แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค : บัญชีรายจ่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2552

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorพินทุสร เหมพิสุทธิ์en_US
dc.contributor.authorสุวารี เตียงพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorกัญจนา ติษยาธิคมen_US
dc.contributor.authorภาสกร สวนเรืองen_US
dc.contributor.authorจิตปราณี วาศวิทen_US
dc.contributor.authorทวีศรี กรีทองen_US
dc.contributor.authorรังสิมา ปรีชาชาติen_US
dc.contributor.authorพัชนี ธรรมวันนาen_US
dc.contributor.authorชาฮีดา วิริยาทรen_US
dc.date.accessioned2012-04-23T06:17:54Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:25:44Z
dc.date.available2012-04-23T06:17:54Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:25:44Z
dc.date.issued2553-12en_US
dc.identifier.otherhs1938en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3498en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านสุขภาพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและกำกับติดตามการดำเนินงานด้านนี้ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1. เพื่อศึกษาแนวโน้มสถานการณ์การคลังระบบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2552 ในมิติหน่วยบริหารการคลัง (financing agency) ประเภทบริการ (functions) 2. เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคกับภาระโรคในสังคมไทยในมิติกลุ่มอายุและกลุ่มโรค 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมรายจ่ายครัวเรือนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและทำลายสุขภาพ ผลการศึกษา ประเทศไทยมีรายจ่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประมาณร้อยละ 9 ของรายจ่ายดำเนินการด้านสุขภาพระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2552 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 - 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยรายจ่ายจริงปีปัจจุบันมีมูลค่า 26,391 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2549 และลดลงเป็น 25,715 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2550 และกลับเพิ่มขึ้นเป็น 31,586 และ 34,774 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2551 และ 2552 ตามลำดับ กว่าร้อยละ 90 เป็นรายจ่ายภาครัฐ ทั้งนี้รายจ่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสำหรับประชาชนไทยเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 438 บาท/คน ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 506 และ 545 บาท/คนในปี พ.ศ. 2551 2552 ตามลำดับ หรือ คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี โดยในกลุ่มเด็กเล็กวัยก่อนเรียน (0-5 ปี) มีมูลค่าสูงสุด 615- 1,150 บาท/ คน/ ปี ส่วนกลุ่มวัยอื่นๆนั้นอยู่ระหว่าง 326 – 570 บาท/ คน/ ปี กระทรวงสาธารณสุขยังคงเป็นแหล่งการคลังหลักสำหรับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแบบบริการรวมหมู่ (Collective prevention) แม้ว่าจะมีแนวโน้มบทบาทลดลงก็ตาม (ร้อยละ 40 - 34) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นแหล่งการคลังหลักสำหรับบริการส่วนบุคคล มีบทบาทประมาณร้อยละ 30 ของรายจ่ายด้านนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแหล่งการคลังที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2552 จากงบเงินเดือนอาสาสมัครสาธารณสุขและเงินอุดหนุนอสม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นอีกแหล่งที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 9–10) หากจำแนกรายจ่ายตามประเภทกิจกรรมหมวดใหญ่ๆ พบว่าประมาณหนึ่งในสามของรายจ่ายเป็นการจ่ายเพื่อบริการอนามัยแม่และเด็นอนามัยโรงเรียนและการควบคุมโรคติดต่อ (HC.6.1-HC.6.3) แต่มีแนวโน้มบทบาทลดลง (ร้อยละ 32–27) กลุ่มกิจกรรมที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดคือ กิจกรรมอื่นๆ (HC.6.9) เพิ่มจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 32 ของรายจ่ายเพื่อการนี้ทั้งหมดในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2552 โดยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากนั้นเป็นในกลุ่มเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและอาสาสมัคร รายจ่ายหมวดใหญ่อีกกลุ่มคือ รายจ่ายเพื่อการบริหารพัฒนาระบบจัดการความรู้ นิเทศ ติดตาม เฝ้าระวังข้อมูล (HC.7.) มีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ แต่มีสัดส่วนลดลง (ร้อยละ 26–22) ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือรายจ่ายเพื่อควบคุมโรคไม่ติดต่อมีมูลค่าหนึ่งในสี่แต่มีแนวโน้มสัดส่วนลดลงเล็กน้อย (ร้อยละ 22–19) สำหรับรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ (Health Care Related) นั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณสามเท่าตัวในช่วงเวลาดังกล่าว จาก 12,313 ล้านบาทเป็น 35,202 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มในเกือบทุกหมวด แต่หมวดที่เพิ่มขึ้นสูงมากคือ HCR.7. ซึ่งเป็นเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการมีมูลค่ารวมคิดเป็นร้อยละ 34 – 63 ของรายจ่ายกลุ่มนี้ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหลักในรายจ่ายด้านนี้ ร้อยละ 85-90 รองลงมาเป็นกระทรวงอื่นๆ ร้อยละ 9-14 สำหรับครัวเรือนมีรายจ่ายโดยตรงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคปีละ 1,700–2,100 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายในสองหมวดหลักคือ การตรวจสุขภาพ (ร้อยละ 43–51) และการวางแผนครอบครัว (ร้อยละ 57–49) มีการบริโภคผลิตภัณฑ์นม ยาบำรุงและวิตามินตกปีละ 4.5–5.5 หมื่นล้านบาท มีค่าใช้จ่ายเพื่อการออกกำลังกายปีละ 1.9–2.8 พันล้านบาท นอกจากนั้นครัวเรือนยังมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำลายสุขภาพ โดยเฉพาะบุหรี่ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มชูกำลัง ปีละกว่า 8 หมื่นล้านบาท หรือประมาณสองเท่าของการบริโภคผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ เมื่อพิจารณารายจ่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเทียบกับภาระโรคในปี 2547 พบว่าค่าใช้จ่ายในกลุ่มโรคติดเชื้อ อนามัยแม่และเด็ก และอนามัยวัยเรียน คิดเป็นประมาณ 5 พันบาทต่อปีสุขภาวะที่สูญเสีย ไปในปี 2547 ส่วนกลุ่มโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บมีการใช้จ่ายเพียง 1,730 และ 176 บาทต่อปีสุขภาวะที่สูญเสียไปในปีดังกล่าว ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีสุขภาวะที่สูญเสียไปเท่ากับ 3,230 บาท และเมื่อจำแนกค่าใช้จ่ายตามกลุ่มอายุที่สูญเสียปีสุขภาวะ พบว่ากลุ่มวัยเด็ก (0-14 ปี) มีการใช้จ่ายเงินในกลุ่มนี้สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างชัดเจน ประมาณสามเท่าของกลุ่มอื่น (ประมาณ 10,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่สูญเสียในกลุ่มตน) ในขณะที่การใช้จ่ายในกลุ่มผู้สูงอายุค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มอื่น (ประมาณหนึ่งพันบาทต่อปีสุขภาวะที่สูญเสียไป)en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคen_US
dc.subjectหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.subjectกองทุนสุขภาพen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค : บัญชีรายจ่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2552en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW160 ส616พ 2553en_US
dc.identifier.contactno52-035en_US
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, พินทุสร เหมพิสุทธิ์, สุวารี เตียงพิทักษ์, กัญจนา ติษยาธิคม, ภาสกร สวนเรือง, จิตปราณี วาศวิท, ทวีศรี กรีทอง, รังสิมา ปรีชาชาติ, พัชนี ธรรมวันนา and ชาฮีดา วิริยาทร. "การวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค : บัญชีรายจ่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2552." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3498">http://hdl.handle.net/11228/3498</a>.
.custom.total_download131
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1938.pdf
ขนาด: 4.474Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย