปรตีนในปริมาณที่มากกว่าร้อยละ 82 ในทุกภูมิภาค กลุ่มอายุ 1-8 ปีบริโภค โปรตีนในปริมาณมาก ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุบริโภคโปรตีนน้อยและต่ำกว่าความต้องการของร่างกาย การกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันแตกต่างกันตามภูมิภาคและเขตการปกครอง 7. การได้รับแคลเซียมและธาตุเหล็กจากอาหาร ต่ำกว่าร้อยละ 30.0 และ 67.0 ของปริมาณที่ควรได้ รับประจำวัน ตามลำดับ 8. การได้รับฟอสฟอรัสจากอาหาร มากกว่าร้อยละ 70.0 ของปริมาณที่ควรได้รับประจำวัน และ กลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป 9. การได้รับโซเดียมจากอาหาร ได้รับมากกว่า 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน (มัธยฐานได้รับ 3,264 มิลลิกรัมต่อวัน) 10. การได้รับวิตามินจากอาหาร พบว่า กลุ่มอายุ 1-3 ปี มีค่ามัธยฐานการได้รับวิตามินเอมากกว่า ร้อยละ 80.0 ของปริมาณที่ควรได้รับประจำวัน และเริ่มลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น วิตามินบี 1 บี 2 และไนอะซีน พบว่า มีปริมาณการบริโภคลดลง ในกลุ่มที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างใน บางภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร ค่ามัธยฐานการได้รับวิตามินดังกล่าวต่ำกว่า ร้อยละ 70.0 11. การได้รับวิตามินซีจากอาหาร น้อยกว่าร้อยละ 50.0 ของปริมาณที่ควรได้รับประจำวัน 12. การบริโภคคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน 13. การบริโภคใยอาหารค่อนข้างต่ำ (ค่ามัธยฐานต่ำสุดเท่ากับ 1.8 กรัม ค่ามัธยฐานสูงสุดเท่ากับ 8.0 กรัม) 14. การบริโภคอาหารกลุ่มต่างๆ พบว่า ในแต่ละวันกลุ่มตัวอย่างบริโภคอาหารไม่ครบทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอาหารหลัก 5 หมู่ 15. กลุ่มอาหารหลักที่กลุ่มตัวอย่างประชากรไทยบริโภคต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ได้แก่ นม และผลิตภัณฑ์ ผัก และผลไม้ 16. สำหรับกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนใหญ่บริโภคข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์ที่ขัดสี ปริมาณ การบริโภคจะเพิ่มตามอายุ และจะลดลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ 17. การบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของโปรตีน ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ไข่ และถั่ว และผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างจะอยู่ใกล้เคียงกับปริมาณที่แนะนำตามธงโภชนาการ 18. ค่ามัธยฐานปริมาณน้ำมัน กะทิ ไขมัน และครีมชนิดต่างๆ ที่กลุ่มตัวอย่างบริโภคอยู่ระหว่าง 12.5 ถึง 30.0 กรัม และค่ามัธยฐานปริมาณเครื่องปรุงรส อยู่ระหว่าง 18.6 ถึง 74.9 กรัม ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการบริโภคอาหารของประชากรไทย ยังมีส่วนที่ต้องมีการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ดังนั้นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการ ทางด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ปรับกลยุทธด้านการสร้างเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในประชาชนไทย โดยมี เป้าหมายและการดำเนินงานอย่างชัดเจน ร่วมกับการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนและทุกภาคส่วนให้ตระหนัก ถึงการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีการเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยการสำรวจฯ เป็นระยะen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขen_US
dc.format.extent10537 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectพฤติกรรมการบริโภคอาหารen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทยen_US
dc.title.alternativeการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA695 ว321ร 2554en_US
dc.subject.keywordการตรวจสุขภาพen_US
.custom.citationวราภรณ์ เสถียรนพเก้า, วิชัย เอกพลากร, รัชดา เกษมทรัพย์ and หทัยชนก พรรคเจริญ. "การสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3363">http://hdl.handle.net/11228/3363</a>.
.custom.total_download1356
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year38
.custom.downloaded_fiscal_year8

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1885.pdf
ขนาด: 2.241Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย