Show simple item record

การจัดสรรเงินและสถานการณ์การเงินสถานบริการระดับปฐมภูมิ (สถานีอนามัย) ภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorพินิจ ฟ้าอำนวยผลen_US
dc.date.accessioned2011-11-21T08:37:17Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:26:51Z
dc.date.available2011-11-21T08:37:17Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:26:51Z
dc.date.issued2551-08en_US
dc.identifier.otherhs1888en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3366en_US
dc.description.abstractการบริการระดับปฐมภูมิ เป็นระบบบริการที่มีความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากเป็นบริการด่านแรก มุ่งเน้นการบริการที่ต่อเนื่องและผสมผสาน จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอเพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานี้ เป็นการทบทวนสถานการณ์ด้านการเงินของสถานบริการระดับปฐมภูมิ ได้แก่ สถานีอนามัย ก่อนและหลังการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยศึกษาจากข้อมูลงบประมาณปี 2542-2544 และข้อมูลรายงานการเงินของสถานบริการ 0110 รง.5 ในปี 2548 และ 2550 จากข้อมูลพบว่า ก่อนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สถานีอนามัยได้รับงบประมาณเฉลี่ย 550,000 บาทต่อแห่งต่อปี เป็นเงินเดือนค่าจ้าง 440,000 บาท และงบดำเนินงาน 110,000 บาท โดยยาและเวชภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาล ภายหลังการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า งบประมาณส่วนใหญ่ สถานีอนามัยได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยบางส่วนได้รับเงินในลักษณะ Fixed cost (อัตราคงที่เท่ากันทุกสถานีอนามัย) และบางส่วนได้รับตามจำนวนประชากร และ/หรือจำนวนบริการ โดยยาและเวชภัณฑ์ยังคงได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาล โดยอาจจะมีการหักออกจากงบประมาณที่จะจัดสรรไปยังแต่ละสถานีอนามัย ทั้งนี้รูปแบบในการจัดสรรเงินและบทบาทของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและของโรงพยาบาลแม่ข่าย ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละจังหวัดและอำเภอ โดยมี 32 จังหวัด ที่มีการกันเงินไว้สำหรับจ่ายให้กับสถานีอนามัย คิดเป็น 19% ของงบประมาณที่จังหวัดได้รับจากงบเหมาจ่ายรายหัว หากพิจารณาจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นของสถานีอนามัยในปี 2548 จะพบว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อสถานีอนามัย เท่ากับ 1,150,000 บาทต่อปี เป็นเงินเดือนค่าจ้างประมาณ 600,000 บาทต่อปี ค่าตอบแทน 120,000 บาทต่อปี ค่ายาและเวชภัณฑ์ 260,000 บาทต่อปี ค่าใช้สอย 110,000 บาทต่อปี และค่าสาธารณูปโภค 20,000 บาทต่อปี หากหักเงินเดือนออก จะเหลือค่าใช้จ่าย 600,000 บาทต่อปี และหากหักค่ายาและเวชภัณฑ์ออกด้วย จะเหลือค่าใช้จ่าย 400,000 บาทต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 จะพบว่ารายจ่ายมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 10% โดยเงินคงเหลือ ณ สิ้นปีงบประมาณ เพิ่มขึ้นจาก 212,000 บาทในปี 2548 เป็น 247,000 บาทในปี 2550 แสดงให้เห็นว่างบประมาณและเงินอื่นๆที่ได้รับ มีแนวโน้มที่น่าจะเพียงพอต่อรายจ่ายในแต่ละปี จึงมีเงินคงเหลือ ณ สิ้นปี ที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลภาพเฉลี่ย ซึ่งในแต่ละ CUP และแต่ละจังหวัด มีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยสถานีอนามัยหรือลูกข่ายของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะมีรายจ่ายและเงินคงเหลือ ณ สิ้นปี ที่สูงกว่า CUP โรงพยาบาลขนาดเล็ก และความแตกต่างระหว่าง CUP ก็มีสูงมาก ทั้งในด้านรายจ่าย และเงินคงเหลือ โดยมี CUP ประมาณ 10% ที่สถานีอนามัยมีเงินคงเหลือเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาท และ CUP ประมาณ 25% ที่สถานีอนามัยมีเงินคงเหลือเฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท โดยโรงพยาบาลแม่ข่ายที่มีรายได้หรือเงินคงเหลือมาก กลับไม่ได้ทำให้สถานีอนามัยลูกข่าย มีเงินคงเหลือที่มากตามไปด้วย ทั้งนี้อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจาก การจัดสรรเงินให้กับสถานีอนามัยนั้น มีสูตรในการจัดสรรเงินที่ไม่ได้ขึ้นกับสถานะทางการเงินของโรงพยาบาล อาทิเช่น จ่ายแบบอัตราคงที่ (fixed cost) หรือจ่ายตามจำนวนประชากร ซึ่งไม่แปรผันตามสถานะทางการเงินของโรงพยาบาล จากข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่า โดยส่วนใหญ่ สถานีอนามัยมีรายรับที่เพียงพอกับรายจ่าย จากรูปแบบการจัดสรรเงินที่หลากหลายและแตกต่างกันระหว่างจังหวัดและอำเภอ ซึ่งอาจจะมีผลต่อสถานการณ์การเงินของสถานีอนามัยบ้าง แต่การจัดสรรส่วนใหญ่ ก็เน้นไปที่การประคับประคองให้บริการระดับสถานีอนามัยสามารถดำเนินต่อไปได้ ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเงินจะมีความแตกต่างกัน โดยข้อเสนอแนะต่อการปรับวิธีการจัดสรรเงินให้กับสถานีอนามัย ประกอบด้วย การจัดสรรเงินที่สะท้อนรายจ่ายที่แท้จริงประกอบกับการประมาณการรายจ่ายที่คาดหวังเพื่อให้เกิดบริการที่ดีขึ้น การจัดสรรเงินที่สามารถกระตุ้นให้เกิดบริการที่ดีและมีคุณภาพ และการจัดสรรเงินที่เน้นความเป็นธรรมทั้งระหว่างแม่ข่ายและลูกข่ายและระหว่างพื้นที่ (CUP และจังหวัด) เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นของแต่ละพื้นที่en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectบริการสุขภาพen_US
dc.subjectสาธารณสุขมูลฐานen_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการจัดสรรเงินและสถานการณ์การเงินสถานบริการระดับปฐมภูมิ (สถานีอนามัย) ภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW84.3 พ685ร 2551en_US
.custom.citationพินิจ ฟ้าอำนวยผล. "การจัดสรรเงินและสถานการณ์การเงินสถานบริการระดับปฐมภูมิ (สถานีอนามัย) ภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3366">http://hdl.handle.net/11228/3366</a>.
.custom.total_download200
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year19

Fulltext
Icon
Name: hs1888.pdf
Size: 322.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record