dc.contributor.author | วณี ปิ่นประทีป | en_US |
dc.date.accessioned | 2011-12-14T07:59:20Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:18:31Z | |
dc.date.available | 2011-12-14T07:59:20Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:18:31Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.other | hs1734 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3396 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการศึกษาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพ โดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานร่วมสร้างเสริมสุขภาพกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ทำการศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนทั้งหมด 10 พื้นที่ใน 4 ภาค ดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.พะเยา จ.ลำปาง จ.น่าน ภาคกลาง ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.ตราด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.หนองบัวลำภู จ.สุรินทร์ จ.อำนาจเจริญ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิธีการดำเนินงานของชุมชนในการดำเนินงานกับท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยวิธีการดำเนินงานดังนี้ ศึกษาเอกสารข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมกลุ่มย่อยรวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน 10 พื้นที่ โดยมีกรอบประเด็นคำถามที่กำหนด เพื่อต้องการให้เห็นกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงานในการจัดตั้งกองทุนของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการทำงานเชื่อมโยงกองทุนหลักประกันสุขภาพ หลังจากนั้นได้จัดทำเอกสารสรุปแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพและได้นำกลับไปจัดประชุมเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง/ครบถ้วนร่วมกับคณะกรรมการในพื้นที่ จากนั้นได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้ง 10 กองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของกองทุนฯ ทั้ง 10 พื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า กองทุนสวัสดิการทั้ง 10 พื้นที่ต่างมีเป้าหมายเบื้องต้นเหมือนกัน คือ เพื่อต้องการจัดสวัสดิการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นหลัก เริ่มจากแนวคิดการพึ่งพาตนเอง และการพึ่งพากันเองในชุมชน เป็นกองทุนที่ “ทุกคนเป็นเจ้าของ” ในขณะเดียวกัน ก็มีวิธีการดำเนินงาน ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ที่ใช้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละชุมชน นั่นหมายความว่า ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาที่ดี สามารถปรับประยุกต์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน/ประสบการณ์ทั้งที่ประสพความสำเร็จและความล้มเหลว มาหนุนเสริมกระบวนการพัฒนาของชุมชน อีกทั้งยังพบว่า วิธีการศึกษาดูงาน และการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนในชุมชนได้มีโอกาสมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำสม่ำเสมอ นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นระบบความคิดของการพัฒนาต่อยอดงาน ให้กับนักพัฒนาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี จากการจัดสวัสดิการกันเองในชุมชนและการพึ่งพาตนเองของท้องถิ่น ได้ก่อเกิดสิ่งงดงามบนวิถีที่ชุมชนก้าวเดิน เช่น การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความห่วงหาอาทร และเมตตาจิตที่เพื่อนมนุษย์พึงมีต่อเพื่อนมนุษย์ หลายชุมชนได้นำทุนทางสังคมที่มีอยู่ออกมาใช้ เช่น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้น ยังมีภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันการเงินในท้องถิ่น เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และธนาคารออมสิน ฯลฯ ซึ่งคอยให้คำปรึกษา/แนะนำ และหนุนเสริมความรู้ทางวิชาการ และงบประมาณ ต่อมาในปี 2549 เมื่อมีกองทุนหลักประกันสุขภาพจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ พบว่าคณะกรรมการบริหารจัดการจากกองทุนสวัสดิการชุมชนส่วนใหญ่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ และได้มีโอกาสใช้ประสบการณ์และความรู้ ความสามารถที่ได้สั่งสมมาจากทำงานกองทุนสวัสดิการชุมชน มาปรับใช้ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ได้แก่ การออกแบบกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมให้คนในชุมชนสนใจการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย การปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น อันเป็นการลดภาระการใช้จ่ายของกองทุนสวัสดิการ กล่าวคือ หากมีการเจ็บป่วยมากกองทุนสวัสดิการ ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายให้สมาชิกที่ต้องนอนโรงพยาบาล คืนละ 50 -100 บาท/ คืน ปีละไม่เกิน 500 บาท เป็นต้น ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ สามารถตอบสนองความต้องการและส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีนโยบายขยายการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในพื้นที่ตำบลต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกตำบลในปีงบประมาณ 2554 นั้น ขณะนี้มีกองทุนสวัสดิการชุมชนในหลายพื้นที่ได้ดำเนินการจัดสวัสดิการให้กับชุมชนมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ จึงเป็นส่วนสนับสนุนในการสร้างเสริมสุขภาพอันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในตำบลนั้นดียิ่งขึ้นไปอีก บทบาทของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กับกองทุนสวัสดิการชุมชน มีบทบาทที่แยกกันชัดเจน แต่มีเป้าหมายร่วมกัน คือ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนในตำบล ดังนั้น คณะกรรมการของทั้ง 2 กองทุนฯ จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะช่วยกันกำหนดทิศทางการพัฒนาทั้งทางด้านสังคมและสุขภาพของคนในชุมชนร่วมกัน | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 148637 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.publisher | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.publisher | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบหลักประกันสุขภาพ | en_US |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพ | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | W225.JT3 ว159ก 2552 | en_US |
dc.identifier.contactno | 51-005 | en_US |
dc.subject.keyword | ประกันสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | วณี ปิ่นประทีป. "การศึกษาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพ." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3396">http://hdl.handle.net/11228/3396</a>. | |
.custom.total_download | 153 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |